หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

"เสียงจากประชาชน" กับแนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคามในประเทศไทย

จากรายงานการวิจัยเรื่อง "การวางระบบเตรียมพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ"  โดย รศ.ดร.สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และ น.ส.จิตติพร ลิน เมื่อปี พ.ศ.2561 ได้สรุปแนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคาม จำนวน 10 ด้าน จากความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 1,272 คน (แยกเป็นภาคกลาง 302 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 303 คน ภาคเหนือ 367 คน และภาคใต้ 300 คน)  สรุปได้ดังนี้ 



แนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจากความคิดเห็นของประชาชน  

ปัญหายาเสพติด (ปัญหาอันดับ 1 ของประเทศ) แนวทางแก้ไขและป้องกัน
  • มีมาตรการปราบปรามอย่างเด็ดขาดทั้งผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้เสพ
  • สร้างระบบครอบครัวและชุมชนให้อบอุ่นและเข้มแข็ง
  • ส่งเสริมอาชีพอย่างหลากหลายเป็นระบบและครบวงจรเพื่อกระจายรายได้ให้ประชาชน
  • มีแผนบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทางอย่างเป็นเอกภาพ
  • สร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามลำดับ
  • มีบทลงโทษผู้ค้า ผู้เสพ และเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเลยและรับสินบน
  • สร้างความเข้าใจและส่งเสริมจริยธรรมให้แก่ประชาชน
ด้านความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนในชาติ (ปัญหาอันดับ 2 ของประเทศ) แนวทางแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
  • ต้องเสริมสร้างความรู้รักษ์สามัคคี
  • ต้องลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
  • ต้องปฏิรูปการเมือง
  • เสริมสร้างความสามัคคี เคารพความคิดเห็นที่ต่างและมีความศรัทธาในระบบประชาธิปไตย
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ปัญหาอันดับ 3 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • มีระบบบริหารจัดการที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาระบบการเตือนภัยที่รวดเร็วฉับไวและมีประสิทธิภาพ
  • ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการป้องกันและเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชน
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (ปัญหาอันดับ 4 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • พัฒนาระบบการป้องกันการโจรกรรมทางไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพ
  • สร้างความเข้าใจและความตระหนักแก่ประชาชนถึงภัยคุกคามไซเบอร์/อินเตอร์เน็ต/สังคมออนไลน์
  • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านภัยคุกคามไซเบอร์กับนานาประเทศ 
ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปัญหาอันดับ 5 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • สร้างความเข้าใจ ความตะหนักและจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
  • มีมาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดและเที่ยงธรรม
  • ออกกฏหมายด้านการทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ทันสถานการณ์และเป็นปัจจุบัน
  • กำหนดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัญหาอันดับ 6 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องสร้างอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยร่วมกัน
  • ต้องลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ
  • ต้องปฏิรูปการทำงานของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้
แรงงานด่างต้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง (ปัญหาอันดับ 7 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกันกัน
  • ต้องมีมาตรการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดและเที่ยงธรรม
  • มีแผนบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง
  • ต้องสร้างเครือข่ายที่แจ้งข่าวสารและเบาะแสแก่ทางราชการ
การล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ (ปัญหาอันดับ 8 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องเสริมสร้างความรู้รักสามัคคีทุกภาคส่วน
  • ต้องพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และจิตสาธารณะ
  • ต้องสร้างอุดมการณ์และอัตลักษณ์ของความเป็นชาติไทยร่วมกัน
การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (ปัญหาอันดับ 9 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ควรมีระบบการคัดกรองโดยเฉพาะหน่วยตรวจคนเข้าเมืองทั้งทางบก ทางเรือและทางน้ำ ที่มีประสิทธิภาพ
  • มีแผนบูรณาการหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาฯ โดยมีเจ้าภาพหลัก
  • สร้างความตระหนักแก่ประชาชนถึงภัยก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
ผลกระทบที่เกิดจากข้อตกลง/พันธกรณีระหว่างประเทศ (ปัญหาอันดับ 10 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
  • มีแผนบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยควรมีเจ้าภาพหลักและเจ้าภาพรอง
  • ถ่วงดุลอำนาจกับประเทศมหาอำนาจ โดยการสร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศในกลุ่มอาเซียน

จากความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคามทั้ง 10 ด้านที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีประเด็นปัญหาที่ซ้ำๆ หลายประเด็น เช่น ต้องบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดและยุติธรรม ต้องแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในแวดวงราชการ   ต้องมีแผนการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพ ต้องลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น 

ซึ่งประเด็นปัญหาซ้ำๆ เหล่านี้ ผู้ที่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว คือ ภาคราชการ หวังว่าเสียงของประชาชนจากงานวิจัยฯ ครั้งนี้ จะสะท้อนให้รัฐบาลได้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "การปฏิรูประบบข้าราชการ"  อย่างจริงจังเสียที   

***************************
ชาติชาย คเชนชล : 19 พ.ย.2562

ที่มา : 
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และ จิตติพร ลิน. (2561). รายงานการวิจัยการวางระบบการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อันดับภัยคุกคามด้านความมั่นคงในประเทศไทย

จากรายงานการวิจัยเรื่อง"การวางระบบเตรียมพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ"  โดย รศ.ดร.สุนีย์  เหมะประสิทธิ์ และ น.ส.จิตติพร  ลิน เมื่อปี พ.ศ.2561 พบข้อมูลสำคัญด้านภัยคุกคามที่น่าสนใจหลายเรื่อง พอสรุปได้ ดังนี้


ในการวิจัยได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 1,272 คน แยกเป็นภาคกลาง 302 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 303 คน ภาคเหนือ 367 คน และภาคใต้ 300 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.1 ประกอบอาชีพราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 21.5 รองลงมา รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 17.2 และทำเกษตรกรรม ร้อยละ  16.9 ตามลำดับ

อันดับภัยคุกคามด้านความมั่นคงตามความคิดเห็นของประชาชนที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย  มีดังนี้
  • อันดับ 1 ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 96.3)
  • อันดับ 2 ด้านความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนในชาติ (ร้อยละ 78.6)
  • อันดับ 3 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ร้อยละ 76.2)
  • อันดับ 4 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (ร้อยละ 70.1)
  • อันดับ 5 ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 67.9)
  • อันดับ 6 สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 67.3)
  • อันดับ 7 แรงงานด่างต้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง (ร้อยละ 58.7)
  • อันดับ 8 การล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ (ร้อยละ 40)
  • อันดับ 9 การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (ร้อยละ 33)
  • อันดับ 10 ผลกระทบที่เกิดจากข้อตกลง/พันธกรณีระหว่างประเทศ (ร้อยละ 22.5)  


หาดูความคิดเห็นของประชาชนแต่ละภาคแล้ว อันดับภัยคุกคามก็จะแตกต่างกันไป เช่น
  • ภาคกลาง ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนภายในชาติ และอันดับ 3 คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และอันดับ 3 คือ ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
  • ภาคเหนือ ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และอันดับ 3 คือ ปัญหาทรัพยการทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภาคใต้ ภัยคุกคามตามความคิดเห็น อันดับ 1 คือ ปัญหายาเสพติด อันดับ 2 คือ ความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนภายในชาติ และอันดับ 3 สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  
ภัยคุกคามด้านความมั่นคงทั้ง 10 ด้าน คณะผู้วิจัยยังได้ศึกษาความคิดเห็นจากประชาชน  บัณฑิตโครงการเพชรในตรมของ มศว. และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง  ด้วยว่า ภัยคุกคามแต่ละด้านควรมีแนวทางการแก้ไขและการป้องกันปัญหาได้อย่างไร ซึ่งจะได้สรุปให้ทราบในโอกาสต่อไป

********************************
ชาติชาย คเชนชล : 14 พ.ย.2562

ที่มา : 
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และ จิตติพร ลิน. (2561). รายงานการวิจัยการวางระบบการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เรื่องราวของคลังสมอง (Think Tank) ที่ (คนไทย) ควรรู้

ความหมายของ Think Tank
Think Tank อาจแปลเป็นภาษาไทยได้หลายคำ เช่น ถังความคิด องค์กรผลิตความคิด คลังสมอง เป็นต้น สำหรับในรายงานฉบับนี้ จะใช้คำว่า "คลังสมอง" เป็นหลัก ความหมายหรือคำจัดความของ คลังสมอง (Think Tank) มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายที่น่าสนใจไว้ ดังนี้

ภาคภูมิ ทิพคุณ (2552) กล่าวว่า

Think Tank หมายถึง องค์กรที่เป็นอิสระ ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานของผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และไม่แสวงหาผลกำไร แต่จะใช้ความชำนาญการ และความคิด ในการได้มาซึ่งการสนับสนุนและการเข้าไปมีอิทธิพลในกระบวนการกำหนดนโยบาย (อ้างจาก Rich. 2004)


Think Tank หมายถึง สถาบันที่ทำการวิจัย วิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ทั้งที่เป็นนโยบายภายในหรือนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่ทำให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจในประเด็นนโยบายสาธารณะอยู่บนฐานของข้อมูลและความรู้ได้ และอาจหมายรวมถึง สถาบันที่เป็นอิสระ หรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใดก็ได้ แต่ต้องเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างแน่นอน ถาวร และไม่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อรับทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วครั้งชั่วคราว สถาบัน Think Tank มักแสดงบทบาทในฐานะเป็นตัวเชื่อมระหว่างประชาคมวิชาการและภาคนโยบาย รักษาผลประโยชน์สาธารณะด้วยการแปลงงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ ไปเป็นภาษาและรูปแบบที่น่าเชื่อถือ เข้าใจได้ และเข้าถึงได้ สำหรับผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชน (อ้างจาก McGann. 2007)


เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2558) กล่าวว่า Think Tank หมายถึง สถาบันที่ทำการค้นคว้า ศึกษา วิจัย วิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ทั้งที่เป็นนโยบายภายในหรือนโยบายระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ทำให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจในประเด็นนโยบายสาธารณะอยู่บนฐานข้อมูลความรู้ สถาบันเหล่านี้อาจเป็นองค์กรอิสระ หรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหลักอื่นๆ แต่ต้องเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างแน่นอนถาวรและไม่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อรับทำงานใดทำงานหนึ่งชั่วครั้งชั่วคราว






McGann (2019) กล่าวว่า Think Tank จะเป็นสะพานช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างความรู้กับนโยบาย (Helping to bridge the gap between knowledge and policy) Think tank คือ องค์กรที่มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ วิจัย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับทิศทางหรือการดำเนินนโยบายสาธารณะทั้งประเด็นภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชนสามารถตัดสินใจอย่างชาญฉลาด Think Tank อาจเป็นสถาบันในเครือใดเครือหนึ่งก็ได้ หรือจะเป็นสถาบันอิสระก็ได้ แต่ต้องมีโครงสร้างถาวร ไม่รับค่าคอมมิชชั่นใดๆ Think Tank จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างนักวิชาการ กับ ผู้กำหนดนโยบาย ชุมชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม มีความเป็นอิสระในด้านการการวิจัย มีความน่าเชื่อถือ มีภาษาง่ายๆ ที่ผู้กำหนดนโยบายสาธารณเข้าใจง่าย 

บทบาทของ Think Tank
ภาคภูมิ ทิพคุณ (2552. อ้างจาก McGann (2007)) กล่าวถึงบทบาทของ Think Tank ไว้ดังนี้ 
  1. เป็นตัวกลางระหว่างรัฐบาลกับสาธารณะ โดย Think Tank เป็นเสมือนสถาบันที่นำเสียงเรียกร้อง ความต้องการ และปัญหาของสาธารณะเข้าไปสู่กระบวนการในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล
  2. ให้ข้อมูลที่ค่อนข้างเป็นกลาง และน่าเชื่อถือ ในกระบวนการโต้เถียงทางนโยบาย
  3. เป็นผู้ค้นหา จำกัดความ และวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นปัญหาใหม่ๆ หรือปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งรัฐบาลอาจจะยังไม่ได้คิดไปถึง นอกจากนั้น ยังมีบทบาทในการติดตาม และประเมินนโยบายรัฐบาลอีกด้วย
  4. เนื่องจาก Think Tank เป็นตัวกลางระหว่างรัฐกับสาธารณชน จึงสามารถทำหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายแก่สาธารณชนได้เป็นอย่างดี และสิ่งนี้ถือเป็นการให้การศึกษาแก่สาธารณชนโดยตรง
  5. ในช่วงของกระบวนการกำหนดนโยบาย Think Tank เป็นเสมือนเวทีของการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากนโยบายของรัฐ
  6. Think Tank จำนวนมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ) เป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพแก่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารของรัฐ เนื่องจากบุคลากรของ Think Tank เหล่านี้เข้าๆ ออกๆ ระหว่างโลกวิชาการและภาคการเมือง ทำให้ความรู้และความชำนาญถูกแปรเป็นนโยบายได้โดยตรง
  7. Think Tank เป็นพลังท้าทายความเชื่อดั้งเดิม (Conventional wisdom) หรือระเบียบปฏิบัติที่ล้าสมัยของราชการ เนื่องจาก Think Tank ไม่ได้ถูกครอบงำโดยรัฐบาล ทำให้ Think Tank มีอิสระอย่างมากในการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐ

