หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564

จำนวนคนจนของ จ.ราชบุรี ลดลง 51,500 คน

ปี 2563 จำนวนคนจน จ.ราชบุรี ลดลงจากปี 2562 จำนวน 51,500 คน เส้นความยากจนอยู่ที่ 2,812 บาท/คน/เดือน มีจำนวนคนจน 37,800 คน คิดป็นสัดส่วนร้อยละ 4.65 ของประชากรทั้งจังหวัด

ที่มา : สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (19 ต.ค.2564)
เส้นแบ่งความยากจน
จากข้อมูลของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด้านสถิติความยากจนและกระจายรายได้ เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2564 ระบุว่าเส้นความยากจน (Poverty Line) ของประเทศปี 2563 อยู่ที่ 2,762 บาท/คน/เดือน โดยเส้นแบ่งความยากจนในประเทศที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
  • เส้นความยากจนที่สูงที่สุด เป็นของคน กทม. อยู่ที่ 3,279 บาท/คน/เดือน
  • เส้นความยากจนของคนภาคกลาง อยู่ที่ 2,918 บาท/คน/เดือน
  • เส้นความยากจนของคนภาคใต้ อยู่ที่ 2,796 บาท/คน/เดือน
  • เส้นความยากจนของคนภาคอีสาน  อยู่ที่ 2,496 บาท/คน/เดือน
  • เส้นความยากคนของคนภาคเหนือ อยู่ที่ 2,467 บาท/คน/เดือน 
  • เส้นความยากจนที่ต่ำที่สุด เป็นของคน จ.พิจิตร 2,331 บาท/คน/เดือน (หรือ 78 บาท/คน/วัน)
  • ส่วนเส้นความยากจนของคน จ.ราชบุรี อยู่ที่ 2,812 บาท/คน/เดือน (หรือ 94 บาท/คน/วัน)
เส้นความยากจนนี้  อธิบายง่าย ๆ  คือ คนที่มีรายได้เฉพาะใช้สำหรับการบริโภคและอุปโภคสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดถือว่าเป็นคนจน เส้นความยากจนสากลของโลกที่กำหนดไว้ในเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) อยู่ที่ 1.25 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/วัน (ประมาณ 42 บาท/คน/วัน) หรือ 1,260 บาท/คน/เดือน หมายถึง คนในโลกที่มีเงินใช้ต่ำกว่านี้ ถือว่าเป็นคนจน  หากใช้เกณฑ์มาตรฐานสากลนี้ มาใช้วัดกับคนไทย จะส่งผลให้ประเทศไทยมีจำนวนคนจนลดลงอีกจำนวนมาก

