หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายกฯ และ สท. เมืองราชบุรี เมื่อ 28 มี.ค.2564

การวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี ซึ่งมีการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค.2564 ที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองและกระแสของคนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีที่มีต่อการเมือง เปรียบเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 ก.ย.2553 รวมทั้งเป็นข้อมูลเพื่อช่วยกำหนดแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีต่อไป  (อ้างอิงจาก : ป้ายประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี : 30 มี.ค.2564)

นายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี พ.ศ.2564

จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามป้ายประกาศของเทศบาลเมืองราชบุรี ค่อนข้างมีความสับสน  ดังนี้
  • สรุปผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี แจ้งว่าผู้มีสิทธิทั้งหมด 26,136 คน
  • สรุปผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล แจ้งว่าผู้มีสิทธิทั้งหมด 26,087 คน
อภิปราย 
  • จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี ครั้งสุดท้ายเมื่อ 26 ก.ย.2553 มีจำนวน 26,900 คน จนกระทั่งถึงการเลือกตั้งในวันที่ 28 มี.ค.2564 นับเวลา 10 ปีเศษ เดิมคาดว่าผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-28 ปีซึ่งจะมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจึงน่าจะมีจำนวนมากขึ้น แต่กลับลดน้อยลง ถึง 700 กว่าคน แสดงว่า อัตราการตาย และอัตราการย้ายถิ่นฐาน มีมากกว่าอัตราการเจริญเติบโตของคนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี
  • จำนวนผู้มีสิทธิตามที่เทศบาลฯ รายงานมีความแตกต่างกัน ถึง 49 คน จึงก่อให้เกิดความสับสนว่า จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำไม? จึงไม่เท่ากัน ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว มันควรจะเท่ากัน เพราะที่มา คือ ตามทะเบียนบ้าน หากเป็นเช่นนี้ แสดงว่าบางคนมีสิทธิเลือกเฉพาะนายก และบางคนมีสิทธิเลือกเฉพาะ สท. ใช่หรือไม่
จำนวนผู้มีสิทธิและผู้มาใช้สิทธิ ควรจะเท่ากัน


จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามป้ายประกาศของเทศบาลเมืองราชบุรี ค่อนข้างมีความสับสน  เช่นกัน ดังนี้
  • จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี แจ้งว่ามา 18,177 คน (ร้อยละ 69.48)
  • จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง สท.ทั้ง 3 เขต รวมกันแล้วได้จำนวน 18,132 คน (ร้อยละ 69.50)
อภิปราย 
  • จำนวนผู้มาใช้สิทธิ แตกต่างกัน จำนวน 45 คน จึงทำให้มีความสับสน  หากนับจากจำนวนการลงทะเบียนด้วยลายมือชื่อในแต่ละหน่วยเลือกตั้งแล้ว (ไม่ได้นับมาจากบัตรเลือกตั้ง) จำนวนผู้มาใช้สิทธิทั้งนายกฯ และ สท.ควรจะมีจำนวนเท่ากัน 
  • เมื่อปี พ.ศ.2553 จำนวนผู้มาใช้สิทธิ จำนวน 18,894 คน (คิดเป็นร้อยละ 70.24) ซึ่งใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่าง
ตัวย่อในการรายงาน : 
ศม.= กลุ่มศมานันท์พัฒนา
ศช.= กลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา
สร. =เสรีรวมไทย
รมร.= กลุ่มรักษ์เมืองราชบุรี
อส.= ผู้สมัครอิสระ

ผลวิเคราะห์การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี
  • อันดับ 1 เบอร์ 3 นายศักดิ์ชัย พิศาลผล (ไก่ กังวาล)  (ศช.) จำนวน 8,623 คะแนน เป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี
  • อันดับ 2 เบอร์ 1 น.ส.วาสนา (โจ้) เหล่าวณิชวิศิษฎ (ศม.) จำนวน 6,981 คะแนน
  • อันดับ 3 เบอร์ 2 น.ส.นันท์กมล (เจี๊ยบ)  ประสงค์ไลเลิศกุล (สร.) จำนวน 1,011 คะแน
ผู้มีสิทธิออกเสียง 26,136  คน
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง  18,177 คน (คิดเป็นร้อยละ 69.48)
บัตรดี 16,615 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 91.41)
บัตรเสีย จำนวน 578 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 3.18)
ไม่เลือกหมายเลขใด  จำนวน 984 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 5.41)