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2558) กล่าวว่า คลังสมองมีบทบาทอยู่ในฐานะเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาควิชาการและภาคนโยบาย มีหน้าที่สร้างความเชื่อมโยงให้กับภาคประชาสังคม ภาครัฐบาลและสาธารณะ เพื่อพัฒนาและรักษาผลประโยชน์สาธารณะของประเทศ โดยทำการวิจัยและทำงานวิจัยให้มีภาษาและรูปแบบที่เข้าใจง่าย น่าเชื่อถือ และเข้าถึงประชาชนและผู้กำหนดนโยบาย คลังสมองจึงมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบ ชี้นำ และเสนอแนะความคิด แนวทางและวิธีการที่เหมาะสมให้กับภาครัฐและส่วนราชการ เพื่อบริหารจัดการ ปรับปรุง แก้ไขประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้วยเหตุนี้ คลังสมองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงประเทศในด้านต่างๆ ให้ดีขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การเมือง เป็นต้น

ประเภทของ Think Tank
ภาคภูมิ ทิพคุณ (2552. อ้างจาก McGann (2007)) ได้แบ่งประเภทของ Think Tank ในประเทศสหรัฐอเมริกา ไว้ดังนี้
แบ่งตามกิจกรรม และความเข้มข้นทางวิชาการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
  1. Think Tank ดั้งเดิม (Traditional Think Tank) คือ กลุ่ม Think Tank ที่ตั้งขึ้นก่อนสงครามเย็น กลุ่มนี้เชื่อในความเป็นกลางทางวิชาการและความแม่นยำของการศึกษาวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ ดังนั้น จึงทุ่มเททรัพยากรให้กับการวิจัยเชิงวิชาการเป็นสำคัญ
  2. Think Tank ที่ทั้งศึกษานโยบายและทำงานบริการสังคม (Think and Do Tank) เป็นกลุ่มที่เน้นทำทั้งการวิจัย/วิเคราะห์นโยบาย และการบริการทางสังคม ไปในขณะเดียวกัน 
  3. Think Tank ที่ไม่เน้นทำวิจัย แต่จะนำแนวคิดและข้อเสนอของ Think-Tank อื่นๆ ไปเผยแพร่และผลักดันให้เป็นนโยบาย (Do Tank) ส่วนใหญ่จะเป็น Think Tank ที่สังกัดพรรคการเมือง หรือสถาบันทางการเมือง 
หากแบ่งตามโครงสร้างขององค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
  1. Think Tank ที่เน้นทำวิจัยในหลายๆ ประเด็นและมีนักวิจัยจากศาสตร์หลายๆ แขนง และ Think-Tank ที่ศึกษาเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะสาขา
  2. Think Tank ที่รับศึกษาตามโครงการเป็นสัญญาๆ ไป 
  3. Think Tank ที่จัดตั้งขึ้นตามความต้องการการสนับสนุนทางการเมือง (Advocacy Think-Tank) และ 
  4. Think Tank ที่มุ่งแสวงหากำไรและขายผลงาน (Policy enterprise)
อย่างไรก็ตาม ประเภทของ Think Tank ยังอาจแบ่งได้ตามปัจจัยอื่นๆ ได้อีก เช่น แบ่งตามจุดเน้น แบ่งตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แบ่งตามอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น

ประเภทของ Think Tank ที่ The Lauder Institute แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้แบ่งประเภทเพื่อใช้จัดลำดับตามขอบเขตของงานการวิจัยไว้ในการรายงานการประเมินผล Think Tank ทั่วโลก ประจำปี 2018 (พ.ศ.2561) (McGann.2019) ได้แก่
  1. ประเภทการป้องกันและการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (Defense and National Security)
  2. ประเภทนโยบายด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestics Economic Policy)
  3. ประเภทนโยบายด้านการศึกษา (Education Policy)
  4. ประเภทนโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Energy and Resource Policy)
  5. ประเภทสิ่งแวดล้อม (Environment)
  6. ประเภทนโยบายและกิจการระหว่างประเทศ (Foreign Policy and international Affairs)
  7. ประเภทนโยบายด้านสุขภาพภายในประเทศ (Domestic Health Policy)
  8. ประเภทนโยบายด้านสุขภาพของคนทั่วโลก (Global Health Policy)
  9. ประเภทการพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development)
  10. ประเภทนโยบายด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (International Economic Policy)
  11. ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology)
  12. ประเภทนโยบายด้านสังคม (Social Policy)
  13. ประเภทความโปร่งใสและธรรมาภิบาลที่ดี (Transparency and Good Governance)
  14. ประเภทความมั่นคงของอาหารและน้ำ (Food and Water Security)
สมบัติ พิมพี (2561. อ้างจาก อัมพร ธำรงลักษณ์ (2556)) ได้ศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดตั้งสถาบันคลังสมองด้านความมั่นคงของต่างประเทศ พบว่าจากการสำรวจประเทศต่างๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศจีน สามารถจัดแบ่งประเภทของสถาบันคลังสมอง ได้ 6 ประเภท ได้แก่
  1. สถาบันคลังสมองวิชาการ เป็นองค์กรที่เน้นหนักด้านวิชาการ เน้นการวิจัยและสร้างองค์ความรู้ มีกระบวนการควบคุมการศึกษาวิจัยที่เข้มงวด มีมาตรฐานได้รับการยอมรับจากวารสารทางวิชาการ ผลการศึกษามีความเป็นกลางสูง
  2. สถาบันคลังสมองตามสัญญาจ้าง มีการศึกษาที่มีความลึกซึ้ง ผลการวิจัยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก
  3. สถาบันคลังสมองผู้สนับสนุน มีความเกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับกลุ่มผลประโยชน์ หรือองค์กรเอกชน ผลการวิจัยมีความเอนอียงไปตามผลประโยชน์ขององค์กรเอกชนที่สนับสนุน
  4. สถาบันคลังสมองที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาล เป็นส่วนหนึ่งและได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ศึกษาวิจัยเพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่รัฐบาล
  5. สถาบันคลังสมองที่สังกัดมหาวิทยาลัย มีความเป็นวิชาการสูง ทำวิจัยในขอบเขตที่แคบ เฉพาะด้าน เช่น ความมั่นคงด้านพลังงาน การป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม การสร้างภาพลักษณ์องค์กร
  6. สถาบันคลังสมองที่สังกัดพรรคการเมือง ได้รับเงินสนับสนุนจากพรรคการเมือง งานวิจัยจึงมุ่งสนองความต้องการของพรรคการเมือง

กิจกรรมที่ Think Tank มักจัดขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้เกิดอิทธิพล

ภาคภูมิ ทิพคุณ (2552) ได้กล่าวถึงกิจกรรมที่ Think Tank ในประเทศสหรัฐอเมริกาจัดขึ้นและมีผลต่อนโยบายของสหรัฐ อาจแยกได้เป็น กิจกรรมที่มุ่งหวังให้เกิดอิทธิพลต่อสาธารณชน(Public Influence) และกิจกรรมที่มุ่งหวังให้เกิดอิทธิพลในระดับตัวบุคคล หรือองค์กรที่กำหนดนโยบาย (Private Influence)สรุปดังนี้

กิจกรรมที่มุ่งหวังให้เกิดอิทธิพลต่อสาธารณชน ได้แก่
  1. การจัดการประชุม/สัมมนา ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ซึ่งหลายครั้งที่การประชุม/สัมมนาดังกล่าวจะมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ หรือทางเว็บไซต์เพื่อให้เข้าถึงสาธารณชนในวงกว้าง
  2. การส่งนักวิจัยในสังกัดไปให้ข้อมูลหรือบรรยายในมหาวิทยาลัยหรือองค์กรต่างๆ
  3. การนำเสนอข้อมูลหรือให้หลักฐานบางอย่าง (Testimony) ต่อคณะกรรมาธิการของรัฐสภา ในวัฒนธรรมทางการเมืองของสหรัฐ คณะกรรมาธิการรัฐสภามักจะใช้ประโยชน์จาก Think Tank ในเรื่องข้อมูลและหลักฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งคำพูดหรือรายงานที่ Think Tank นำเสนอมักจะได้รับการตีพิมพ์ในรูปของเอกสารทางราชการ
  4. การตีพิมพ์ผลงานหลากหลายแนว เพื่อให้เข้าถึงสาธารณชนทุกกลุ่ม อาทิเช่น การตีพิมพ์หนังสือ วารสารทางวิชาการ เพื่อให้เข้าถึงนักวิชาการและนักศึกษา การตีพิมพ์ข้อสรุปเชิงนโยบาย (Policy brief) เพื่อนำเสนอผู้กำหนดนโยบาย และการตีพิมพ์บทความสั้นในหนังสือพิมพ์ หรือจดหมายข่าว เพื่อให้เข้าถึงสาธารณชนโดยทั่วไป และเสนอแก่ผู้สนับสนุนทางการเงิน
  5. การทำงานร่วมกับสื่อหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ อาทิเช่น การออกรายการโทรทัศน์ การเขียนคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ Think Tank ส่วนมากมักจ้างนักเขียนมืออาชีพ (Ghostwriter) ไว้ประจำ เพื่อส่งผ่านผลงานของ Think Tank ไปลงหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่างๆ Think Tank หลายแห่งถึงกับมีรายการโทรทัศน์เป็นของตนเอง
กิจกรรมที่มุ่งหวังให้เกิดอิทธิพลในระดับตัวบุคคล หรือองค์กรที่กำหนดนโยบาย ได้แก่
  1. การรับตำแหน่งต่างๆ ในฝ่ายบริหาร (อาทิเช่น รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี/ประธานาธิบดี) หรือการเข้าไปเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงต่างๆ Think Tank ส่วนมากในสหรัฐ มักจะมองหาตำแหน่งว่างในหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้นักวิชาการของตนสมัครเข้าไป ในการเมืองสหรัฐ การเข้าๆ ออกๆ ระหว่าง Think Tank กับหน่วยงานของรัฐมักจะมีให้เห็นเป็นปกติ
  2. การเป็นสมาชิกในกลุ่มทำงาน (Task Force) ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี หรือการเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
  3. การตั้งสำนักประสานงาน (Liaison Office) ในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อให้ง่ายในการนำเสนอข้อมูลต่อสมาชิกของทั้งสองสภา และสะดวกในการพูดคุยโดยตรงกับคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ
  4. การเสนอตำแหน่งใน Think Tank ให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐที่เกษียณอายุราชการ หรือรัฐมนตรี/ประธานาธิบดีที่หมดวาระ ซึ่งวิธีการนี้นอกจากจะมีผลในด้านการเชื่อมโยงกับฝ่ายนโยบายแล้ว ยังมีผลในแง่ของการเรียกร้องเงินบริจาคด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำแหน่งหัวหน้าทีมรณรงค์หาเงินบริจาค มักจะถูกสำรองไว้ให้บุคคลเหล่านี้
  5. การเตรียมข้อสรุปทางนโยบายไว้ล่วงหน้า เพื่อนำเสนอต่อผู้กำหนดนโยบายโดยตรง
  6. การจัดโครงการต่างๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าร่วม ซึ่งมักจะเป็นโครงการอบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่เหล่านั้น อาทิ Center for Strategic and International Studies (CSIS) จะจัดโปรแกรมอบรมสำหรับผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีใหม่ และทีมงานในเรื่องการบริหารงาน เพื่อให้ทราบถึงแนวปฏิบัติและสิ่งที่ควรรู้ต่างๆ ในการบริหารจัดการของตน เป็นต้น
กิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ Think Tank ในสหรัฐ สามารถมีอิทธิพลทางนโยบายได้ อาจกล่าวได้ว่า กิจกรรมหลายอย่างมีความเป็นไปได้ เนื่องจากวัฒนธรรม และเงื่อนไขทางการเมืองที่เอื้ออำนวย

