หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อันดับภัยคุกคามด้านความมั่นคงในประเทศไทย

จากรายงานการวิจัยเรื่อง"การวางระบบเตรียมพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ"  โดย รศ.ดร.สุนีย์  เหมะประสิทธิ์ และ น.ส.จิตติพร  ลิน เมื่อปี พ.ศ.2561 พบข้อมูลสำคัญด้านภัยคุกคามที่น่าสนใจหลายเรื่อง พอสรุปได้ ดังนี้


ในการวิจัยได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 1,272 คน แยกเป็นภาคกลาง 302 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 303 คน ภาคเหนือ 367 คน และภาคใต้ 300 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.1 ประกอบอาชีพราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 21.5 รองลงมา รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 17.2 และทำเกษตรกรรม ร้อยละ  16.9 ตามลำดับ

อันดับภัยคุกคามด้านความมั่นคงตามความคิดเห็นของประชาชนที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย  มีดังนี้
  • อันดับ 1 ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 96.3)
  • อันดับ 2 ด้านความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนในชาติ (ร้อยละ 78.6)
  • อันดับ 3 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ร้อยละ 76.2)
  • อันดับ 4 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (ร้อยละ 70.1)
  • อันดับ 5 ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 67.9)
  • อันดับ 6 สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 67.3)
  • อันดับ 7 แรงงานด่างต้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง (ร้อยละ 58.7)
  • อันดับ 8 การล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ (ร้อยละ 40)
  • อันดับ 9 การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (ร้อยละ 33)
  • อันดับ 10 ผลกระทบที่เกิดจากข้อตกลง/พันธกรณีระหว่างประเทศ (ร้อยละ 22.5)  


หาดูความคิดเห็นของประชาชนแต่ละภาคแล้ว อันดับภัยคุกคามก็จะแตกต่างกันไป เช่น
  • ภาคกลาง ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนภายในชาติ และอันดับ 3 คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และอันดับ 3 คือ ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
  • ภาคเหนือ ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และอันดับ 3 คือ ปัญหาทรัพยการทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภาคใต้ ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนภายในชาติ และอันดับ 3 สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  
ภัยคุกคามด้านความมั่นคงทั้ง 10 ด้าน คณะผู้วิจัยยังได้ศึกษาความคิดเห็นจากประชาชน  บัณฑิตโครงการเพชรในตรมของ มศว. และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง  ด้วยว่า ภัยคุกคามแต่ละด้านควรมีแนวทางการแก้ไขและการป้องกันปัญหาได้อย่างไร ซึ่งจะได้สรุปให้ทราบในโอกาสต่อไป

********************************
ชาติชาย คเชนชล : 14 พ.ย.2562

ที่มา : 
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และ จิตติพร ลิน. (2561). รายงานการวิจัยการวางระบบการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น