สัดส่วนคนจน 
ในปี 2563 สัดส่วนคนจนของประเทศไทย อยู่ที่ร้อยละ 6.84 ของประชากรทั้งหมด คิดเป็นคนจนจำนวน 4,753,000 คน จังหวัดที่มีสัดสวนคนจนมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่
  • อันดับ 1 จ.ปัตตานี ร้อยละ 43.69 คิดเป็นจำนวนคนจน 283,800 คน
  • อันดับ 2 จ.แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 29.31 คิดเป็นจำนวนคนจน 70,000 คน
  • อันดับ 3 จ.นราธิวาส ร้อยละ 24.65 คิดเป็นจำนวนคนจน 179,800 คน
  • อันดับ 4 จ.กาฬสินธ์ ร้อยละ 23.79 คิดเป็นจำนวนคนจน 188,500 คน
  • อันดับ 5 จ.ระนอง ร้อยละ 21.32 คิดเป็นจำนวนคนจน 59,400 คน
  • อันดับ 6 จ.นครราชสีมา ร้อยละ 21.20 คิดเป็นจำนวนคนจน 531,500 คน
  • อันดับ 7 จ.นครพนม  ร้อยละ 20.03 คิดเป็นจำนวนคนจน 112,300 คน
  • อันดับ 8 จ.ตาก ร้อยละ 17.97 คิดเป็นจำนวนคนจน 96,100 คน
  • อันดับ 9 จ.ยะลา ร้อยละ 17.49 คิดเป็นจำนวนคนจน 83,000 คน
  • อันดับ 10 จ.ศรีสะเกษ ร้อยละ 16.72 คิดเป็นจำนวนคนจน 159,800 คน
  • อันดับ 48 จ.ราชบุรี ร้อยละ 4.65 คิดเป็นจำนวนคนจน 37,800 คน
จำนวนคนจน
หากคิดจำนวนคนจนที่อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ โดยไม่เปรียบเทียบกับจำนวนประชากรแล้ว จะพบว่าจังหวัดที่มีคนจนมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่
  • อันดับ 1 จ.นครรราชสีมา จำนวน 531,500 คน
  • อันดับ 2 จ.ปัตตานี จำนวน 283,800 คน
  • อันดับ 3 จ.อุบลราชธานี จำนวน 207,900 คน
  • อันดับ 4 จ.บุรีรัมย์ จำนวน 191,900 คน
  • อันดับ 5 จ.กาฬสินธ์ จำนวน 188,500 คน
  • อันดับ 6 จ.นราธิวาส จำนวน 179,800 คน
  • อันดับ 7 จ.ศรีสะเกษ จำนวน 159,800 คน
  • อันดับ 8 จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 146,700 คน
  • อันดับ 9 จ.สุรินทร์ จำนวน 146,300 คน
  • อันดับ 10 จ.อุดรธานี จำนวน 145,900 คน
  • อันดับ 39 จ.ราชบุรี จำนวน 37,800 คน
จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจน และจำนวนคนจนของประเทศไทย อยู่ใน 10 อันดับแรกซ้ำกัน มี 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ปัตตานี, จ.นราธิวาส, จ.กาฬสินธ์, จ.นครราชสีมา และ จ.ศรีสะเกษ ส่วนจังหวัดราชบุรีถือว่าเป็นจังหวัดที่อยู่อันดับกลาง ๆ 

ข้อสังเกต : ในปี 2562 เส้นความยากจนของ จ.ราชบุรี อยู่ที่ 2,825 บาท/คน/เดือน มีคนจนจำนวน 89,300 คน ต่อมาในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) เส้นแบ่งความยากจนของ จ.ราชบุรี ลดลงมาอยู่ที่ 2,812 บาท (ลดลง 13 บาท) มีคนจนเหลือจำนวน 37,800 คน แสดงว่า จ.ราชบุรี มีจำนวนคนจนลดลงถึง 51,500 คน ข้อมูลนี้น่าจะแสดงให้เห็นว่า แม้ในปี 2563 จะอยู่ในห้วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 แต่คน จ.ราชบุรีก็ยังประคองตัวด้านเศรษฐกิจได้ดี 

ข้อสังเกตนี้ อาจไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะการคำนวณเส้นแบ่งความยากจน สัดส่วนคนจน และจำนวนคนจน น่าจะมีวิธีคำนวณจากปัจจัยอื่น ๆ  มากกว่านี้  คงต้องเฝ้าติดตามการรายงานข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2564 ต่อไป

*************
จัดทำโดย สถาบันราชบุรีศึกษา
16 ธ.ค.2564

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สรุปและวิเคราะห์ผลการเลือกตั้ง นายก อบต.ราชบุรี 2564

การเลือกตั้ง นายก และ ส.อบต. ของ จ.ราชบุรี ที่ผ่านมา มีผู้มาใช้สิทธิถึงร้อยละ 79.71 แสดงให้เห็นว่าชาวราชบุรีมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง  อบต.ที่มีร้อยละของผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด ได้แก่ อบต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง ส่วนน้อยที่สุด ได้แก่ อบต.สี่หมื่น อ.ดำเนินสะดวก คะแนนเลือกตั้งของนายก อบต. ทั้ง 75 คน สูงสุดอยู่ที่  6,396 คะแนน และคะแนนต่ำสุด 615 คะแนน 