ประเภทกิจกรรมพิเศษ (Special Achievement) ของ Think Tank ที่ The Lauder Institute แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้แบ่งไว้เพื่อจัดลำดับในการรายงานผลดัชนีชี้วัดองค์กรคลังสมองทั่วโลก ประจำปี 2018 (พ.ศ.2561) (McGann.2019) ได้แก่
  1. ด้านการรณรงค์ต่อต้าน (Advocacy Campaign) ที่ดีที่สุด
  2. ด้านสร้างผลกำไร (For-Profit) ที่ดีที่สุด
  3. ด้านเครือรัฐบาล (Government Affiliated) ที่ดีที่สุด
  4. ด้านความร่วมมือระหว่าง Think Tank ตั้งแต่ 2 องค์กรขึ้นไปที่ดีที่สุด
  5. ด้านการบริหารจัดการ (Managed) ที่ดีที่สุด
  6. ด้านแนวคิดและกระบวนทัศน์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ (New Idea or Paradigm Developed) ที่ดีที่สุด 
  7. ด้านความเป็นอิสระ (Independent) ที่ดีที่สุด
  8. ด้านผลผลิตด้านการศึกษาและการรายงานเกี่ยวกับนโยบาย (Policy Study/Report Produced) ที่ดีที่สุด
  9. ด้านการจัดการประชุมสัมมนา (Conference) ที่ดีที่สุด
  10. ด้านการสร้างเครือข่าย (Think Tank Network) ที่ดีที่สุด
  11. ด้านสังกัดพรรคการเมือง (Political Party Affiliation) ที่ดีที่สุด
  12. ด้านโครงการวิจัยสหวิทยาการ (Transdisciplinary Research Program) ที่ดีที่สุด
  13. ด้าน Think Tank ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด
  14. ด้านการใช้เครือข่ายสังคม (Use of Social Network) ที่ดีที่สุด
  15. ด้าน Think Tank ที่น่าจับตามอง
  16. ด้านความมีสัมพันธ์กับภายนอกและมีส่วนร่วมกับสาธารณะที่ดีที่สุด
  17. ด้านการใช้อินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุด 
  18. ด้านการใช้สื่อที่ดีที่สุด 
  19. ด้านแนวคิด / ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ทันสมัยที่สุด
  20. ด้านผลกระทบที่สำคัญที่สุดในนโยบายสาธารณะ
  21. ด้านนโยบายสาธารณะที่โดดเด่น

Think Tank ทั่วโลก
จากข้อมูล การรายงานผลดัชนีชี้วัดองค์กรคลังสมองทั่วโลก ประจำปี 2018 (พ.ศ.2561) ของ The Lauder Institute แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (McGann.2019) พบว่า ทั่วโลกมีองค์กรคลังสมอง ( Think Tank) ทั้งสิ้น 8,248 แห่ง แบ่งเป็นทวีปยุโรป 2,219 แห่ง ทวีปอเมริกาเหนือ 2,058 แห่ง ทวีปเอเชีย 1,829 แห่ง ทวีปอเมริกลางและอเมริกาใต้ 1,023 แห่ง ทวีปแอฟริกาใต้สะฮารา 612 แห่ง ตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกาเหนือ 507 แห่ง 




ประเทศที่มี Think Tanks จำนวนมาก 10 อันดับแรกได้แก่ 
  • อันดับ 1 ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 1,871 แห่ง
  • อันดับ 2 ประเทศอินเดีย จำนวน 509 แห่ง
  • อันดับ 3 ประเทศจีน จำนวน 507 แห่ง
  • อันดับ 4 ประเทศอังกฤษ จำนวน 321 แห่ง
  • อันดับ 5 ประเทศอาเจนติน่า จำนวน 227 แห่ง
  • อันดับ 6 ประเทศเยอรมันนี จำนวน 218 แห่ง
  • อันดับ 7 ประเทศรัสเซีย จำนวน 215 แห่ง
  • อันดับ 8 ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 203 แห่ง
  • อันดับ 9 ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 128 แห่ง
  • อันดับ 10 ประเทศอิตาลี จำนวน 114 แห่ง 

ประเทศที่มีองค์กรคลังสมอง (Think Tank) จำนวนมาก
มักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นมหาอำนาจในด้านต่างๆ ของโลก 


Think Tanks ในอาเซียน
หากมองเฉพาะในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nation : AEAN) ประเทศที่มีองค์กรคลังสมอง (Think Tank) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้
  • อันดับ 1 ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 31 แห่ง
  • อันดับ 2 ประเทศมาเลเซีย จำนวน 23 แห่ง
  • อันดับ 3 ประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 21 แห่ง
  • อันดับ 4 ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 18 แห่ง
  • อันดับ 5 ประเทศไทย จำนวน 15 แห่ง
  • อันดับ 6 ประเทศกัมพูชา จำนวน 14 แห่ง
  • อันดับ 7 ประเทศเวียดนาม จำนวน 11 แห่ง
  • อันดับ 8 ประเทศบรูไนดารุสซาลาม จำนวน 8 แห่ง
  • อันดับ 9 ประเทศลาว จำนวน 4 แห่ง
  • อันดับ 10 ประเทศเมียนมาร์ ไม่มี 



การจัดอันดับ Think Tanks ปี 2018
The Lauder Institute แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (McGann.2019) ได้จัดอันดับ Think Tanks ประจำปี 2018 (พ.ศ.2561) โดยแบ่งเป็นหลายประเภท สรุปที่สำคัญ ได้ดังนี้

สุดยอด Think Tank แห่งปี 2018 ได้แก่  Brookings Institute  ประเทศสหรัฐอเมริกา





สุดยอด Think Tank ของโลก แห่งปี 2018 (ไม่รวมประเทศสหรัฐอเมริกา) จำนวน 145 อันดับ (ไม่มีสถาบันของประเทศไทย) สำหรับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ที่ได้รับการจัดอันดับ ได้แก่ 

  • อันดับ 45 Singapore Institute of international Affairs : SIAA (สิงคโปร์)
  • อันดับที่ 59 Centre for Strategic and International Studies : CSIS (อินโดนีเซีย) 
  • อันดับที่ 66 Institute of Southeast Asian Studies : ISEAS (สิงคโปร์)
  • อันดับที่ 67 Centre on Asia and Globalization : LKY (สิงคโปร์) 
  • อันดับที่ 71 Asia Competitiveness Institute : ACI (สิงคโปร์)
  • อันดับที่ 79 Cambodia Development Resource Institute : CDRI (กัมพูชา)
  • อันดับที่ 96 Institute of Defense and Strategic Studies : IDSS (สิงคโปร์)
  • อันดับที่ 118 Asian Strategy and Leadership institute : ASLI (มาเลเซีย)
สุดยอด Think Tanks ของโลก แห่งปี 2018 (รวมประเทศสหรัฐอเมริกา) จำนวน 177 อันดับ (ไม่มีสถาบันของประเทศไทย)  สำหรับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ที่ได้รับการจัดอันดับ ได้แก่
  • อันดับที่ 71 Singapore Institute of international Affairs : SIAA (สิงคโปร์)
  • อันดับที่ 80 Centre for Strategic and International Studies : CSIS (อินโดนีเซีย)
  • อันดับที่ 97 Institute of Southeast Asian Studies : ISEAS (สิงคโปร์)
  • อันดับที่ 100 Institute of Defense and Strategic Studies : IDSS (สิงคโปร์)
  • อันดับที่ 102 Centre for Public Policy Studies : CPPS (มาเลเซีย)
  • อันดับที่ 172 Cambodia Development Resource Institute : CDRI (กัมพูชา) 


สุดยอด Think Tanks ใน Southeast Asia and the Pacific มีจำนวน 108 อันดับ สำหรับประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ที่ติดใน 10 อันดับแรก ได้แก่ 
  • อันดับที่ 1 Centre for Strategic and International Studies : CSIS (อินโดนีเซีย)
  • อันดับที่ 2 Institute of Defense and Strategic Studies : IDSS (สิงคโปร์)
  • อันดับที่ 5 Singapore Institute of international Affairs : SIAA (สิงคโปร์)
  • อันดับที่ 6 Institute of Strategy and International Studies : ISIS (มาเลเซีย)
  • สำหรับ Think Tanks ในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับ มีจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ อันดับที่ 16,36,68,72,80,100 และ 105 จาก 108 อันดับ
Think Tanks ในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับ
Think Tanks ในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับไว้การรายงานผลดัชนีชี้วัดองค์กรคลังสมองทั่วโลก ประจำปี 2018 (พ.ศ.2561) ของ The Lauder Institute แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (McGann.2019) ได้แก่

  • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute : TDRI) ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 16/108 ของ Think Tanks ใน Southeast Asia and the Pacific และอันดับที่ 19/65 ของ Think Tank ด้านนโยบายการศึกษา (https://tdri.or.th)
  • Institute of Security and international Studies : ISIS (THAILAND) (องค์กรระหว่างประเทศ) ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 36/108 ของ Think Tanks ใน Southeast Asia and the Pacific (http://www.isisthailand.org/)
  • Chula Global Network (CGN) ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 68/108 ของ Think Tanks ใน Southeast Asia ฟand the Pacific และอันดับที่ 43/88 ด้านเครือข่าย Think Tanks (http://www20100324.chula.ac.th/chulaglobal/)
  • Center for People and Forests : RECOFTC (THAILAND) (องค์กรระหว่างประเทศ) ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 72/108 ของ Think Tanks ใน Southeast Asia and the Pacific (https://www.recoftc.org/thailand)
  • สถาบันนโยบายศึกษา (Institute of Public Policy Studies : IPPS) ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 80/108 ของ Think Tanks ใน Southeast Asia and the Pacific (http://www.fpps.or.th/index.php)
  • สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย (Future Innovative Thailand Institute : FIT) ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 100/108 ของ Think Tanks ใน Southeast Asia and the Pacific (https://www.fit.or.th/)
  • Asian Institute of Technology (AIT)  ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 105/108 ของ Think Tanks ใน Southeast Asia and the Pacific (https://www.ait.ac.th/)
  • Centre for Energy Environment Resources Development (CEERD) ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 22/60 ของ Think Tank ด้านนโยบายพลังงานและทรัพยากร (http://www.ceerd.net/)
  • สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environment institute : TEI) ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 59/100 ของ Think Tank ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม (http://www.tei.or.th/th/index.php)
  • เครือข่ายการวิจัยและการฝึกอบรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Research and Training Network on Trade : ARTNet) (องค์กรระหว่างประเทศ) ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 26/88 ด้านเครือข่าย Think Tanks (https://artnet.unescap.org/)
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ติดอันดับโลก แต่ติดอันดับที่ 53/65 ของ Think Tank ด้านการจัดการประชุมสัมมนา (https://www.chula.ac.th/)






**********************
รวบรวมโดย 
พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์
นักวิชาการประจำสำนักงานเลขาธิการ กอ.รมน.
23 ต.ค.2562

อ้างอิง
  • ภาคภูมิ ทิพคุณ. (2552). ว่าด้วย Think-Tank (ตอนที่ 1). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. [Online]. Available : https://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1190:2009-07-02-07-00-00&catid=28&Itemid=223&option=com_content&view=article&id=1190:2009-07-02-07-00-00&catid=28&Itemid=223. [2562 ตุลาคม 18].
  • ภาคภูมิ ทิพคุณ. (2552). ว่าด้วย Think-Tank (ตอนที่ 2). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. [Online]. Available : https://www.trf.or.th/2013-12-06-06-49-30/1189-2009-07-16-07-00-00. [2562 ตุลาคม 18].
  • ภาคภูมิ ทิพคุณ. (2552). ว่าด้วย Think-Tank (ตอนที่ 4). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. [Online]. Available : https://www.trf.or.th/2013-12-06-06-49-30/1184-2009-08-27-07-00-00. [2562 ตุลาคม 18].
  • ภาคภูมิ ทิพคุณ. (2552). ว่าด้วย Think-Tank (ตอนที่ 5). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. [Online]. Available : https://www.trf.or.th/2013-12-06-06-49-30/1183-2009-09-10-07-00-00. [2562 ตุลาคม 18].
  • เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2558). คลังสมอง (Think - Tank) กับการพัฒนาประเทศไทย.[Online]. Available : http://www.kriengsak.com/Brains%20Think%20-%20Tank%20to%20develop%20Africa. [2562 ตุลาคม 18].
  • สมบัติ พิมพี. (2561). การจัดตั้งองค์กรสมองของกองทัพ. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561. กรุงเทพฯ : สถาบันวิชาการป้งกันประเทศ. 
  • McGann, James G. (2019). 2018 Global Go To Think Tank Index Report. Think Tank and Civil Societies Program : University of Pennsylvania.