อภิปราย
  • นายศักดิ์ชัย ฯ ได้รับคะแนนในเขตเลือกตั้งที่ 2 มากที่สุด รองลงมาคือ เขต 3 และเขต 1 ได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 8,623 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.56 จากผู้ที่มาใช้สิทธิ  (คะแนน ผู้ที่ได้ตำแหน่งนายกฯ เมื่อปี 2553 จำนวน 9,644 คะแนน) 
  • มีบัตรเสียจำนวน 578 ใบ เมื่อปี พ.ศ.2553 มีบัตรเสียจำนวน 1,013 ใบ แสดงว่าผู้มาใช้สิทธิ มีความเข้าใจมากขึ้น จำนวนบัตรเสียไม่ส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้งแต่อย่างใด
  • ไม่เลือกหมายเลขใด มีจำนวน 984 ใบ เมื่อปี พ.ศ.2553 มีจำนวน 931 ใบ เพิ่มขึ้น 53 ใบ แสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ อาจเป็นคนกลุ่มเดิม ที่เห็นว่าไม่มีใครที่มีความเหมาะสม
ผลวิเคราะห์การเลือกตั้ง สท.เมืองราชบุรี ทั้ง 3 เขต
เขต 1 (ผู้มาใช้สิทธิ 4,926 จาก 7,282)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 1,852 คะแนน (ร้อยละ 37.60 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 2,975)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนต่ำสุด  1,422 คะแนน (ร้อยละ 28.86 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 2,562)
  • คะแนนเฉลี่ยของ สท.เขต 1 ทั้ง 6 คน 1,653 คะแนน (ปี พ.ศ.2553 : 2,740.16)

เขต 2 (ผู้มาใช้สิทธิ 6,874 จาก 9,642)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 2,319 คะแนน (ร้อยละ 33.73 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 2,829)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนต่ำสุด  2,052 คะแนน (ร้อยละ 29.85 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 2,222)
  • คะแนนเฉลี่ยของ สท.เขต 2 ทั้ง 6 คน 2,162.83 คะแนน  (ปี พ.ศ.2553 : 2,522.83)

เขต 3 (ผู้มาใช้สิทธิ 6,332 จาก 9,166)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 2,950 คะแนน (ร้อยละ 46.58 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 3,209)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนต่ำสุด  1,742 คะแนน (ร้อยละ 27.51 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 2,299)
  • คะแนนเฉลี่ยของ สท.เขต 3 ทั้ง 6 คน 2,231.16 คะแนน (ปี พ.ศ.2553 : 2,819.66)

รวมทั้ง 3 เขต (ผู้มาใช้สิทธิ 18,132 จาก 26,090)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 2,950 คะแนน  (ปี พ.ศ.2553 : 3,209)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนต่ำสุด  1,422 คะแนน  (ปี พ.ศ.2553 : 2,222)
  • คะแนนเฉลี่ยของ สท.ทั้ง 3 เขต รวม 18 คน 2,015.67 คะแนน (ปี พ.ศ.2553 : 2,694.22)

อภิปราย  สท. ที่ได้รับเลือกตั้งครั้งนี้  มีคะแนนเฉลี่ยประมาณ 2,015.67 คะแนน ต่ำกว่าปี พ.ศ.2553 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย 2,694 คะแนน สาเหตุ เพราะ
  1. ปี พ.ศ.2553 ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต่างทุ่มคะแนนไปให้ ผู้สมัครกลุ่มศมานันท์พัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ทิ้งคู่แข่งสำคัญคือ กลุ่มหวงแหนถิ่นกำเนิด จำนวนคะแนนห่างกันเป็นจำนวนมาก
  2. แต่ในปี พ.ศ.2564 นี้ แม้ว่ากลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา จะเป็นฝ่ายชนะได้ สท.เสียงข้างมาก แต่คะแนนเฉลี่ยของ สท.ต่ำกว่าปี พ.ศ.2553 เพราะผู้มีสิทธิ์เลือกดั้งเดิมยังเทลงคะแนนให้ผู้สมัคร สท.กลุ่มศมานันท์พัฒนา เป็นจำนวนมากอยู่ โดยมีคะแนนทิ้งห่างกันเป็นจำนวนไม่มากนัก  
บัตรเสียเลือก สท.
เขต 1 บัตรเสีย  308 ใบ จาก 4,926 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.18 
เขต 2 บัตรเสีย  452 ใบ จาก 6,874 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.58
เขต 3 บัตรเสีย  381 ใบ จาก 6,332 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.02
รวมทั้ง 3 เขต บัตรเสีย 1,141 ใบ จาก 18,132 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.29 