สถิติการเลือกตั้งของ จ.ราชบุรี หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่สำคัญ มีดังนี้
  • 24 มี.ค.2562 การเลือกตั้ง ส.ส. ผู้มาใช้สิทธิ์ คิดเป็นร้อยละ 81.93 (อันดับ 6 ของประเทศ) 
  • 20 ธ.ค.2563 การเลือกตั้ง นายก อบจ. และ สจ.ราชบุรี ผู้มาใช้สิทธิ์ คิดเป็นร้อยละ 68.13 (อันดับ 15 ของประเทศ) 
  • 28 มี.ค.2564 การเลือกตั้ง นายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาล  ผู้มาใช้สิทธิ คิดเป็นร้อยละ  78.18 (อันดับ 3 ของประเทศ) 
  • 28 พ.ย.2564 การเลือกตั้ง นายก และสมาชิกสภา อบต. ผู้มาใช้สิทธิ คิดเป็นร้อยละ 79.71 (ยังไม่ได้จัดอันดับ)
ค่าเฉลี่ยจำนวนชาวราชบุรีที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งในภาพรวมของการเลือกตั้งทั้ง 4 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 76.98 ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีความตื่นตัวทางด้านการเมืองอยู่ในระดับต้น ๆ  ของประเทศ

ภาพรวมการเลือกตั้ง อบต.ราชบุรี
การเลือกตั้ง นายก อบต. และสมาชิกสภา อบต. ของ จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2564 ที่ผ่านมา จ.ราชบุรี มีการเลือกตั้ง อบต. ทั้งหมด 75 แห่ง จาก 5,300 แห่งทั่วประเทศ สรุปข้อมูลที่สำคัญของ จ.ราชบุรี ได้ ดังนี้ 
  • จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 395,100 คน (คิดเป็นร้อยละ 43 ของประชากรทั้งจังหวัด)
  • จำนวนผู้มาใช้สิทธิ 314,930 คน (คิดเป็นร้อยละ 79.71 ของผู้มีสิทธิ)
  • จำนวนบัตรเสีย 16,880 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 5.36 ของผู้มาใช้สิทธิ)
อบต.ที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 10,000 คนขึ้นไป มีจำนวน 6 อบต.ได้แก่ 
  1. อบต.เจดีย์หัก (อ.เมือง) ผู้มีสิทธิ 15,898 คน (มาใช้สิทธิ 69.95%)
  2. อบต.ดอนกรวย (อ.ดำเนินสะดวก) ผู้มีสิทธิ 12,125 คน (มาใช้สิทธิ 71.35%)
  3. อบต.ดอนตะโก (อ.เมือง) ผู้มีสิทธิ 12,025 คน (มาใช้สิทธิ 68.61%)
  4. อบต.ปากแรต (อ.บ้านโป่ง) ผู้มีสิทธิ 11,095 คน (มาใช้สิทธิ 76.23%)
  5. อบต.เขาขลุง (อ.บ้านโป่ง) ผู้มีสิทธิ 10,580 คน (มาใช้สิทธิ 89.14%)
  6. อบต.สวนกล้วย (อ.บ้านโป่ง) ผู้มีสิทธิ  10,050 คน (มาใช้สิทธิ 80.35%)
อบต.ที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่ำกว่า 2,500 คน มีจำนวน 4 อบต. ได้แก่
  1. อบต.สี่หมื่น (อ.ดำเนินสะดวก) ผู้มีสิทธิ 2,447 คน (มาใช้สิทธิ 67.63%)
  2. อบต.หนองโพ (อ.โพธาราม) ผู้มีสิทธิ 2,275 คน (มาใช้สิทธิ 89.01%)
  3. อบต.บ่อกระดาน (อ.ปากท่อ) ผู้มีสิทธิ 2,162 คน (มาใช้สิทธิ 88.58%)
  4. อบต.วัดยางงาม (อ.ปากท่อ) ผู้มีสิทธิ 1,928 คน (มาใช้สิทธิ 81.02%)
ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ
ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิในภาพรวมทั้งจังหวัด คิดเป็นร้อยละ 79.71  จำนวน อบต.ที่มีร้อยละของผู้มาใช้สิทธิเกินร้อยละ 80 มีทั้งสิ้น 43 แห่งจาก 75 แห่ง สามารถเรียง 5 อันดับแรก ได้ดังนี้
  • อันดับ 1 อบต.เขาขลุง (อ.บ้านโป่ง) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 89.14
  • อันดับ 2 อบต.หนองโพ (อ.โพธาราม) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 89.01
  • อันดับ 3 อบต.บางป่า (อ.เมือง) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 88.70
  • อันดับ 4 อบต.ดอนใหญ่ (อ.บางแพ) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 88.60
  • อันดับ 5 อบต.บ่อกระดาน (อ.ปากท่อ) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยะละ 88.58
จำนวน อบต.ที่มีร้อยละของผู้มาใช้สิทธิต่ำกว่า ร้อยละ 70 จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
  • อันดับ 70 อบต.เจดีย์หัก (อ.เมือง) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 69.95
  • อันดับ 71 อบต.สวนผึ้ง (อ.สวนผึ้ง) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 69.52
  • อันดับ 72 อบต.เกาะพลับพลา (อ.เมือง) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 69.00
  • อันดับ 73 อบต.ดอนตะโก (อ.เมือง) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 68.61
  • อันดับ 74 อบต.บ้านไร่ (อ.เมือง) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 68.16
  • อันดับ 75 อบต.สี่หมื่น (อ.ดำเนินสะดวก) ผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 67.63
(หมายเหตุ***  ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ มักแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวทางการเมืองของประชากรใน  อบต.นั้น ๆ แต่อาจไม่เสมอไป  เพราะอาจมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ผู้มีสิทธิไม่สามารถมาใช้สิทธิเลือกตั้งได้)