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

บทความทางวิชาการ : แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้อง CCTV ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทสรุปผู้บริหาร
แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) 
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
จัดทำเมื่อ 19 ก.ค.2562
________________


โครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television : CCTV) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) เพื่อป้องกันการก่อการร้าย/การก่ออาชญากรรม และเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการรักษาความสงบของเมือง รัฐบาลเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนกระทั่งปัจจุบัน ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 2,220.43 ล้านบาท โดยมีโครงการฯ ที่สำคัญ ดังนี้ 

  1. โครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ใน 32 อำเภอ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี 2547 ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ปค.มท.) ใช้งบประมาณ 140 ล้านบาท
  2. โครงการบูรณาการและติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. เพิ่มเติม ในปี 2550 ของสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย (สป.มท.) ดำเนินการโดย บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง ใช้งบประมาณ 969.40 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้มีปัญหาดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามสัญญา เกิดการฟ้องร้องทางกฎหมาย จนกระทั่ง สป.มท. ต้องจัดจ้าง บจก.ไทยทรานสมิชชั่น อินดัสทรี เข้าดำเนินการแทน
  3. การจัดทำโครงข่าย IP Link เพื่อเชื่อมโยงระบบสื่อสาร และระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในปี 2556,2559 และ 2560 ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ดำเนินการโดย บจก.สิงห์คอมมิวนิเคชั่น ใช้งบประมาณ 120 ล้านบาท
  4. โครงการเช่ากล้องและระบบโครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัย ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตเมือง จำนวน 2 ระยะ ในปี 2558 และ ปี 2561 ของ กอ.รมน. ดำเนินการโดย บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม ใช้งบประมาณ 610.14 ล้านบาท
  5. โครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. จำนวน 3 ระยะ ในปี 2559-2560 ดำเนินการโดย บจก.กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น ใช้งบประมาณ 218.28 ล้านบาท 
สถานะของโครงการฯ ในปัจจุบัน
หลังจากเสร็จสิ้นโครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ระยะที่ 3 ซึ่งดำเนินการโดย บจก.กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น แล้ว ระบบยังไม่สามารถบูรณาการกล้องได้โดยสมบูรณ์ อาทิ ระบบบริหารจัดการภาพ (VMS) การนำกล้องเข้าสู่ Server กล้องบางตัวไม่สามารถดูภาพได้ การบันทึกภาพจากกล้องในระบบ Server ระบบการเชื่อมโครงข่ายมีปัญหาเนื่องจากความเร็วในการส่งข้อมูล (Bandwidth) ไม่เพียงพอ สาเหตุจากข้อมูลรายละเอียดทางเทคนิคที่กำหนด ไม่ตรงกับข้อมูลจริงในการปฏิบัติงาน บริษัทฯ ต้องปรับแก้ไขไปตามสภาพงาน เป็นต้น

ส่วนการเช่ากล้องและระบบจาก บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม เป็นเวลา 5 ปีนั้น สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กล้องสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ไม่เป็นภาระกับทางราชการในการจัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุม CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งไม่ต้องคอยดูแลบำรุงรักษาและการซ่อมแซมระบบ เพราะบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินการแทนทั้งหมด 

ความพยายามที่จะบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้มีประสิทธิภาพ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2556 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน พ.ศ.2562 มีการจัดทำ “แผนแม่บทระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. พ.ศ.2561-2565” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปัจจุบันมีจำนวนกล้องที่ต้องนำเข้าระบบบูรณาการถึง 6,665 กล้อง ซึ่งเป็นของหลายหน่วยงาน หลายยี่ห้อ หลายอายุการใช้งาน เข้าด้วยกัน มีการจัดตั้งศูนย์ควบคุม CCTV เป็นส่วนรวมในหลายระดับ จำนวน 46 ศูนย์ แต่ ณ ปัจจุบัน ยังคงเกิดปัญหาขึ้นหลายประการตามที่ คณะกรรมการฯ และหน่วยงานต่างๆ ได้สรุปไว้

หากจะมีการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ (Smart CCTV) ต่อไป องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ที่ควรนำมาใช้ในการพัฒนา คือ 1) การออกแบบระบบ CCTV /เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ 2) การใช้ระเบียบและวิธีการบริหารจัดการที่ฉลาด 3) การนำหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาช่วยพิจารณาวางแผน

จากการพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คณะผู้จัดทำได้เสนอข้อควรปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการบูรณาการกล้อง CCTV ในพื้นที่ จชต. ดังนี้
  1. กล้อง CCTV ในเขตพื้นที่อำเภอ ควรเชื่อมโยงกันด้วยระบบสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เพราะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องความเร็วในการส่งข้อมูล (Bandwidth)
  2. ศูนย์ควบคุม CCTV ทั้ง 46 ศูนย์ ควรเชื่อมโยงกันด้วยระบบ Government Information Network (GIN) เพราะมีข้อจำกัดในเรื่อง Bandwidth
  3. การบันทึกภาพให้ทำการบันทึกเฉพาะที่ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอเท่านั้น ส่วนศูนย์ควบคุม CCTV ระดับจังหวัด ระดับหน่วยเฉพาะกิจ และระดับหน่วยบูรณาการ ไม่ต้องมีระบบบันทึกภาพ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและทรัพยากรโดยไม่จำเป็น แต่ยังสามารถเรียกดูภาพสดหรือภาพย้อนหลังได้ตามต้องการ 
  4. เทคโนโลยี โปรแกรม และอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ควรมีมาตรฐานเดียวกัน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตามที่กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กำหนด
  5. ดำเนินการคัดเลือกระบบบริหารจัดการที่ฉลาดมาใช้ เช่น ระเบียบวิธีจัดการข้อมูลภาพ โปรแกรมบริหารจัดการศูนย์ควบคุม CCTV โปรแกรมประเภทปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) เป็นต้น
  6. จัดให้มีการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ภายในศูนย์ควบคุม CCTV ในทุกระดับ
  7. ควรพิจารณาจุดติดตั้งกล้อง โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับอาชญากรรมวิทยามาพิจารณาประกอบรวมทั้งออกแบบระบบภาพที่จะแสดงในศูนย์ควบคุม CCTV ในแต่ละระดับให้ชัดเจน 
หากมีการดำเนินโครงการพัฒนาและบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต.      สู่ความเป็น Smart CCTV ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยใช้งบประมาณให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ควรมีนโยบายหลักสำคัญที่ใช้ในการพิจารณา ดังนี้
  1. ควรมีสถาบันหรือวิศวกรที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและได้การรับรองจากทางราชการ ดำเนินการออกแบบระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เต็มรูปแบบ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วเป็นพื้นฐานในการออกแบบ เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการเขียน TOR ระยะต่างๆ ต่อไป
  2. ทยอยเปลี่ยนจาก "การซื้อระบบและบริหารจัดการเอง" เป็นการ "เช่าระบบจากเอกชน" แทน เพื่อตัดปัญหาด้านเจ้าหน้าที่ควบคุม CCTV การดูแลบำรุงรักษาระบบ และประสิทธิภาพของการใช้งาน ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณของแผ่นดินที่ต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการซื้อระบบ และไม่เป็นภาระในดูแลรักษาและการซ่อมบำรุง
สำหรับโครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ระยะที่ 4 ที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. กำลังจะเสนอความต้องการใหม่ในปีงบประมาณ 2563 โดยใช้งบประมาณ 1,986.8 ล้านบาท นั้น เป็นการเช่าระบบจากเอกชน ระยะเวลาเช่า 5 ปี มีแผนการติดตั้งกล้อง CCTV ใหม่ อีกจำนวน 4,511 กล้อง และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางจำนวน 3 ศูนย์ โครงการนี้สมควรให้มีสถาบัน/วิศวกร ที่เชี่ยวชาญมีผลงานในการจัดทำโครงการขนาดใหญ่เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบระบบ โดยใช้มาตรฐานของกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นแนวทางในการดำเนินการ

สำหรับในตัวโครงการฯ อาจต้องมีการทบทวนความจำเป็นและความคุ้มค่าของโครงการฯ ให้ชัดเจน เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ผลของการตัดสินใจล้วนมีความผูกพันต่องบประมาณแผ่นดินเป็นเวลาหลายปี ซึ่งอาจมีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการในอนาคตอีกด้วย 

ความเร่งด่วนในการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ในปัจจุบันที่ควรพิจารณาคือ การรีบดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงโครงการระยะที่ 3 ให้เสร็จสมบูรณ์ ก่อนที่จะดำเนินการโครงการฯ ในระยะที่ 4 ต่อไป

***************************
ความเป็นมา
การติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television : CCTV) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) เริ่มมีการติดตั้งในปีงบประมาณ 2547 และ 2548 ใน 32 อำเภอ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ปค.มท.) รวม 516 กล้อง มีการติดตั้งที่ศาลากลางจังหวัด และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จำนวน 128 กล้อง นอกจากนั้นยังมีกล้อง CCTV ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 (กอ.รมน.ภาค 4) จำนวน 60 กล้อง ของเทศบาลเมืองยะลา จำนวน 96 กล้อง และของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 อีกจำนวน 120 กล้อง รวมทั้งสิ้น 920 กล้อง ใช้งบประมาณประมาณ 140 ล้านบาท

ต่อมาในปี พ.ศ.2550 คณะรัฐมนตรี (ชุด พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) ได้มีมติเมื่อ 23 ม.ค.2550 อนุมัติ "โครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้" เพื่อบูรณาการกล้อง CCTV ที่มีอยู่เดิม (920 กล้อง) และกล้อง CCTV ที่จะติดตั้งใหม่ (3,520 กล้อง) ในพื้นที่ จชต. โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ดังนี้
  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพในการป้องกัน ควบคุม และรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชน และชุมชนสถานที่ราชการที่สำคัญ สาธารณสถาน เช่น วัด โรงเรียน และสาธารณสมบัติ ได้แก่ เสาส่งสัญญาณ ตู้โทรศัพท์สาธารณะ
  2. เพื่อเฝ้าระวังจุดยุทธศาสตร์ ในอำเภอต่างๆ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีสถานการณ์รุนแรงมาก
  3. เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ก่อความไม่สงบ
โครงการฯ ดังกล่าวได้แบ่งมอบความรับผิดชอบให้หน่วยงานต่างๆ ดังนี้
  1. สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย (สป.มท.) เป็นหน่วยงานผู้ขอตั้งงบประมาณและงบประมาณบำรุงรักษา
  2. กอ.รมน.ภาค 4 รับผิดชอบจัดทำข้อกำหนดของผู้ว่าจ้างและขอบเขตของงาน ( Term of Reference : TOR) จุดติดตั้ง รวมทั้งเป็นศูนย์บัญชาการทุกพื้นที่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  3. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นศูนย์เฝ้าติดตามสถานการณ์
  4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เป็นศูนย์ควบคุมระบบ CCTV หลัก ระดับอำเภอและเฝ้าระวังสถานการณ์
  5. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ปค.มท.) รับผิดชอบเป็นศูนย์ควบคุมระบบ CCTV รอง ระดับอำเภอ และสำรองข้อมูลฉุกเฉิน
โครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นี้ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 969,400,00 บาท โดยการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ มี บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งและวางระบบ โดย สป.มท. เป็นผู้บริหารสัญญา กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 7 พ.ย.2551

ตารางที่ 1 แผนการติดตั้งกล้อง CCTV ใหม่ตามโครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ 5 จชต. (ปีงบประมาณ 2550)

ลำดับ
อำเภอ
จังหวัด
ประเภทกล้อง
หมายเหตุ
Fix Camera
Pan
Tilt&Zoom (PTZ)
Infrared (IR)
รวมทั้งสิ้น
1
เมือง
ปัตตานี
320
5
3
328

2
หนองจิก
80
2
2
84

3
ยะรัง
48
0
0
48

4
โคกโพธิ์
80
2
1
83

5
ยะหริ่ง
48
1
0
49

6
สายบุรี
80
4
1
85

7
มายอ
79
3
3
85

8
ปานาเระ
60
1
1
62

9
ไม้แก่น
60
3
3
66

10
ทุ่งยางแดง
32
1
1
34

11
กะพ้อ
32
1
1
34

12
แม่ลาน
32
0
0
32

รวม
951
23
16
990

1
เมือง
ยะลา
300
2
2
304

2
รามัน
48
1
1
50

3
ยะพา
48
0
0
48

4
กาบัง
32
0
0
32

5
กรงปินัง
48
0
0
48

6
ธารโต
48
0
0
48

7
บันนังสตา
32
0
0
32

8
เบตง
32
1
1
34

รวม
588
4
4
596

1
เมือง
นราธิวาส
64
5
5
330

2
สุไหงโกลก
64
1
1
66

3
ตากใบ
48
1
1
66

4
ศรีสาคร
48
1
1
50

5
รือเสาะ
48
0
0
48

6
ยี่งอ
48
1
1
50

7
สุไหงปาดี
64
0
0
64

8
ระแงะ
64
3
3
70

9
เจาะไอร้อง
80
5
5
90

10
บาเจาะ
48
0
0
48

11
แว้ง
48
1
1
50

12
สุคิริน
48
0
0
48

13
จะแนะ
48
0
0
48

รวม
992
18
18
1,028

1
เมือง
สงขลา
234
7
7
248

2
หาดใหญ่
320
6
6
332

3
สะบ้าย้อย
48
2
2
52

4
นาทวี
48
2
2
52

5
จะนะ
48
2
2
52

6
เทพา
48
2
2
52

7
สะเดา
32
1
1
34

8
นาหม่อม
48
2
2
52

รวม
826
24
24
874

1
เมือง
สตูล
32
0
0
32

รวม
32
0
0
32

รวมทั้งสิ้น
42 อำเภอ
5 จังหวัด
3,389
69
62
3,520

หมายเหตุ ติดตั้งกล้อง CCTV พรางตาฝ่ายตรงข้าม (Disguise Camera) อีกจำนวน 7,000 กล้อง

บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง คู่สัญญาไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด จึงได้แจ้งยกเลิกสัญญาไปยัง สป.มท. เมื่อ 22 ก.ค.2552 โดยอ้างเหตุผลดังนี้

