หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

"เสียงจากประชาชน" กับแนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคามในประเทศไทย

จากรายงานการวิจัยเรื่อง "การวางระบบเตรียมพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ"  โดย รศ.ดร.สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และ น.ส.จิตติพร ลิน เมื่อปี พ.ศ.2561 ได้สรุปแนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคาม จำนวน 10 ด้าน จากความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 1,272 คน (แยกเป็นภาคกลาง 302 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 303 คน ภาคเหนือ 367 คน และภาคใต้ 300 คน)  สรุปได้ดังนี้ 



แนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจากความคิดเห็นของประชาชน  

ปัญหายาเสพติด (ปัญหาอันดับ 1 ของประเทศ) แนวทางแก้ไขและป้องกัน
  • มีมาตรการปราบปรามอย่างเด็ดขาดทั้งผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้เสพ
  • สร้างระบบครอบครัวและชุมชนให้อบอุ่นและเข้มแข็ง
  • ส่งเสริมอาชีพอย่างหลากหลายเป็นระบบและครบวงจรเพื่อกระจายรายได้ให้ประชาชน
  • มีแผนบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทางอย่างเป็นเอกภาพ
  • สร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามลำดับ
  • มีบทลงโทษผู้ค้า ผู้เสพ และเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเลยและรับสินบน
  • สร้างความเข้าใจและส่งเสริมจริยธรรมให้แก่ประชาชน
ด้านความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนในชาติ (ปัญหาอันดับ 2 ของประเทศ) แนวทางแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
  • ต้องเสริมสร้างความรู้รักษ์สามัคคี
  • ต้องลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
  • ต้องปฏิรูปการเมือง
  • เสริมสร้างความสามัคคี เคารพความคิดเห็นที่ต่างและมีความศรัทธาในระบบประชาธิปไตย
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ปัญหาอันดับ 3 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • มีระบบบริหารจัดการที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาระบบการเตือนภัยที่รวดเร็วฉับไวและมีประสิทธิภาพ
  • ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการป้องกันและเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชน
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (ปัญหาอันดับ 4 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • พัฒนาระบบการป้องกันการโจรกรรมทางไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพ
  • สร้างความเข้าใจและความตระหนักแก่ประชาชนถึงภัยคุกคามไซเบอร์/อินเตอร์เน็ต/สังคมออนไลน์
  • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านภัยคุกคามไซเบอร์กับนานาประเทศ 
ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปัญหาอันดับ 5 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • สร้างความเข้าใจ ความตะหนักและจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
  • มีมาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดและเที่ยงธรรม
  • ออกกฏหมายด้านการทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ทันสถานการณ์และเป็นปัจจุบัน
  • กำหนดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัญหาอันดับ 6 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องสร้างอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยร่วมกัน
  • ต้องลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ
  • ต้องปฏิรูปการทำงานของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้
แรงงานด่างต้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง (ปัญหาอันดับ 7 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกันกัน
  • ต้องมีมาตรการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดและเที่ยงธรรม
  • มีแผนบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง
  • ต้องสร้างเครือข่ายที่แจ้งข่าวสารและเบาะแสแก่ทางราชการ
การล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ (ปัญหาอันดับ 8 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องเสริมสร้างความรู้รักสามัคคีทุกภาคส่วน
  • ต้องพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และจิตสาธารณะ
  • ต้องสร้างอุดมการณ์และอัตลักษณ์ของความเป็นชาติไทยร่วมกัน
การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (ปัญหาอันดับ 9 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ควรมีระบบการคัดกรองโดยเฉพาะหน่วยตรวจคนเข้าเมืองทั้งทางบก ทางเรือและทางน้ำ ที่มีประสิทธิภาพ
  • มีแผนบูรณาการหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาฯ โดยมีเจ้าภาพหลัก
  • สร้างความตระหนักแก่ประชาชนถึงภัยก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
ผลกระทบที่เกิดจากข้อตกลง/พันธกรณีระหว่างประเทศ (ปัญหาอันดับ 10 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
  • มีแผนบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยควรมีเจ้าภาพหลักและเจ้าภาพรอง
  • ถ่วงดุลอำนาจกับประเทศมหาอำนาจ โดยการสร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศในกลุ่มอาเซียน

จากความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคามทั้ง 10 ด้านที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีประเด็นปัญหาที่ซ้ำๆ หลายประเด็น เช่น ต้องบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดและยุติธรรม ต้องแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในแวดวงราชการ   ต้องมีแผนการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพ ต้องลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น 

ซึ่งประเด็นปัญหาซ้ำๆ เหล่านี้ ผู้ที่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว คือ ภาคราชการ หวังว่าเสียงของประชาชนจากงานวิจัยฯ ครั้งนี้ จะสะท้อนให้รัฐบาลได้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "การปฏิรูประบบข้าราชการ"  อย่างจริงจังเสียที   

***************************
ชาติชาย คเชนชล : 19 พ.ย.2562

ที่มา : 
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และ จิตติพร ลิน. (2561). รายงานการวิจัยการวางระบบการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อันดับภัยคุกคามด้านความมั่นคงในประเทศไทย

จากรายงานการวิจัยเรื่อง"การวางระบบเตรียมพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ"  โดย รศ.ดร.สุนีย์  เหมะประสิทธิ์ และ น.ส.จิตติพร  ลิน เมื่อปี พ.ศ.2561 พบข้อมูลสำคัญด้านภัยคุกคามที่น่าสนใจหลายเรื่อง พอสรุปได้ ดังนี้


ในการวิจัยได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 1,272 คน แยกเป็นภาคกลาง 302 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 303 คน ภาคเหนือ 367 คน และภาคใต้ 300 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.1 ประกอบอาชีพราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 21.5 รองลงมา รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 17.2 และทำเกษตรกรรม ร้อยละ  16.9 ตามลำดับ

อันดับภัยคุกคามด้านความมั่นคงตามความคิดเห็นของประชาชนที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย  มีดังนี้
  • อันดับ 1 ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 96.3)
  • อันดับ 2 ด้านความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนในชาติ (ร้อยละ 78.6)
  • อันดับ 3 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ร้อยละ 76.2)
  • อันดับ 4 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (ร้อยละ 70.1)
  • อันดับ 5 ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 67.9)
  • อันดับ 6 สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 67.3)
  • อันดับ 7 แรงงานด่างต้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง (ร้อยละ 58.7)
  • อันดับ 8 การล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ (ร้อยละ 40)
  • อันดับ 9 การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (ร้อยละ 33)
  • อันดับ 10 ผลกระทบที่เกิดจากข้อตกลง/พันธกรณีระหว่างประเทศ (ร้อยละ 22.5)  


หาดูความคิดเห็นของประชาชนแต่ละภาคแล้ว อันดับภัยคุกคามก็จะแตกต่างกันไป เช่น
  • ภาคกลาง ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนภายในชาติ และอันดับ 3 คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และอันดับ 3 คือ ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
  • ภาคเหนือ ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และอันดับ 3 คือ ปัญหาทรัพยการทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภาคใต้ ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนภายในชาติ และอันดับ 3 สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  
ภัยคุกคามด้านความมั่นคงทั้ง 10 ด้าน คณะผู้วิจัยยังได้ศึกษาความคิดเห็นจากประชาชน  บัณฑิตโครงการเพชรในตรมของ มศว. และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง  ด้วยว่า ภัยคุกคามแต่ละด้านควรมีแนวทางการแก้ไขและการป้องกันปัญหาได้อย่างไร ซึ่งจะได้สรุปให้ทราบในโอกาสต่อไป

********************************
ชาติชาย คเชนชล : 14 พ.ย.2562

ที่มา : 
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และ จิตติพร ลิน. (2561). รายงานการวิจัยการวางระบบการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.