คะแนนเลือกตั้ง นายก อบต.
นายก อบต.ของ จ.ราชบุรี ที่ได้รับการเลือกตั้งครั้งนี้ มีจำนวน 75 คน เป็นอดีต นายก อบต.คนเก่า 26 คน และนายก อบต.คนใหม่ 49 คน สำหรับ นายก อบต.ที่ได้คะแนนเลือกตั้งสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่
  • อันดับ 1 นายพัลลภ โฆสิตาภา นายก อบต.ดอนกรวย (อ.ดำเนินสะดวก) 6,939 คะแนน ร้อยละ 80.21 ของผู้มาใช้สิทธิ
  • อันดับ 2 นายสมบัติ  เทพรส นายก อบต.เขาขลุง (อ.บ้านโป่ง) 5,522 คะแนน ร้อยละ 58.55 ของผู้มาใช้สิทธิ
  • อันดับ 3 น.ส.วิลาสินี  สุพานิชวรภาชน์ นายก อบต.เจดีย์หัก (อ.เมือง) 5,506 คะแนน ร้อยละ 49.51 ของผู้มาใช้สิทธิ
  • อันดับ 4 นายประกอบ  จิวจินดา นายก อบต.ด่านทับตะโก (อ.จอมบึง) 5,294 คะแนน ร้อยละ 83.17 ของผู้มาใช้สิทธิ
  • อันดับ 5 น.ส.สาคร  เลิศชุติมากุล นายก อบต.หนองกบ (อ.บ้านโป่ง) 5,192 คะแนน ร้อยละ 62.29 ของผู้มาใช้สิทธิ
  • อันดับ 6 นายประยงค์  พิมเพราะ นายก อบต.คูบัว (อ.เมือง) 4,436 คะแนน ร้อยละ 59.83 ของผู้มาใช้สิทธิ
  • อันดับ 7 นายสรวุฒิ มาประดิษฐ์กุล นายก อบต.แก้มอ้น (อ.จอมบึง) 4,397 คะแนน ร้อยละ 71.75 ของผู้มาใช้สิทธิง
  • อันดับ 8 นายพินิจ ร่มโพรีย์ นายก อบต.บ้านบึง (อ.บ้านคา) 4,264 คะแนน ร้อยละ 81.16 ของผู้มาใช้สิทธิ
  • อันดับ 9 นายบุญฤทธิ์  โจสรรค์นุสนธิ์ นายก อบต.แพงพวย (อ.ดำเนินสะดวก) 4,257 คะแนน ร้อยละ 82.20 ของผู้มาใช้สิทธิ
  • อันดับ 10 นายวินัย  เช็งสวย นายก อบต.ปากช่อง (อ.จอมบึง) 4,203 คะแนน ร้อยละ 69.41 ของผู้มาใช้สิทธิ
นายก อบต. ที่ได้รับคะแนนเลือกตั้งต่ำกว่า 1,000 คะแนน ได้แก่ 
  • นายโกศล  นาคสิงห์ นายก อบต.วัดยางงาม (อ.ปากท่อ) 615 คะแนน ร้อยละ 39.37 ของผู้มาใช้สิทธิ
  • นายประสงค์ ลิมปนวิสุทธิ์ นายก อบต.วัดเพลง (อ.วัดเพลง) 882 คะแนน ร้อยละ 39.22 ของผู้มาใช้สิทธิ
  • นายสมชาย ชมพูเทศ นายก อบต.บ่อกระดาน (อ.ปากท่อ) 977 คะแนน ร้อยละ 51.02 ของผู้มาใช้สิทธิ
(หมายเหตุ*** คะแนนที่ นายก อบต. แต่ละท่านได้รับ เป็นอิสระซึ่งกันและกัน ขึ้นอยู่กับ จำนวนผู้มีสิทธิ ผู้มาใช้สิทธิ  และอัตราการแข่งขันใน อบต.นั้น ๆ  โดยสังเกตได้จากร้อยละของคะแนนดิบที่คำนวณจากจำนวนผู้ที่มาใช้สิทธิ อบต.ใดที่มีการแข่งขันสูง คะแนนที่ผู้ชนะได้รับมักต่ำกว่า ร้อยละ 50 ของผู้มาใช้สิทธิ เช่น อบต.เจดีย์หัก ผู้ชนะได้คะแนน เพียงร้อยละ 49.51 ของผู้มาใช้สิทธิ, อบต.วัดเพลง ผู้ชนะได้คะแนนเพียงร้อยละ 39.22 ของผู้มาใช้สิทธิ เป็นต้น)