  1. ข้อกำหนดของผู้ว่าจ้างและขอบเขตของงาน (TOR) ไม่ชัดเจน
  2. ใน TOR ประมาณการวางสายเคเบิลใยแก้วไว้เพียง 1,800 กิโลเมตร แต่การปฏิบัติจริงกลับต้องใช้จริงถึง 3,800 กิโลเมตร
  3. ในสัญญาไม่ได้กำหนดจุดติดตั้งกล้อง CCTV ที่ชัดเจน 
  4. คณะกรรมการตรวจรับพัสดุที่แต่งตั้งจาก มท. ไม่เข้าไปตรวจรับงาน
  5. กรรมการตรวจรับพัสดุ จ.สงขลา ไม่รับงาน
ด้าน สป.มท. ได้บอกเลิกสัญญากับ บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง เช่นกัน เมื่อ 7 ก.ย.2552

ต่อมา บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง ได้ยื่นฟ้อง สง.ปท.มท. และ มท. ต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2552 ขอให้ มท. ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ บริษัทฯ จำนวน 2,500 ล้านบาท

จ้างบริษัทฯ ใหม่

หลังจาก สป.มท. บอกเลิกสัญญากับ บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง เป็นเงิน 969,400,00 บาท เมื่อ 7 ก.ย.2552 เนื่องจากไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนด จึงได้ดำเนินการจัดซื้อใหม่โดยวิธีพิเศษ กับ บจก.สามารถคอมเทค เป็นเงิน 1,065,078,000 บาท แต่จากการทวงติงของสำนักงบประมาณ สป.มท.จึงได้ยกเลิกการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ กับ บจก.สามารถคอมเทค จากนั้น ได้มีการปรับปรุงขอบเขตของงาน (TOR) ใหม่ แล้วดำเนินการจัดหาโดยวิธีพิเศษอีกครั้ง กับ บจก.ไทยทรานสมิชชั่น อินดัสทรี เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งและวางระบบแทน เป็นเงิน 960,000,000 บาท กำหนดส่งมอบระบบภายใน 360 วัน โดยผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2550-2555 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ

จากปัญหาของโครงการที่กล่าวมาแล้ว คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาศึกษาและตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ได้เสนอบทสรุปและข้อเสนอแนะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ดังนี้ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2554)
  1. รัฐบาลควรผลักดันหรือสนับสนุนให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าต่อไป โดยหาบริษัทฯ รายใหม่ แทนรายเดิมและสานต่อโครงการดังกล่าวต่อไปอย่างเร่งด่วน
  2. ขอให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับ บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง คู่สัญญารายเดิมและเรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าชดเชยที่กระทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ
  3. ขอให้รัฐบาลดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการดังกล่าวเป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากโครงการนี้ส่อว่าจะมีการทุจริต โดยมีแนวโน้มเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทคู่สัญญารายเดิม
  4. กรณีเมื่อมีการดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อ ขอให้รัฐบาลหรือสำนักงาน สป.มท. พิจารณาปรับปรุงระบบการรับ-ส่งสัญญาณ จากการวางสายเคเบิ้ลใยแก้วเปลี่ยนมาใช้ระบบไร้สายหรือ Wireless แทน
  5. ขอให้พิจารณาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการวางเครือข่ายการเชื่อมโยงจากเดิมเครือข่ายต้องมีการเชื่อมโยง ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการที่ใหญ่เกินไป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน โดยขอให้เปลี่ยนเป็นเป็นวางเครือข่ายเชื่อมโยงเฉพาะภายในจังหวัด โดยให้แต่ละจังหวัดติดตั้งระบบเชื่อมโยงเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดเท่านั้น 
โครงข่าย IP LINK
ในปีงบประมาณ 2556 กอ.รมน. เริ่มจัดทำโครงข่ายข้อมูลผ่าน IP LINK ใช้งบประมาณ 40,000,000 บาท ผู้รับจ้างติดตั้งและวางระบบ ได้แก่ บจก.สิงห์คอมมิวนิเคชั่น และยังได้จัดซื้ออุปกรณ์เสริมประสิทธิภาพระบบเฝ้าตรวจ พร้อมอุปกรณ์ประกอบอีก 40,000,000 บาท ในปีงบประมาณ 2559 และอีก 40,000,000 บาท ในปีงบประมาณ 2560 จาก บจก.สิงห์คอมมิวนิเคชั่น ตามลำดับ

ต่อมาในปีงบประมาณ 2558 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มีการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( จชต.) ด้วยระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ดังนี้

โครงการเช่ากล้องและระบบโครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัย ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตเมือง จำนวน 2 ระยะ ดำเนินการโดย บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม ดังนี้ 

  • ระยะที่ 1 ติดตั้งกล้อง 195 กล้อง บริเวณ อ.เมือง จ.ยะลา งบประมาณ 97 ล้านบาท เริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ.2558 
  • ระยะที่ 2 เช่ากล้องและระบบ จำนวน 1,835 กล้องพร้อมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์ควบคุมฯ จาก บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม บริเวณ 6 เมืองหลัก ประกอบด้วย อ.เบตง จ.ยะลา อ.เมืองปัตตานี อ.เมือง อ.สุไหงโก-ลก อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ ศชต.อ.เมืองยะลา โดย กอ.รมน. เป็นผู้เช่า จ่ายค่าเช่าเดือนละ 10,169,151.60 บาท จำนวน 60 เดือน รวมค่าเช่า ทั้งหมด 610,149,096 บาท สัญญาเช่าตั้งแต่ พ.ศ.2561-2565 
โครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต.จำนวน 3 ระยะ โดยมี บจก.กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น เป็นผู้รับจ้าง ดังนี้
  • ระยะที่ 1 จัดตั้งศูนย์ควบคุม 27 ศูนย์ และเชื่อมโยงเครือข่าย Government Information Network (GIN) งบประมาณ 63,807,600 บาท แล้วเสร็จเมื่อ 9 ก.ค.2559
  • ระยะที่ 2 จัดตั้งศูนย์ควบคุม 11 ศูนย์ เชื่อมโยงเครือข่าย GIN และติดตั้งระบบควบคุมสัญญาณแบบรวมการ งบประมาณ 94,500,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อ 5 พ.ค.2560
  • ระยะที่ 3 จัดตั้งศูนย์ ฉก.จังหวัด ฉก.นย. และระบบอ่านป้ายทะเบียน งบประมาณ 59,980,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อ 26 ส.ค.2560
โครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. (ระยะที่ 4) 
โครงการนี้ กอ.รมน.ภาค 4 มีแผนเสนอความต้องการมาตั้งเดือน ส.ค.2560 แต่ไม่ได้รับการพิจารณา และกำลังจะเสนอความต้องการใหม่ในปีงบประมาณ 2563 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,986,855,000 บาท (ตามมติการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2562) โดยเป็นการเช่าระบบจากภาคเอกชน จำนวน 5 ปี ตามรายละเอียดในตารางที่ 2 ในโครงการมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางกล้องโทรทัศน์วงจรปิดจำนวน 3 ศูนย์ และติดตั้งกล้อง CCTV ใหม่จำนวน 4,511 กล้อง ดังนี้
  1. สถานที่และ/หรือเป้าหมายสำคัญที่ล่อแหลมต่อการก่อเหตุ จำนวน 1,701 กล้อง
  2. ปมคมนาคมหลักและเขตติดต่อระหว่างอำเภอ จำนวน 1,190 กล้อง 
  3. หมู่บ้านยุทธศาสตร์ 162 หมู่บ้าน จำนวน 1,620 กล้อง

ตารางที่ 2 แผนการใช้งบประมาณโครงการบูรณาการระบบกล้อง CCTV)ในพื้นที่ จชต. (ระยะที่ 4)

รายละเอียดการเช่า
ค่าเช่าต่อปี  (บาท)
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
ปีที่ 4
ปีที่ 5
เช่ากล้อง 4,511 กล้อง
233,311,000
233,311,000
233,311,000
233,311,000
233,311,000
เช่าเครือข่ายและระบบบริหารจัดการ
62,060,000
62,060,000
62,060,000
62,060,000
62,060,000
จัดให้บริการศูนย์ข้อมูลกลาง 3 ศูนย์
330,000,000
(รวมค่าจัดตั้งศูนย์)
45,000,000
45,000,000
45,000,000
45,000,000
รวม
625,371,000
340,371,000
340,371,000
340,371,000
340,371,000
รวมทั้งโครงการ
1,986,855,000

งบประมาณที่ใช้

คณะผู้จัดทำ ได้พยายามรวบรวมงบประมาณที่ทุกส่วนราชการ ได้ใช้ไปในโครงการติดตั้งและวางระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ที่ผ่านมา เท่าที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ รวมทั้งสิ้น 2,220.43 ล้านบาท แยกเป็น
  • ปีงบประมาณ 2547-2548 จำนวน 140 ล้านบาท
  • ปีงบประมาณ 2550-2555 จำนวน 960 ล้านบาท
  • ปีงบประมาณ 2556 จำนวน 40 ล้านบาท
  • ปีงบประมาณ 2558-2562 จำนวน 714.37 ล้านบาท
  • ผูกพันงบประมาณ ปี 2563-2565 จำนวน 366.06 ล้านบาท
สถานะโครงการระบบกล้อง CCTV ในพื้นที่ จชต. ณ ปัจจุบัน
ผลจากการดำเนินโครงการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. และ 5 อำเภอ ใน จ.สงขลา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 จนกระทั่งปัจจุบัน มีศูนย์ควบคุมกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) จำนวน 46 ศูนย์ แยกเป็น (ดูรายละเอียดในตารางที่ 3) 
  1. ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับบูรณาการ จำนวน 3 แห่ง
  2. ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับหน่วยเฉพาะกิจ จำนวน 5 แห่ง
  3. ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับจังหวัด จำนวน 3 แห่ง
  4. ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอ จำนวน 35 แห่ง
ตารางที่ 3 ศูนย์ควบคุมกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. และ 5 อำเภอ จ.สงขลา
ศูนย์ควบคุมกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต.และ 5 อำเภอ จ.สงขลา
ระดับควบคุม
หน่วย/ที่ตั้ง
รวม
(แห่ง)
ศูนย์ควบคุมระดับบูรณาการ
1. สำนักการข่าว กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า (ค่ายสิรินธร จ.ยะลา)
2. ศูนย์ปฏิบัติการณ์ตำรวจจังหวัดชายแดนภายใต้ (ศชต.)* (อ.เมือง จ.ยะลา)
3. นฝต.ขกท.สน.จชต. (อ.หนองจิก จ.ปัตตานี)
3
ศูนย์ควบคุมระดับหน่วยเฉพาะกิจ
ฉก.ปัตตานี
ค่ายจุฬาภรณ์
ฉก.นราธิวาส
ฉก.นย.ทร.
(ค่ายจุฬาภรณ์)
ฉก.ยะลา
ฉก.สงชลา
(อ.เทพา)
5

ศูนย์ควบคุมระดับจังหวัด
สภ.เมืองปัตตานี*
สภ.เมืองนราธิวาส*
สภ.เมืองยะลา
-
3
ศูนย์ควบคุมระดับอำเภอ
1.  สภ.หนองจิก
2.  สภ.โคกโพธิ์
3.  สภ.ยะรัง
4.  สภ.ยะหริ่ง
5.  สภ.ปะนาเระ
6.  สภ.สายบุรี
7.  สภ.มายอ
8.  สภ.ทุ่งยางแดง
9.  สภ.กะพ้อ
10.      สภ.แม่ลาน
11.      สภ.ไม้แก่น2
1. สภ.ยี่งอ
2. สภ.บาเจาะ
3. สภ.ตากใบ*
4. สภ.สุไหงโก-ลก*
5. สภ.สุไหงปาดี
6. สภ.เจาะไอร้อง
7. สภ.ศรีสาคร
8. สภ.จะแนะ
9. สภ.ระแงะ
10. สภ.รือเสาะ
11. สภ.แว้ง
12. สภ.สุคริน
1.  สภ.ยะหา
2.  สภ.กรงปินัง
3.  สภ.รามัน
4.  สภ.บันนังสตา
5.  สภ.ธารโต
6.  สภ. กาบัง
7.  สภ.เบตง*
1.  สภ.เทพา
2.  สภ.สะบ้าย้อย
3.  สภ.นาทวี
4.  สภ.จะนะ
5.  สภ.หาดใหญ่*
35
หมายเหตุ *เช่าระบบพร้อมเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ จาก บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม ส่วนศูนย์ควบคุม CCTVที่เหลือเป็นการจัดซื้อระบบและบริหารจัดการเอง


ภาพที่ 1 แผนการบูรณาการเชื่อมโยงสัญญาณศูนย์ควบคุม 46 ศูนย์ ในพื้นที่ จชต.
(ที่มา : ศูนย์ CCTV สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน . 2562. สไลด์ประกอบการบรรยาย)



ภาพที่ 2 ระบบโครงข่ายเชื่อมโยงศูนย์ควบคุม CCTV จำนวน 46 ศูนย์ ในพื้นที่ จชต.

