หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การวิเคราะห์สภาพลูกระเบิดทั้ง 7 ลูก

ในการประชุมสรุปผลการแถลงแผนขั้นตอนการสำรวจวัตถุระเบิดในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2561 นาวิน วุฒิรณฤทธิ์ (2562) ผู้แทนกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้วิเคราะห์สภาพลูกระเบิดทั้ง 7 ลูก ไว้ดังนี้  

การวิเคราะลูกระเบิดทั้ง 7 ลูก
ที่มา (กองทำลายวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธทหารอากาศ. 2561)


ลูกที่ 1 เป็นระเบิดขนาด 1,000 ปอนด์ จากประเทศอังกฤษ (G.P.1,000 lbs.)

ลูกที่ 2 จากภาพจะเห็นเอกลักษณ์ของชนวน มองจากข้างนอกจะไม่เห็น Marking ของระเบิด แต่ความพิเศษของชนวนระเบิดจากประเทศอังกฤษ จะทำส่วนที่ยื่นมาจากตัวลูกระเบิด เฉพาะรุ่นมีวงแหวน 2 อัน กับตัววี โดยรอบ ซึ่งเป็นชนิดชนวนถ่วงเวลาด้วยสารเคมี จำนวน 2 แบบ คือ ชนวน No.37 และ No.53 รูปร่างภายนอกเหมือนกัน ถ่วงเวลาด้วยสารเคมี 2 ชนิด แตกต่างกันที่เวลาในการจุดระเบิด โดย No.37 อยู่ที่ 6-144 ชั่วโมง แล้วแต่สูตรการผสมของน้ำยาเคมีกับตัวอุปกรณ์ที่ยึดเข็มแทงชนวนซึ่งทำจากพลาสติก ถ้าผสมน้ำยาเข้มข้นแต่แผ่นพลาสติกยึดเข็มแทงชนวนบาง การจุดระเบิดก็จะเร็วขึ้น แต่ถ้าผสมน้ำยาเคมีน้อยแต่แผ่นพลาสติกยึดเข็มแทงชนวนหนา การจุดระเบิดก็จะเกิดขึ้นช้า ขึ้นอยู่กับการผสม 

ส่วนชนวน No.53 การถ่วงเวลามี 2 ลักษณะ คือ 30 นาที กับ 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสูตรน้ำยาเคมีและจะมีสีบ่งบอก ถ้าเป็นสีเขียวจะถ่วงเวลา 30 นาที ถ้าเป็นสีเหลือง จะถ่วงเวลา 1 ชั่วโมง เป็นต้น จากการวิเคราะห์ด้านหน้าส่วนหัวเหมือนกัน มีน๊อตหมุนปิดใส่เข้าไปเพื่อเพิ่มความแข็งให้ตัวชนวน หรืออาจจะไม่ใส่ชนวนก็ได้ มีเอกลักษณ์เป็นรูปตัววี

ลูกที่ 3 ส่วนหัวยังคงเหมือนเดิม มีเอกลักษณ์กล่องรูปตัววี และอาจเป็นชนิดที่มีทั้ง 2 ชนวน

ลูกที่ 4 นำภาพของระเบิดจากโซน 4 มาวิเคราะห์จะเห็นส่วนหัวกับส่วนท้าย จากที่สังเกตในระยะใกล้ๆ จะมองเห็นรูปร่องตัววี ซึ่งบอกได้ว่าเป็นขนาด 1,000 ปอนด์ และมีชนวน 2 ชนิด ลูกระเบิดลูกนี้ พบว่ามีการเคลื่อนย้ายจากจุดเดิมที่เคยสำรวจและผูกทุ่นไว้

ลูกที่ 5 เป็นข้อมูลที่เคยออกอากาศทางโทรทัศน์ เมื่อ 22 พ.ย.2561 (เรื่องจริงผ่านจอ.2561) และได้ไปสนทนาพูดคุยกับทางกองถ่ายเพื่อสอบถามว่าเทปดังกล่าวมีการถ่ายทำจริงหรือไม่ รวมทั้งขอเทปบันทึกจากการถ่ายทำด้วยกล้องที่มีประสิทธิภาพสูงคมชัด ซึ่งจะเห็นว่าส่วนหัวมีความเหมือนกัน ส่วนท้ายจะเห็นเอกลักษณ์ชัดเจนขึ้นของวีเชฟ จุดตรงกลางเป็นวงกลมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชนวน No.37 แต่ No.53 จะมองไม่เห็น การวางตัวของลูกระเบิดลูกนี้ วางอยู่บนแท่งคอนกรีต มีแนวโน้มว่าจะเคยมีการขยับตัวแล้วจากการก่อสร้างสะพานรถยนต์ 

ลูกที่ 6 ส่วนหัวยังเหมือนเดิม ส่วนท้ายจะเห็นเอกลักษณ์วีเชฟ มีความเป็นไปได้ว่าเป็นชนิด 2 ชนวน และได้นำขอบส่วนท้ายของลูกระเบิดออกมาแล้วเนื่องจากมีการผุกร่อน

ลูกที่ 7 ส่วนหัวยังเหมือนเดิม ส่วนท้ายจะเห็นเอกลักษณ์วีเชฟ เช่นเดิม

จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบแล้ว พบว่าลูกระเบิดดังกล่าวเป็น ลูกระเบิด รุ่น Mk IV ใช้ชนวนส่วนท้าย No.37 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ชนวน No.37
ที่มา (U.S. Naval Bomb Disposal personnel stationed in United Kingdom. 1994: 240)