จำนวนบัตรเสีย
บัตรเสีย มีจำนวน 16,880 ใบ คิดเป็ยร้อยละ 5.36 ของผู้มาใช้สิทธิ โดย อบต. ที่มีบัตรเสียเกิน ร้อยละ 10 มีจำนวน 9 แห่ง เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 
  • อันดับ 1 อบต.ปากช่อง (อ.จอมบึง) บัตรเสีย ร้อยละ 17.89
  • อันดับ 2 อบต.แก้มอ้น (อ.จอมบึง) บัตรเสีย ร้อยละ 16.82
  • อันดับ 3 อบต.บ้านบึง (อ.บ้านคา) บัตรเสีย ร้อยละ 13.21
  • อันดับ 4 อบต.เตาปูน (อ.โพธาราม) บัตรเสีย ร้อยละ 12.26
  • อันดับ 5 อบต.ด่านทับตะโก (อ.จอมบึง) บัตรเสีย ร้อยละ 11.83
  • อันดับ 6 อบต.ดอนกรวย (อ.ดำเนินสะดวก) บัตรเสีย ร้อยละ 10.87
  • อันดับ 7 อบต.ชำแระ (อ.โพธาราม) บัตรเสีย ร้อยละ 10.75
  • อันดับ 8 อบต.แพงพวย (อ.ดำเนินสะดวก) บัตรเสีย ร้อยละ 10.70
  • อันดับ 9 อบต.ท่าเคย (อ.สวนผึ้ง) บัตรเสีย ร้อยละ 10.01
(หมายเหตุ*** จำนวนบัตรเสีย แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจในการกาบัตรของผู้ที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งอาจมีมาจากหลายสาเหตุ )

สรุปท้าย
การเลือกตั้ง นายก อบต.และสมาชิกสภา อบต.ของ จ.ราชบุรีในครั้งนี้ มีร้อยละของผู้มาใช้สิทธิถึง 79.71 แสดงให้เห็นว่าชาวราชบุรี มีความตื่นตัวทางการเมืองระดับท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบัตรเสียอยู่จำนวนมาก  ถึง 16,880 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.36 ซึ่งไม่ทราบว่าลักษณะบัตรที่เสียนั้น มาจากสาเหตุอะไร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งต้องนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ หาสาเหตุที่แท้จริงและนำมาปรับปรุงแก้ไข ในการเลือกตั้งในครั้งต่อไป

***********************
จัดทำโดย สถาบันราชบุรีศึกษา : 1 ธ.ค.2564