(ที่มา : ศูนย์ CCTV สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน . 2562. สไลด์ประกอบการบรรยาย)


จากรายงานของคณะทำงานบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. เมื่อ 27 ธ.ค.2561 ระบุว่าจำนวนกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่อยู่ในระบบบูรณาการในพื้นที่ จชต. มีจำนวนทั้งสิ้น 6,665 กล้อง เป็นกล้อง IP จำนวน 6,483 กล้อง กล้อง LPR จำนวน 182 กล้ง รายละเอียดตามตาราง ที่ 4 และ 5

ตารางที่ 4 จำนวนกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่อยู่ในโครงการบูรณาการ ในพื้นที่ จชต.และ 5 อำเภอ จ.สงขลา

ลำดับ
หน่วยเจ้าของกล้อง
กล้อง IP
กล้อง LPR
รวม
ใช้ได้
ใช้ได้ร้อยละ
1
สป.มท.
3,568
-
3,568
3,328
93.27
2
ปค.มท.
96
-
96
96
100
3
ศอ.บต.
196
-
196
196
100
4
สถ.มท.
476
-
476
476
100
5
กกล.ตร.จชต.
1,940
90
2,030
2,030
100
6
กอ.รมน.ภาค 4 สน.
207
92
299
299
100


6,483
182
6,665
6,425
96.39
ที่มาข้อมูล  สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ณ วันที่ 21 มิ.ย.2562
คำย่อ :
สป.มท. (สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย)
ปค.มท.(กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
สถ.มท.(กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย)
ศอ.บต.(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
กกล.ตร.จชต. (กองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้)





ตารางที่ 5 จำนวนกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่อยู่ในโครงการบูรณาการ ในพื้นที่ จชต.และ 5 อำเภอ จ.สงขลา แยกรายจังหวัด

ลำดับ
หน่วยเจ้าของกล้อง
สงขลา
นราธิวาส
ปัตตานี
ยะลา
หมายเหตุ
ยอด
ใช้ได้
ยอด
ใช้ได้
ยอด
ใช้ได้
ยอด
ใช้ได้

1
สป.มท.
540
525
1,218
1098
1,081
1,026
729
682

2
ปค.มท.
-
-
80
80
-
-
16
16

3
ศอ.บต.
-
-
20
20
128
128
48
48

4
สถ.มท.
176
176
-
-
150
150
150
150

5
กกล.ตร.จชต.
389
389
1,239
1,239
151
151
251
251

6
กอ.รมน.ภาค 4 สน.
26
26
156
156
52
52
65
65

รวม
1,131
1,116
2,713
2,593
1,562
1,504
1,259
1,212

ร้อยละที่ใช้ได้
98.67
95.57
96.28
96.00

ที่มาข้อมูล  สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ณ วันที่ 21 มิ.ย.2562



ปัญหาข้อขัดข้องที่สำคัญ
คณะทำงานบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ได้สรุปปัญหาข้อขัดข้อง ไว้ดังนี้ (หนังสือคณะกรรมการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ที่ นร 5103/2187 ลง 27 ธ.ค.2561)

  1. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ของ สป.มท. มีการชำรุดเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเสื่อมสภาพ ใช้งานมาเป็นเวลานาน
  2. โครงการปรับปรุงและขยายถนนในพื้นที่ จชต. มีการรื้อสายไฟ ทำให้มีผลกระทบกับระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด รวมถึงในพื้นที่ จ.ยะลา มีโครงการเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิธีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในปัจจุบัน
  3. ระบบอ่านป้ายทะเบียน และวิเคราะห์ทะเบียนยานพาหนะ (ระบบ LPR) ที่ติดตั้งอยู่ประจำด่านตรวจทั้ง 23 ด่านตรวจ ปัจจุบันไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากเกิดปัญหาภายในเครือข่ายของ บริษัทฯ คู่สัญญา
ศูนย์ CCTV สขว.กอ.รมน. ภาค 4 สน. ได้สรุปปัญหาข้อขัดข้อง ดังนี้ (พฤษภาคม 2562) 
  1. ระบบบริหารจัดการและบันทึกภาพ (Video Management Software : VMS) ในศูนย์ย่อยให้กับศูนย์ระดับอำเภอและจังหวัด จำนวน 38 ศูนย์/1 ระบบ ซึ่งมี Server 14 ตัว จะต้องรองรับใช้งานกล้องได้ 5,000 กล้อง มีปัญหา/ข้อขัดข้อง ดังนี้ (ดูตารางที่ 6 ประกอบ)
    • การนำกล้องเข้าสู่ระบบ Server VMS จำนวน 5,000 กล้อง ยังไม่ครบตามจำนวน ปัจจุบันนำเข้าระบบได้ จำนวน 4,519 กล้อง คงเหลือยอดกล้องที่ต้องนำเข้า จำนวน 481 กล้อง เนื่องจาก บจก.กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น ผู้รับจ้าง ยังดำเนินการให้ไม่ครบ
    • การดูภาพจากกล้องในระบบ Server VMS จำนวน 5,000 กล้อง ยังดูได้ไม่ครบตามจำนวน ปัจจุบันสามารถดูภาพได้ จำนวน 1,824 กล้อง ไม่สามารถดูภาพได้ จำนวน 3,176 กล้อง เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค
    • การบันทึกภาพจากกล้องได้ในระบบ Server VMS จำนวน 5,000 กล้อง ปัจจุบันสามารถบันทึกภาพได้จำนวน 296 กล้อง เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค 
  2. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ของ สป.มท.บางตัวเป็นกล้องรุ่นเก่าแบบส่งสัญญาณภาพได้ 1 สตรีม สามารถบันทึกภาพได้ในระบบบันทึกของหน่วยงานเจ้าของกล้องเพียง 1 ระบบ 
  3. Server VMS ของระบบบูรณาการที่ติดตั้งในบางพื้นที่ มีจำนวนลิขสิทธิ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนกล้องที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ 
  4. ระบบ Server VMS ที่ออกแบบ จำนวน 1 Server จะต้องบริหารจัดการกล้องหลายอำเภอ ทำให้การเชื่อมโยงสัญญาณเพื่อนำภาพจากกล้องในแต่ละอำเภอมาบันทึกที่ Server VMS ทำให้มีผลกระทบต่อ Bandwidth ที่ไม่เพียงพอ
  5. การเชื่อมโยงภาพจากกล้อง สป.มท. เพื่อนำมาบันทึกลงใน Server VMS มีผลกระทบทำให้กล้องบางตัวของ สป.มท.มีภาพเป็นจอดำ 
  6. ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับหน่วยเฉพาะกิจจังหวัด ไม่สามารถดูภาพจากกล้อง Server VMS ได้ครบทุกอำเภอในพื้นที่รับผิดชอบ 
  7. ระบบอ่านป้ายทะเบียนรถ บริเวณด่านตรวจความมั่นคง 23 ด่าน การอ่านค่าตรวจจับภาพป้ายทะเบียนรถ ไม่แม่นยำ และขีดจำกัดของกล้องอ่านป้ายทะเบียนและการประมวลผลจากโปรแกรมอ่านป้ายทะเบียน ขึ้นอยู่กับความเร็วรถ และมุมกล้อง
  8. ระบบบริหารงานส่วนกลาง และระบบวิเคราะห์ทะเบียนรถ เกี่ยวกับการแจ้งเตือนรถเฝ้าระวังมีความล่าช้า 
  9. โปรแกรมอ่านป้ายทะเบียนรถ ระบบบริหารงานส่วนกลาง และระบบวิเคราะห์ทะเบียนรถเป็นโปรแกรมเก่าและล้าสมัย 

ตารางที่ 6 สรุปรายละเอียด Server VMS
สิทธิ์การนำเข้าระบบ
นำเข้าระบบได้
คงเหลือการนำเข้า
ดูภาพได้
ดูภาพไม่ได้
บันทึกภาพได้
ไม่บันทึกภาพ
5,000
4,519
481
1,824
3,176
296
4,704


ผลการตรวจโครงการเช่ากล้องและระบบโครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัย ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตเมือง จำนวน 2 ระยะ ซึ่ง บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม เป็นผู้ให้เช่า ของ พล.ท.ณัฎฐสิทธิ์ ละแมนชัย ที่ปรึกษา สง.เลขาธิการ กอ.รมน.และคณะ เมื่อ 21-23 พ.ค.2562 มีข้อพิจารณาที่สำคัญ ดังนี้
  1. ขาดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุม CCTV ที่ตั้งอยู่ตาม สภ.ต่างๆ ที่ใช้ระบบเช่า เป็นเจ้าหน้าที่ที่ บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม เป็นผู้จ้าง (ตามสัญญาเช่า) ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปร่วมปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุม CCTV ด้วย เวลามีเหตุการณ์ต้องเฝ้าระวัง หรือต้องการข้อมูลใดๆ จากกล้อง CCTV ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เท่านั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง เพราะขาดความสามารถทางด้านการใช้เทคโนโลยี
  2. ขาดการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเฝ้าระวัง ปัจจุบันการบริหารจัดการในศูนย์ควบคุม CCTV ในแต่ละศูนย์ฯ เป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่า ซึ่งต้องจัดเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติประจำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อปฏิบัติงาน เฝ้าระวัง เก็บข้อมูล และจัดส่งข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อได้รับการร้องขอ เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ที่ส่งมาประจำ ไม่มีความสามารถที่จะวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ข้อมูลที่ควรเป็น "เบาะแส" เพื่อการป้องกันได้ ส่วนใหญ่ข้อมูลที่ใช้จะใช้เพื่อ "การแกะรอย" หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว 
  3. การลบข้อมูล ปัจจุบันข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกเป็นภาพนิ่งหรือวิดีโอจากกล้องวงจรปิด จะถูกเก็บเอาไว้ในคลังข้อมูลเวลา 30 วัน หากไม่มีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น ข้อมูลก็จะถูกลบทิ้งไปโดยอัตโนมัติ แต่หากข้อมูลใดมีความจำเป็นก็จะสามารถบันทึกเก็บไว้ได้โดยไม่สูญหาย แต่ปัจจุบัน พบว่าไม่มีใครที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า "ข้อมูลใดควรเก็บไว้ หรือข้อมูลใดสามารถลบทิ้งได้" เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ จึงปล่อยให้ข้อมูลลบทิ้งโดยอัตโนมัติ 
  4. ไม่สามารถอ่านป้ายทะเบียนรถจักรยายนต์ (จยย.) ได้ ปัจจุบันที่จุดตรวจ 60 จุด ใน 6 เมืองหลัก มีการติดตั้ง กล้องสำหรับอ่านป้ายทะเบียนและกล้องอินฟาเรด ซึ่งสามารถอ่านเลขทะเบียนยานพาหนะได้ทั้งกลางวันและกลางคืน และสามารถบันทึกหมายเลขทะเบียนอัตโนมัติเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ทันที แต่ปรากฏว่าไม่สามารถอ่านป้ายทะเบียน รถ จยย. ได้ เหตุเพราะป้ายทะเบียน รถ จยย. จะอยู่ด้านหลังรถ กล้องจึงไม่สามารถอ่านได้
คณะกรรมการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ได้ติดตามการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในพื้นที่ จชต. ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค.2562 สรุปปัญหาข้อขัดข้อง ดังนี้ (หนังสือคณะกรรมการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ที่ นร 5103/847 ลง 21 มิ.ย.2562) 
  1. การตรวจจับทะเบียนรถของโปรแกรม LPR ยังไม่มีประสิทธิภาพ
  2. การเชื่อมโยงระบบผ่านระบบ IP-Link มีสัญญาณเสียบ่อย เนื่องจากระบบมีความเปราะบางในเรื่องสัญญาณ 
  3. การเชื่อมโยงด้วย ระบบ GIN พบปัญหาเรื่อง ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Band width) ไม่เพียงพอ 
  4. กล้องของ สป.มท., สถ.มท., ปค.มท. และ กอ.รมน.ภาค 4 สน. เมื่อเสียบสายสัญญาณ บูรณาการทำให้กล้องดับ ต้องสลับปลั๊กกันใช้งาน ไม่สามารถดูได้พร้อมกัน 
  5. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุม CCTV ไม่พอ และต้องทำงานอีกหลายหน้าที่ 
  6. เมื่อมีฝนตกหนัก ฝนฟ้าคะนอง ทำให้ระบบสายเคเบิ้ลใยแก้วขัดข้อง ไม่สามารถดูภาพจากกล้องได้ 
  7. เจ้าหน้าที่จากหน่วยวางสายเคเบิลของบริษัทฯ เอกชนที่ประกอบธุรกิจในพื้นที่ มักทำให้กล้อง CCTV หันคลาดเคลื่อนจากมุมมองที่กำหนดไว้ 
  8. การดำเนินการจ้างซ่อมกล้องและระบบ ใช้เวลานาน ทำให้ไม่สามารถใช้ภาพจากกล้อง CCTV บางส่วนได้ 
  9. ขอติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพิ่มเติมในบางจุดที่ล่อแหลม
ในแผนแม่บทระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. พ.ศ.2561-2565 (2562 : 21) ได้กล่าวถึงจุดอ่อนของระบบ CCTV ไว้ว่า
  1. ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต.มีจำนวนมาก จากหลายโครงการและหลายหน่วยงาน แต่มีสภาพล้าสมัย ติดตั้งมานานเกิน 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 70 ของกล้องทั้งหมด
  2. จุดติดตั้งกล้อง CCTV ส่วนใหญ่ติดตั้งในเขตชุมชนเมือง ไม่ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวัง ปมคานาคมหลัก รอง และเส้นทางเข้าออกระหว่างอำเภอ 
  3. ขาดเทคโนโลยีการเฝ้าตรวจ แจ้งเตือน สืบสวน ติดตาม ที่ทันสมัย 
  4. ขาดบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน รวมทั้งการสับเปลี่ยนกำลังและภารกิจมีผลต่อการปฏิบัติงาน
  5. ขาดฐานข้อมูล เช่น บุคคล ยานพาหนะ ระบบติดต่อสื่อสาร จากหน่วยงานอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการใช้งานระบบ CCTV

แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) 
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

การใช้งานกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. มีมาตรการใช้งาน 2 แบบ คือ (สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน.2562)
  1. การใช้งานเชิงรุก ใช้เพื่อการเฝ้าระวังและแจ้งเตือน (ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ) การดำเนินการด้านกล้องวงจรปิดในมาตรการเชิงรุก มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลด้านการข่าวต่างๆ สำหรับนำมาจัดทำฐานข้อมูล เพื่อป้องกัน แจ้งเตือน และใช้ประโยชน์ในการติดตามความเคลื่อนไหวตามภาพข่าวและแนวโน้มสถานการณ์
  2. การใช้งานเชิงรับ ใช้เพื่อสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อสนับสนุนการสืบค้นเพื่อหาตัวคนร้าย และเป็นหลักฐานในการดำเนินคดี รวมทั้งใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูล/สถิติ สนับสนุนงานด้านการข่าว
แนวทางการบูรณาการกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. (2562) ได้เสนอแนวทางในการบูรณาการการใช้งานกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไว้ดังนี้
  1. จัดตั้งงบประมาณสนับสนุนการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในพื้นที่สาธารณะเพิ่มเติม
  2. ให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะในการใช้เทคโนโลยี การสังเกตเหตุการณ์ผิดปกติ บุคคลต้องสงสัย โดยควบคุมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
  3. นำเทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติงานด้านการสืบค้น การติดตาม และการวิเคราะห์
  4. การจัดทำข้อมูลสถิติเปรียบเทียบการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ที่มีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) 
  5. การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่เพิ่มเติม เช่น ตามแนวชายแดน ปมคมนาคมเส้นทางรอยต่อระหว่างอำเภอ หมู่บ้านที่เฝ้าระวัง 
  6. พัฒนาบุคลากรประจำศูนย์ CCTV ให้สามารถใช้งานกล้องอย่างมีประสิทธิภาพ
  7. ให้มีบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมาปฏิบัติงาน เช่น ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย 
  8. จัดให้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ แล้วนำมาถ่ายทอดความรู้ให้กับกำลังพลในหน่วย
  9. จัดให้มีการสัมมนาระดมแนวความคิดในการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จากข้อมูลต่างๆ ที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น คณะผู้จัดทำได้นำมาเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และได้สังเคราะห์ออกมาเป็นแนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังแสดงไว้ในภาพที่ 3 

ภาพที่ 3 แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) 
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้มีประสิทธิภาพ (Smart CCTV) จำเป็นต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าต้องการอย่างไร ไม่ควรเขียนกว้างจนเกินไป เพื่อการออกแบบระบบจะได้เป็นไปแบบเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งวัตถุประสงค์สำหรับการพัฒนาและบูรณาการระบบ CCTV ในพื้นที่ จชต. ที่น่าจะเป็น ได้แก่

  1. เพื่อป้องกันการก่อการร้าย
  2. เพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรม
  3. เพื่อรักษาความปลอดภัยของชีวิต ทรัพย์สิน และสถานที่
  4. เพื่อจัดระเบียบสังคมและสร้างความสงบของเมือง

หลังจากที่กำหนดวัตถุประสงค์ชัดเจนแล้ว วิศวกรผู้ออกแบบระบบ CCTV จะได้วางแผนได้อย่างถูกต้อง  

องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป็น Smart CCTV ได้แก่ 
  1. การออกแบบระบบ CCTV /เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ควรออกแบบระบบ CCTV เต็มทั้งระบบโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ และนำมาใช้เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาและบูรณาการระบบ CCTV ต่อไป ส่วนเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ เช่น ตัวกล้อง โปรแกรมบริหารจัดการภาพ และระบบการเชื่อมโยงระหว่างกล้องต่อกล้อง สายเคเบิลที่ใช้ ควรมีมาตรฐานสากล และมีคุณสมบัติสามารถใช้งานได้ตามที่วิศวกรได้ออกแบบระบบไว้
  2. การใช้ระเบียบและเทคนิควิธีการบริหารจัดการที่ฉลาด (Smart manager) มาช่วย เพื่อลดภาระงานและความผิดพลาดของคน เช่น ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) โปรแกรมบริหารจัดการศูนย์ควบคุม CCTV โปรแกรมวิเคราะห์ระบบและจัดการภาพในลักษณะต่างๆ เป็นต้น
  3. นำหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาช่วยวางแผน องค์ประกอบข้อนี้ถือเป็นพื้นฐานความรู้หลักที่จะนำมาเสริมให้ระบบ CCTV มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ เช่น การกำหนดจุดติดตั้งกล้อง CCTV โดยใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรมมาจับ ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล ทฤษฎีกิจวัตรประจำวัน การวิเคราะห์จุดเสี่ยง (Hot Spot) เพื่อหาจุดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ การป้องกันอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นต้น
ข้อเสนอแนะการพัฒนาและการบูรณการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. 
ในคราวประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 2/2558 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)/ประธาน คปต. ได้สั่งการให้ กอ.รมน. เป็นเจ้าภาพดำเนินการจัดหากล้องโทรทัศน์วงจรปิดของทุกหน่วยงานที่จะติดตั้งใหม่ในพื้นที่ จชต. เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงระบบกันได้ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำกับดูแลการซ่อมบำรุงให้ใช้การได้อยู่เสมอ

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2559 ที่ประชุม คปต. ครั้งที่ 1/2559 มีมติเห็นชอบ
  1. ร่างแผนแม่บทการบูรณาการกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในพื้นที่ จชต. ตามที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. เสนอ (มุ่งจัดตั้งศูนย์ควบคุม 46 ศูนย์ และเชื่อมโยงระบบเครือข่ายข้อมูลและการสื่อสาร) 
  2. โครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ในพื้นที่ จชต. รวม 3 ระยะ 
  3. โครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัยในเขตเมือง ระยะที่ 2 ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตพื้นที่ 6 เมืองหลัก ประกอบด้วย อ.เบตง อ.เมืองปัตตานี อ.เมืองนราธิวาส อ.สุไหงโก-ลก อ.ตากใบ อ.หาดใหญ่
ความพยายามที่จะบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้มีประสิทธิภาพ มีมาตั้งแต่ พ.ศ.2558 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ.2562 มีจำนวนกล้องที่ต้องนำเข้าระบบบูรณาการถึง 6,665 กล้อง ซึ่งเป็นของหลายหน่วยงาน หลายยี่ห้อ หลายอายุการใช้งาน เข้าด้วยกัน โดยพยายามจัดตั้งศูนย์ควบคุม CCTV เป็นส่วนรวมในหลายระดับ แต่ ณ ปัจจุบัน ยังคงเกิดปัญหาขึ้นหลายประการตามที่ คณะกรรมการฯ และหน่วยงานต่างๆ ได้สรุปไว้ข้างต้น

จากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. คณะผู้จัดทำ จึงข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ตามแนวคิด Smart CCTV ดังนี้ 

องค์ประกอบที่ 1 การออกแบบระบบ CCTV /เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้
โครงการติดตั้งระบบ CCTV ในพื้นที่ จชต. ไม่ได้มีการออกแบบระบบโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อเป็นแผนแม่บทในการพัฒนา โครงการติดตั้งและใช้งานระบบ CCTV ในพื้นที่ จชต. จึงไม่มีกรอบและแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจน ทั้งระบบการแจ้งเตือน ระบบการแสดงภาพ และระบบการบันทึก เป็นเพียงแต่การเขียนขอบเขตของงาน (TOR) ขึ้นตามสถานการณ์และความต้องการอย่างไม่มีระบบและขาดกระบวนการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน บริษัทฯ ที่ชนะการประมูลรับจ้างติดตั้งและวางระบบ ไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้าน CCTV ที่แท้จริง ไม่มีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาทำหน้าที่กำกับดูแลและควบคุมการวางระบบ เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน บริษัทฯ ผู้รับจ้างเกิดการทิ้งงานและไม่สามารถส่งมอบงานทันตามที่กำหนดเวลาถึง 2 ครั้ง ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการระบบมาจนถึงปัจจุบัน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเรื่องระบบ/เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้
  1. ระบบเครือข่ายที่เหมาะสมต่อการใช้งานและสภาพพื้นที่จริง ควรใช้สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นหลัก โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกล้องต่างๆ ในพื้นที่อำเภอ และการส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอ เพราะสายใยแก้วนำแสง ไม่มีข้อจำกัดในเรื่อง Bandwidth (ความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต)
  2. หากใช้สายใยแก้วนำแสงเป็นเครือข่ายเชื่อมโยง ตามข้อ 1 แล้ว การบันทึกภาพจากกล้องควรบันทึกที่ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอ เท่านั้นก็พอ โดยรับสัญญาณจากกล้องและระบบ LPR ในพื้นที่ที่รับผิดชอบทั้งหมด ส่วนกรณีใช้เครือข่ายไร้สาย ควรเลือกใช้ในกรณีจำเป็นหรือกล้อง CCTV แบบเคลื่อนที่เป็นหลัก
  3. เนื่องจาก Bandwidth ในเครือข่าย GIN มีจำนวนจำกัด จึงควรใช้เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงจาก ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอ-ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับหน่วยเฉพาะกิจ-ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับจังหวัด-ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับบูรณาการ เท่านั้น
  4. ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับบูรณาการ 3 ศูนย์, ศูนย์ควมคุม CCTV ระดับหน่วยเฉพาะกิจ 5 ศูนย์ และศูนย์ควบคุม CCTV ระดับจังหวัด 3 ศูนย์ ต้องมีการออกแบบการแสดงภาพที่ชัดเจน เพื่อสามารถคำนวณหาขนาด Bandwidth ของระบบ GIN ที่เหมาะสม เพราะขนาดของ Bandwidth ของระบบ GIN ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
  5. ในศูนย์ควบคุม CCTV แบบบูรณาการ ไม่จำเป็นต้องมีระบบบันทึกภาพของศูนย์ฯ เอง หากจะดูภาพสดหรือย้อนหลัง สามารถจากเรียกดูได้จาก ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอได้ แบบ On Demand แต่ต้องกำหนด Bandwidth ของระบบ GIN ที่ชัดเจน ซึ่งจะเป็นการประหยัดงบประมาณ ไม่ต้องซื้อเครื่องบันทึกภาพซ้ำซ้อน และจะประหยัดช่องสัญญาณของระบบ GIN เพราะไม่ต้องให้กล้องทุกตัวที่อยู่ในระบบบูรณาการส่งสัญญาณเข้ามาที่ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับบูรณาการ จะใช้ Bandwidth ของระบบ GIN สำหรับภาพที่ต้องการเรียกดูเท่านั้น 
  6. กำหนดมาตรฐานกลางของกล้อง CCTV ที่ใช้ในพื้นที่ที่บูรณาการ ไม่ว่ากล้อง CCTV จะมาจากโครงการของใครหรือหน่วยงานใด ควรเป็นกล้องที่อ้างอิงตามประกาศของกระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเรื่อง เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานของระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ฉบับเดือนตุลาคม 2561 ซึ่งหากเป็นไปตามมาตรฐานนี้ จะสามารถรองรับการบูรณาการเข้าสู่ระบบได้
  7. อุปกรณ์บันทึกภาพ ควรใช้อุปกรณ์บันทึกภาพที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีมาตรฐาน และเคยใช้งานจริงได้เป็นอย่างดีในประเทศไทย เช่น BOSCH, Honeywell, Qognity เป็นต้น อุปกรณ์บันทึกภาพเหล่านี้จะสามารถรองรับการบูรณาการร่วมได้เต็มประสิทธิภาพ หากใช้อุปกรณ์บันทึกภาพที่มีคุณภาพต่ำ และไม่มีมาตรฐาน จะมีปัญหาในการบูรณาการ
  8. โปรแกรมบูรณาการในพื้นที่ จชต. ควรใช้โปรแกรมเดียวกันในการบูรณาการ โดยคัดเลือกโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพใช้งานได้จริง (ปัจจุบันมี 2 ยี่ห้อ คือ Verint (โดย บจก.กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น ) และ Qognify (โดย บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม)) 
  9. จ้าง บจก.ที่ปรึกษา ดำเนินการออกแบบระบบและควบคุมโครงการฯ 
องค์ประกอบที่ 2 การใช้ระเบียบและเทคนิควิธีการบริหารจัดการที่ฉลาด (Smart manager) มาช่วย
การบริหารจัดการระบบ CCTV ถือเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำขั้นตอนการดำเนินงาน แนวทางการปฏิบัติในการเฝ้าระวัง และแนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ การบริหารงานระบบการแจ้งเตือน ระบบการแสดงภาพ ระบบการบันทึกภาพ การดูแลบำรุงรักษา และข้อควรระวังด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และระบบบริหารจัดการที่มีความสำคัญที่สุด คือ การบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล เนื่องจากเจ้าหน้าที่ในศูนย์ควบคุม CCTV ระดับต่างๆ มีจำนวนจำกัด มีภาระงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายหลายหน้าที่ ประกอบกับมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังเป็นประจำทุกปี เจ้าหน้าที่คนเก่าไม่มีโอกาสถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้แก่เจ้าหน้าที่คนใหม่ ส่งผลให้การปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุม CCTV ไม่มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวจึงจำเป็นต้องนำระเบียบและเทคนิควิธีการบริหารจัดการที่ฉลาด (Smart Manager) มาช่วยเหลือ ผู้จัดทำฯ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 