อภิปราย จำนวนบัตรเสียในครั้งนี้ มีถึง 1,141 ใบ โดยเขต 2 มากที่สุด  และจำนวนบัตรเสียนี้ หากเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งวิเคราะห์ผิด อาจส่งผลกระทบต่อลำดับผลการเลือกตั้ง ผู้สมัคร สท.ในแต่ละเขตได้ เพราะคะแนนผู้สมัคร สท.แต่ละเขต ต่างกันไม่มากนัก เช่น
  • เขต 1  ผู้ได้ลำดับ 6 และผู้ได้ลำดับ 7 คะแนนต่างกันเพียง 68 คะแนน
  • เขต 2  ผู้ได้ลำดับ 6 และผู้ได้ลำดับ 7 คะแนนต่างกันเพียง 57 คะแนน
  • เขต 3  ผู้ได้ลำดับ 6 และผู้ได้ลำดับ 7 คะแนนต่างกันเพียง 5 คะแนน

ไม่เลือก สท.หมายเลขใด
เขต 1 ไม่เลือกหมายเลขใด 493 ใบ จาก 4,926 ใบ คิดเป็นร้อยละ 10.1 (ปี พ.ศ.2553 : 409)
เขต 2 ไม่เลือกหมายเลขใด 537 ใบ จาก 6,874 ใบ คิดเป็นร้อยละ 7.81 (ปี พ.ศ.2553 : 530)
เขต 3 ไม่เลือกหมายเลขใด  508 ใบ จาก 6,332 ใบ คิดเป็นร้อยละ 8.02 (ปี พ.ศ.2553 : 286)
รวมทั้ง 3 เขต ไม่เลือกหมายเลขใด 1,538 ใบ จาก 18,132 ใบ คิดเป็นร้อยละ 8.48 (ปี พ.ศ.2553 : 1,225)

อภิปราย ผู้มีสิทธิที่ประสงค์ไม่เลือก สท. หมายเลขใดเลย มียอดถึง 1,538 คิดเป็นร้อยละ 8.48  เพิ่มจากปี 2553 ถึง 313 คน ซึ่งคนกลุ่มนี้ ไม่น่าจะเรียกว่าเบื่อการเมือง เพราะเขามาใช้สิทธิ แต่อาจมองเห็นว่า ไม่มีตัวเลือกที่เหมาะสมในบรรดาเหล่าผู้สมัคร สท. ทั้งหลายในเขตของเขาเอง โดยคนกลุ่มนี้ อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 มากที่สุด ถึง 537 คน ในเขต 3 มีผู้ประสงค์ไม่เลือกหมายเลขใด ถึง 508 คน เพิ่มจากปี พ.ศ.2553 ถึง 222 คน



สรุป ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมื่อราชบุรี ในครั้งนี้ 
  • ฝ่ายบริหาร คือ นายศักดิ์ชัย พิศาลผล เป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี หน.กลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา
  • ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 18 คน ประกอบด้วย สท.กลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา จำนวน 14 คน และ กลุ่มศมานันท์พัฒนา จำนวน 4 คน 
การบริหารงานเทศบาลเมืองราชบุรีในอีก 4 ปีข้างหน้านี้ น่าจะเป็นไปอย่างมีเอกภาพและมีเสถียรภาพ  ขึ้นอยู่กับประชาชนคนเทศบาลฯ ต้องคอยติดตามนโยบายต่าง ๆ ที่ทางกลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา ได้หาเสียงไว้ ให้มีการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่าปล่อยให้เหตุการณ์ผิดพลาดอย่างในอดีตเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง  