คุณสมบัติของ ชนวน No.37
เป็นชนวนแบบถ่วงเวลานานด้วยสารเคมี ถ่วงเวลาได้นาน 6-144 ชม.ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ทำงานด้วยปฏิกิริยาของตัวทำละลาย อะซิโตนในเซลลูลอยด์ การหน่วงอื่นๆ มาจากจำนวน Disc ที่ใช้ ประกอบด้วยสามส่วนหลัก คือ ส่วนหัว ส่วนตัว ส่วนอุปกรณ์ต้านการเก็บกู้ 

หัวและตัวถูกสกรูติดกัน ล็อคด้วย locking screw ห่วงวงแหวนแทรกและยางรองนุ่มถูกวางระหว่างส่วนหัวกับส่วนตัว เมื่อส่วนทั้งสองถูกประกอบ arming screw ถูกประกอบในส่วนหัว วงแหวนยางนุ่ม และวงแหวนเหล็กถูกประกอบไว้บนแกน ซึ่งปิดผนึกอะซิโตนในฟิวส์เมื่อ arming screwถูกเจาะเกลียวด้านในอย่างพอดี เพื่อเจาะหลอดแก้ว (ampoule) หลอดแก้วมีอะซีโตนจะบรรจุในส่วนตัว พักอยู่ในแผ่นสังกะสีที่มีรูพรุน เหนือที่รองที่เป็นรูปลิ่ม ที่รองถูกเจาะเกลียวลงไปยังส่วนตัว ตัวสปริงจุดระเบิด(striker spring) จะถูกกดโดยส่วนหัวของสกรูจุดระเบิด (Striker Screw) ซึ่งเลื่อนมาชนในแผ่นเซลลูลอย ที่แทรกในส่วนบนสุดของชิ้นส่วน ปลอกตัวจุดระเบิด (Striker Sleeve) ถูกกั้นโดยตัวทรงกลมกั้น 16 ลูก วางบนปลอกกั้น (Retaining Sleeve) ตัวสปริงที่กดไว้วางอยู่ระหว่างบ่าในช่องของส่วนลำตัว และบ่าบนปลอกของตัว จุดระเบิด อุปกรณ์ป้องกันการเก็บกู้รื้อถอนประกอบด้วยวงแหวนยางนุ่มประกอบอยู่เหนือปลอกกั้น (Retaining Sleeve) ซึ่งถูกขันสกรูบนส่วนล่างสุดของส่วนลำตัว ซึ่งลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในส่วนล่างสุดเพื่อเข้าถึงส่วนหัวของเชื้อปะทุระเบิด ปลอกกั้นจะถูกล็อคกับที่ในส่วนหัวของเชื้อปะทุระเบิดโดย วงแหวนยางนุ่ม ขั้นตอนมีขึ้นในขณะที่ปลอกกั้นซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่จะสอดคล้องกับวงแหวนล็อค (Lock ring) วงแหวนล็อค ถูกรั้งไว้ในส่วนลำตัวด้วยด้วยสกรู (Locking Screw) ส่วนท้ายจะถูกประกอบให้เหมาะกับอุปกรณ์ (Tab looking Device) และมีแผ่นป้องกันเพื่อความปลอดภัย (Safety Plate) ซึ่งมีช่องเพื่อให้มันลงตัวกับง่ามของ Arming Screw และ ซอก 2 ที่ในส่วนหัว

หลักการทำงาน
ในขณะทิ้งระเบิดลง Arming Screw จะขันลงไปหมุน Arming vanes ในส่วนท้ายของระเบิดและเจาะหลอดแก้วแตก ทำให้อะซิโตนถูกปล่อยออกมา ในขณะดิ่งลง หัวสกรูจะกดบนวงแหวนยางนุ่มซึ่งปิดผนึกตัวอะซิโตนไว้ ปฏิกิริยาในตัวทำละลายของอะซิโตนในแผ่นเซลลูลอย จะดำเนินไปจนส่วนหัวของตัวจุดระเบิดจะถูกปล่อยจากแผ่นเซลลูลอย จะปล่อยให้ตัวจุดระเบิดเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยสปริง ปลอกกั้นจะถูกล็อคในส่วนหัวของเชื้อปะทุระเบิดโดยวงแหวนยางนุ่ม และความพยายามใดที่จะเอาตัวส่วนท้าย ออกจากระเบิดโดยถอนสกรูส่วนตัวจะทำให้ส่วนตัวคลายเกลียวจากปลอกกั้น หลังจากคลายเกลียวสกรูส่วนตัวออกประมาณครึ่งรอบ ลูกทรงกลมกั้นจะถูกปล่อย จะทำให้อุปกรณ์ตัวจุดระเบิดเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยแรงสปริงและขับให้ตัวจุดระเบิดกระทบส่วนหัวของเชื้อปะทุระเบิด 

สรุป
ชนวน No.37 นี้ เป็นชนวนแบบถ่วงเวลานานด้วยสารเคมี โดยใช้อะซิโตนเป็นตัวทำละลาย และใช้ Cotton Wool เป็นตัวดูดซับ เพื่อให้เกิดการกัดกร่อนกับ Celluloid Disc (พลาสติกใส) ที่ยึดเข็มแทงชนวนอัดแหนบไว้ด้วยสปริง เมื่อ Celluloid ละลาย เข็มแทงชนวนแบบแหลมจะถูกปล่อยอย่างอิสระ ด้วยแรงยืดหยุ่นของสปริงจะพุ่งชนเชื้อปะทุระเบิด (Detonator) ที่อยู่ต่อมาทำให้เกิดการจุดระเบิดและส่งคลื่นไปยังขบวนการวัตถุระเบิดที่อยู่ถัดไป


*************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น