ข้อเสนอแนะในการใช้ระเบียบและเทคนิควิธีการบริหารจัดการที่ฉลาด
  1. พิจารณาคัดเลือกและนำระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องมาใช้ เช่น ระบบบริหารจัดการด้านการจับป้ายทะเบียน ระบบบริหารจัดการด้านจับความเร็ว ระบบบริหารจัดการด้านจราจรอัจฉริยะ ระบบบริหารจัดการด้านขนส่ง 
  2. นำระเบียบวิธีการจัดข้อมูลภาพต่างๆ มาประยุกต์ใช้งาน เช่น ระเบียบวิธีการวิเคราะห์ภาพเคลื่อนไหวของวัตถุ (Object Motion Detection) การวิเคราะห์คุณภาพของภาพใบหน้าสำหรับการค้นหาเฟรมภาพสำคัญ (Key Frame from Video Sequence Using a Face Quality) การตรวจจับหาป้ายทะเบียน (License Plate Detection) การตรวจสอบภาพใต้ท้องรถ (Under Vehicle Scanner) ระบบเฝ้าระวังด้วยกล้องวิดีโอวงจรปิด (A Generic Visual Surveillance) เป็นต้น
  3. หาก กอ.รมน.มีแผนการสร้างระบบ Cloud หรือ Big Data ควรพิจารณาใช้ โปรแกรมประเภทปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence : AI) ที่เกี่ยวข้องมาใช้
  4. ออกแบบโปรแกรมการบริหารจัดการศูนย์ควบคุม CCTV มาใช้บริหาร เพื่อลดจำนวนเจ้าหน้าที่ที่มีค่อนข้างจำกัด
  5. จัดให้มีการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ภายในศูนย์ควบคุม CCTV ในทุกระดับ เพื่อแก้ไขการสับเปลี่ยนกำลังเจ้าหน้าที่ประจำปี ซึ่งหากมีการจัดการความรู้ที่ดี เจ้าหน้าที่ที่มาใหม่จะสามารถปฏิบัติงานได้เร็วขึ้น 
องค์ประกอบที่ 3 การนำหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาช่วยวางแผน
องค์ประกอบข้อนี้ถือเป็นพื้นฐานหลักที่จะนำมาเสริมให้ระบบ CCTV มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ เช่น การกำหนดจุดติดตั้งกล้อง CCTV โดยใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรมมาจับ ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล ทฤษฎีกิจวัตรประจำวัน การวิเคราะห์จุดเสี่ยง (Hot Spot) เพื่อหาจุดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ การป้องกันอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นต้น

ปัจจุบัน โครงการบูรณากล้อง CCTV ในพื้นที่ จชต. มีแผนที่จะบูรณาการกล้องถึง 6,665 กล้อง ซึ่งอาจไม่มีความจำเป็น สิ้นเปลืองทรัพยากรของระบบ และไม่ประหยัดงบประมาณ เพราะตำแหน่งที่ติดตั้งกล้อง CCTV บางตัวไม่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่ตั้งไว้ 

ข้อเสนอแนะในการนำหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาช่วยวางแผน
  1. การลด-ย้าย-เพิ่ม จำนวนกล้อง CCTV ที่จะบูรณาการ แนวคิดทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้ตัดสินใจว่า กล้องจำนวน 6,665 กล้องที่มีอยู่แล้ว จะเลือกกล้องใดบ้างเข้าสู่ระบบบูรณาการ กล้องใดไม่ต้องนำเข้าระบบบูรณาการ กล้องใดควรย้ายตำแหน่ง และจุดเสี่ยงใดที่จะต้องติดตั้งกล้องเพิ่มเติม ได้แก่ ทฤษฎีการป้องกันอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อม ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล (Ration Choice) ทฤษฎีกิจวัตรประจำวัน ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม และวิธีการวิเคราะห์จุดเสี่ยง (Hot Spot) (กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล 1. 2555)
  2. การเลือกภาพที่จะแสดงในศูนย์ควบคุม CCTV ในแต่ละระดับว่าจะต้องแสดงภาพกี่ภาพ ที่เป็นจุดเสี่ยงและต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ สามารถใช้แนวคิดและทฤษฎีตามข้อ 1 ที่กล่าวมาแล้วได้
การซื้อระบบและเช่าระบบ
ปัจจุบัน การดำเนินการโครงการระบบ CCTV ในพื้นที่ จชต. มี 2 ลักษณะ คือ

การซื้อระบบและบริหารจัดการเอง การดำเนินการในลักษณะนี้ คือ การเขียนโครงการเพื่อของบประมาณ จัดทำขอบเขตของงาน ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ได้บริษัทฯ ผู้รับจ้าง ดำเนินการติดตั้งและวางระบบ ส่งมอบงาน ระยะเวลารับประกัน 1 ปี การดำเนินการในลักษณะ นี้ พบปัญหา ดังนี้
  • หลังจากหมดระยะประกัน อุปกรณ์ต่างๆ จะเริ่มชำรุด
  • สินทรัพย์ในโครงการเป็นของทางราชการ เป็นภาระในการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง 
  • การซ่อมบำรุงระบบ ล่าช้า ไม่ทันเวลา ไม่มีงบประมาณในการซ่อม
  • ขาดการดูแลบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอ ระบบไม่พร้อมใช้งานตลอดเวลา 
  • ไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุม CCTV เพียงพอ
  • การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่โปร่งใส ทำให้ได้ บริษัทฯ ผู้รับจ้าง ที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้าน CCTV นำอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้ในระบบ ระบบที่ติดตั้งแล้วไม่สามารถใช้งานได้จริงหรือไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อหมดระยะเวลาประกันก็ไม่มาดำเนินการแก้ไข
การเช่าระบบจากเอกชน (Outsource) การดำเนินการลักษณะนี้ ทางราชการไม่ต้องลงทุน เพียงแต่ตกลงจ่ายค่าเช่าเป็นรายปี ตามขอบเขตของงาน (TOR) ที่จัดทำขึ้น บริษัทฯ ที่ให้เช่า จะเป็นผู้ดำเนินการหมด ตั้งแต่การออกแบบระบบ การลงทุนซื้ออุปกรณ์ การติดตั้งและวางระบบ การดูแลบำรุงรักษา การบริหารจัดการระบบ การจัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุม ทางราชการแค่รับผลที่ออกมา (Output) แล้วนำไปใช้งานตามที่ต้องการ 

ปัจจุบัน โครงการระบบ CCTV ที่เช่าอยู่ คือ โครงการเช่ากล้องและระบบโครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัย ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตเมือง ระยะที่ 2 คือ การเช่ากล้องและระบบ จำนวน 1,835 กล้อง พร้อมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์ควบคุมฯ จาก บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม บริเวณ 6 เมืองหลัก ประกอบด้วย อ.เบตง จ.ยะลา อ.เมืองปัตตานี อ.เมือง อ.สุไหงโก-ลก อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ ศชต.อ.เมืองยะลา โดย กอ.รมน. เป็นผู้เช่า จ่ายค่าเช่าเดือนละ 10,169,151.60 บาท จำนวน 60 เดือน รวมค่าเช่า ทั้งหมด 610,149,096 บาท สัญญาเช่าตั้งแต่ พ.ศ.2561-2565

ซึ่งการเช่าระบบจากเอกชน จะแก้ไขปัญหาการซื้อระบบและบริหารจัดการเอง ตามข้อ 1 ได้ทั้งหมด อีกทั้งทางราชการไม่ต้องเสียเงินงบประมาณครั้งละมากๆ เพื่อโครงการ ตลอดเวลาการเช่าระบบ บริษัทฯ ที่ให้เช่า ย่อมใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง ได้มาตรฐาน เพราะหากไม่สามารถทำตามเงื่อนไขตามที่ทางราชการ กำหนด จะต้องเสียค่าปรับตามที่กำหนดไว้ใน TOR ต่อไป 

บทสรุป
บทความทางวิชาการ เรื่อง แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นี้ คณะผู้จัดทำ มีความประสงค์เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลให้ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้พิจารณาทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาว่า มีข้อบกพร่องที่ใดบ้าง และจะเดินหน้าพัฒนาต่อไปอย่างไร เงินงบประมาณแผ่นดินจำนวนมากกว่า 2,000 ล้าน ที่ได้ทุ่มเทลงไปตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลากว่า 15 ปี ทำไมถึงไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 

หากมีการดำเนินการพัฒนา และบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต.สู่ความเป็น Smart CCTV ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยใช้งบประมาณให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ควรมีหลักในการพิจารณา ดังนี้
  1. จ้างบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและได้การรับรองจากทางราชการ ออกแบบระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเต็มรูปแบบ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วเป็นพื้นฐานในการออกแบบ ตามแนวคิด Smart CCTV ที่กล่าวมาแล้ว เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการเขียน TOR ระยะต่างๆ 
  2. ทยอยเปลี่ยนจาก "การซื้อระบบและบริหารจัดการเอง" เป็นการ "เช่าระบบจากเอกชน" แทน เพื่อตัดปัญหาด้านเจ้าหน้าที่ควบคุม CCTV การดูแลบำรุงรักษาระบบ และประสิทธิภาพของการใช้งาน ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณของแผ่นดินที่ต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการซื้อระบบ และไม่เป็นภาระของทางราชการ
*******************************
ที่ปรึกษาและนักวิชาการประจำสำนักงานเลขาธิการ กอ.รมน.
คณะผู้จัดทำ
19 กรกฎาคม 2562

อ้างอิง
  • คณะกรรมการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. รายงานผลการปฏิบัติงานของ
  • คณะทำงานบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ที่ นร 5103/2187 ลงวันที่ 27 ธ.ค.2561
  • ศูนย์ CCTV สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ปัญหาข้อขัดข้องและแนวทางการแก้ไขระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในโครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต.ระยะที่ 1-3. ที่ นร 5119.1.7 (สขว.)/xxxxx ลงวันที่ xx พ.ค.2562 
  • สง.เลขาธิการ กอ.รมน. สรุปผลการตรวจโครงการพลังงานทดแทนและกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV). ที่ นร.5100.3/338 ลงวันที่ 28 พ.ค.2562
  • กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ประกาศเรื่อง เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานของระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ฉบับเดือนตุลาคม 2561. 26 ต.ค.2561.
  • กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล 1. (2555). การวิเคราะห์ระบบการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อลดช่องโอกาสในการก่ออาชญากรรมในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : กองวิจัย สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. 
  • ศูนย์ CCTV สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. (2562). การบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV) พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สไลด์ประกอบการบรรยาย.
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  • พรรณี สวนเพลง. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
  • กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล 1. (2555). การวิเคราะห์ระบบการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อลดช่องโอกาสในการก่ออาชญากรรมในเขตกรุงเทพมหานคร. สำนักงานยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
  • เชิดชัย ศรีโสภา. (2556). การพิจารณาใช้ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับงานรักษาความปลอดภัยองค์กรธุรกิจก่อสร้าง. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
  • ปัทมาวดี เปรทมกาศ. (2561). กล้องวงจรปิดเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเมืองพิษณุโลก.วิทยานิพนธ์ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร. 
  • นิคม สุวรรณวธ. (2550). การศึกษาเบื้องต้นการนำเทคโนโลยีทางด้านการประมวลผลภาพมาใช้ในระบบการรักษาความปลอดภัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์