ผลการเลือกตั้ง สท.เมืองราชบุรีทั้ง 3 เขต
สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 1
อันดับ 1 เบอร์ 4 น.ส.วชววรวรรธ  กิตติอุดม (อ้น) (ศช.) จำนวน 1,852 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 2 เบอร์ 5 นายโกมิน  อุดมสินต์  ประธานชุมชนคฑาธร 
(ศช.) จำนวน 1,824 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 3 เบอร์ 6 นายรัชฎ์อดิเทพ วิธูชุลี (ทนายเทพ) (ศช.) จำนวน 1,757 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 4 เบอร์ 9 นายธัญกร ลาภนิมตรชีย (ซัน/ร้านเคี้ยงเส็ง) (ศช.) จำนวน 1,613 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 5 เบอร์ 7 นางสุพรรษา  อ่องคำหาษ (เกด) เลขาประธานชุมชนเพชรเกษม  (ศช.) จำนวน 1,450 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 6 เบอร์ 8 นางสธิมา  โล่ห์อมรเวช (ดา) อสม.เทศบาลเมืองราชบุรี  (ศช.) จำนวน 1,422 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 7 เบอร์ 11 นางวิลาสินี  อิทธิโสภณพิศาล (จ๋า) อดีต สท.เทศบาลเมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,354 คะแนน
อันดับ 8 เบอร์ 10 นางวรรณวิมล แซ่ตั้ง (เจ๊กล้วย)  (ศม.) จำนวน 1,340 คะแนน
อันดับ 9 เบอร์ 12 น.ส.สุนทรี  เลิศสุวรรณ (น้องเล็ก) อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,323 คะแนน
อันดับ 10 เบอร์ 13 นายวัศพล ไกรสิงห์เดชา (สี่) ผจก.บจก.สี่เสียงราชบุรีมอเตอร์ (ศม.) จำนวน 1,285 คะแนน
อันดับ 11 เบอร์ 1 นายวิชัย  เจนนิติธรรม (เต่า) (รมร.) จำนวน 1,238 คะแนน
อันดับ 12 เบอร์ 15  ร.ต.ต.อุดมศักดิ์  ฝ้ายเครือ (ดาบดม) ประธานชุมชนร่วมใจ (ศม.) จำนวน 1,208 คะแนน
อันดับ 13 เบอร์ 14 นายชุติเดช ธาราโรจนดล (เสรี) ประธานชุมชนแม้นรำลึก (ศม.) จำนวน 1,168 คะแนน
อันดับ 14 เบอร์ 2 น.ส.พรรณเพ็ญ ชิ้นแสงชัย (ย้ย)  (รมร.) จำนวน 1.046  คะแนน
อันดับ 15 เบอร์ 16 น.ส.ยุวดี  นิติธารากุล (ส้ม) (รมร.) จำนวน 729 คะแนน

ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 7,282 คน
มาใช้สิทธิ์ 4,926 คน (คิดเป็นร้อยละ 67.65)
บัตรดี 4,125 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 83.74)
บัตรเสีย จำนวน 308 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 6.25)
ไม่เลือกหมายเลขใด จำนวน 493 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 10.01)

สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 2
อันดับ 1 เบอร์ 4 นางเนาวรัตน์  อยู่ภิรมย์  (ศช.) จำนวน 2,319 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 2
เบอร์ 5 น.ส.วิลัย เมฆพยับ (ต๋อย) รองประธาน อสม.เทศบาลเมือราชบุรี (ศช.)จำนวน 2,261 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 3 เบอร์ 7 นางกมลพร  เมฆพยับ (ตุ๋ย) รองประธานกลุ่มแม่บ้าน (ศช.) จำนวน 2,210 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 4 เบอร์ 6 นางนฤมน  เพชรนิติกร (มน) รองประธานชุมชนคนตลาด  (ศช.) จำนวน 2,069 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 5 เบอร์ 11 นายสมบัติ ทิพธามา อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 2,066 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 6 เบอร์ 10 อ.เสาวณิต นันท์ธนะวานิช อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 2,052 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 7 เบอร์ 1 นายณัฐพล  พิณประภัศร์ (เต้น) (รมร.) จำนวน 1,995 คะแนน
อันดับ 8 เบอร์ 12 นายไพฑูรย์  มลสวัสดิ์ (เฮียทุ้ย) (ศม.) จำนวน 1,978 คะแนน
อันดับ 9 เบอร์ 13 นายละออง จันทร์แม้น อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,956 คะแนน
อันดับ 10 เบอร์ 8 นายสุนทร ศิริสวัสดิ์ (ทร) อสม.เทศบาลเมืองราชบุรี (ศช.) จำนวน 1,940 คะแนน
อันดับ 11 เบอร์ 9 นายภาณุสิทธิ์  เทียนรุ่งโรจน์ (โอ๋) ที่ปรึกษาประธานชุมชนคนตลาด (ศช.) จำนวน 1,828 คะแนน
อันดับ 12 เบอร์ 3 นายขวัญชัย (ขวัญ) สว่างเกตุ (รมร.) จำนวน 1,819 คะแนน
อันดับ 13 เบอร์ 15 นายสถาพร นรสิงห์ (เดียร์) ประธานชุมชนชาวดิน  (ศม.) จำนวน 1,675 คะแนน
อันดับ 14 เบอร์ 2 นายบัณฑิต  สิริพุทธามาศ (เอก) (รมร.) จำนวน 1,633 คะแนน
อันดับ 15 เบอร์ 14 นายสุรเดช  สุนทระศานติก (เฮียหมู) อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,618 คะแนน
อันดับ 16 เบอร์ 16 นายอิทธิพล  พุทธอินทร์ (อส.) จำนวน 374 คะแนน

ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 9,642 คน
มาใช้สิทธิ์ 6,874 คน (คิดเป็นร้อยละ 71.29)
บัตรดี 5,885 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 85.61)
บัตรเสีย จำนวน 452 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 6.58)
ไม่เลือกหมายเลขใด จำนวน 537 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 7.81)

สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 3
อันดับ 1 เบอร์ 5 น.ส.รัตนา  ช้างพลายงาม (จุ๋ม) อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศช.)  จำนวน 2,950 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 2 เบอร์ 4 นายวิทยา เหล่างาม อดีต รองประธานสภา.เมืองราชบุรี (ศช.) จำนวน 2,408 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 3 เบอร์ 8 นายณัฐพงษ์ ลิปิกร (พงษ์) ร้านน้ำแข็งเอี้ยน่ำเฮง  (ศช.) จำนวน 2,286 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 4 เบอร์ 6 น.ส.อรทัย  คงคา (หมู)  ประธานกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองราชบุรี (ศช.) จำนวน 2,208 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 5 เบอร์ 10  ดร.ดุจตะวัน วิไลวงษ์ (ดร.อุ้ม) อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,793 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 6 เบอร์ 15  นายอุดม อังกุรกวิน (โกแหละ) อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,742 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 7 เบอร์ 7 น.ส.นิศา จารุพงศ์ปัทมา (พลอย) เลขาประธานชุมชนท้าวอู่ทอง (ศช.) จำนวน 1,737 คะแนน
อันดับ 8 เบอร์ 11 อ.คะนอง  ทรัพย์ประเสริฐ อดีตอ สท.เมืองท่าผา (ศม.) จำนวน 1,725 คะแนน
อันดับ 9 เบอร์ 9 นายบุญธรรม ประจำแถว (วัฒน์) อสม.เทศบาลเมืองราชบุรี (ศช.) จำนวน 1,626 คะแนน
อันดับ 10 เบอร์ 13  นายสมประสงค์  หนูไฉยา (นึก) อดีต พนง.กรุงไทย (ศม.) จำนวน 1,584 คะแนน
อันดับ 11 เบอร์ 12 นายรุ่งโรจน์ สอนคุณ (อ้อ) คณะกรรมการชุมชนไทยรามัญ (ศม.)  จำนวน 1,577 คะแนน
อันดับ 12 เบอร์ 1 นายจักรพงศ์ สว่างกุล (โจ้) (รมร.) จำนวน 1,554 คะแนน
อันดับ 13 เบอร์ 14 นายประพันธ์  ตัถยานันท์  (ทนายต่อย) (ศม.) จำนวน 1,404 คะแนน
อันดับ 14 เบอร์ 2  น.ส.กรกนก ฐานาพิชัยศักดิ์ (กวาง) (รมร.) จำนวน 1,319 คะแนน
อันดับ 15 เบอร์ 3 นางขวัญตา นาคนาคา (ตา) (รมร.) จำนวน 1,144 คะแนน

ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 9,166 คน
มาใช้สิทธิ์ 6,332 คน (คิดเป็นร้อยละ 69.08)
บัตรดี 5,443 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 85.96)
บัตรเสีย จำนวน 381 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 6.02)
ไม่เลือกหมายเลขใด  จำนวน 508  ใบ (คิดเป็นร้อยละ 8.02)

***********************************
จัดทำโดย
สถาบันราชบุรีศึกษา 
30 มี.ค.2564









อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น