จังหวัดราชบุรีได้จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2566-2570 โดยมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานทุกแห่ง ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน ภาคประชาสังคมในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง เมื่อ เดือน ส.ค.และ ก.ย.2564 หลังจากนั้นเสนอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.รบ.) เมื่อ 13 ก.ย.2564 และได้ผ่านการประชุมหารือและประชาคมระดับจังหวัดเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว จึงได้กำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2566-2570 เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา จ.ราชบุรี ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป
แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี ดังกล่าว จำเป็นต้องมีความสอดคล้องและความเชื่อมโยงกับแผนในระดับต่าง ๆ ได้แก่
- แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ที่กำหนดวิสัยทัศน์ว่า "ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"
- นโยบายของรัฐบาล 12 ด้านหลัก ที่แถลงไว้เมื่อ 25 ก.ค.2562
- ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (ฺBio-Circular-Green Economy) หมายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลาง
- โมเดลเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0
- แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า "ปฏิรูปประเทศไทย สู่ดิจิทัลไทยแลนด์"
- เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติ จำนวน 17 เป้าหมาย ครอบคลุม 15 ปี (พ.ศ.2558-2573)
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570)
การเขียนแผนการพัฒนาฯ ที่ต้องเชื่อมโยงกับแผนต่าง ๆ จำนวนมากนั้น ค่อนข้างมีความซับซ้อน บางครั้งก็ยากที่จะทำความเข้าใจและตีความ สถาบันราชบุรีศึกษา จึงขอสรุปสาระสำคัญโดยย่อในแผนพัฒนา จ.ราชบุรี พ.ศ.2566-2570 ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนชาว จ.ราชบุรี ได้รับทราบเป็นเบื้องต้น ดังนี้
วิสัยทัศน์ของแผนฯ
"เมืองเกษตรสีเขียว เศรษฐกิจเข้มแข็ง สังคมคุณภาพ"
พันธกิจ (ภารกิจที่ต้องกระทำเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์)
- พัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง
- เสริมสร้างสังคมที่มีคุณภาพ ประชาชนมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
- จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรองรับการเติบโตอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
- จังหวัดมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขัน
- ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มั่นคง เป็นสังคมคุณภาพ เข้มแข็ง และแบ่งปัน
- การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพยิ่งขี้น
- ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรสีเขียวแบบครบวงจร สู่เมืองอาหารปลอดภัยอย่างมั่นคงและยั่งยืน
- ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวและบริการวิถีใหม่อย่างมีคุณภาพบนฐานอัตลักษณ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์
- ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและการพัฒนาสินค้ามาตรฐาน
- ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคนคุณภาพสร้างสังคมแห่งความสุข
- ประเด็นยุทธศาสตร์ที 5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
- ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคง
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวและบริการวิถีใหม่อย่างมีคุณภาพบนฐานอัตลักษณ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ความต้องการงบประมาณ ตามแผนงานที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว (56 โครงการ) ความต้องการงบประมาณ 12,660,620,500 บาท (คิดเป็นร้อยละ 91.91)
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคนคุณภาพสร้างสังคมแห่งความสุข ตามแผนงานที่ 4 การส่งเสริมและพัฒนาด้านสังคม (7 โครงการ) ความต้องการงบประมาณ 640,621,685 บาท (คิดเป็นร้อยละ 4.65)
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรสีเขียวแบบครบวงจร สู่เมืองอาหารปลอดภัยอย่างมั่นคงและยั่งยืน ตามแผนงานที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาภาคการเกษตร (38 โครงการ) ความต้องการงบประมาณ 221,835,120 บาท (คิดเป็นร้อยละ 1.61)
- ยุทธศาสตร์ที 5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแผนงานที่ 5 การบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (9 โครงการ) ความต้องการงบประมาณ 133,262,350 บาท (คิดเป็นร้อยละ 0.97)
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและการพัฒนาสินค้ามาตรฐาน ตามแผนงานที่ 3 การเสริมสร้างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (11 โครงการ) ความต้องการงบประมาณ 62,417,500 บาท (คิดเป็นร้อยละ 0.45)
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคง ตามแผนงานที่ 6 การส่งเสริมและพัฒนาเพื่อความมั่นคง (6 โครงการ) ความต้องการงบประมาณ 55,916,500 บาท (คิดเป็นร้อยละ 0.41)
- พ.ศ.2566 ความต้องการงงบประมาณ 3,329.83 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 24.17 จากทั้งหมด)
- พ.ศ.2567 ความต้องการงบประมาณ 2,549.72 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 18.51 จากทั้งหมด)
- พ.ศ.2568 ความต้องการงบประมาณ 2,591.34 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 18.81 จากทั้งหมด)
- พ.ศ.2569 ความต้องการงบประมาณ 2,539.36 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 18.43 จากทั้งหมด)
- พ.ศ.2570 ความต้องการงบประมาณ 2,764.41 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 20.08 จากทั้งหมด)
- เจาะลึกแผนพัฒนา จ.ราชบุรี 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรสีเขียวฯ 221.8 ล้านบาท
- เจาะลึกแผนพัฒนา จ.ราชบุรี 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) : ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวและบริการวิถีใหม่ฯ 12,660.6 ล้านบาท
- เจาะลึกแผนพัฒนา จ.ราชบุรี 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) : ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและการพัฒนาสินค้ามาตรฐาน 62.4 ล้านบาท
- เจาะลึกแผนพัฒนา จ.ราชบุรี 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) : ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคนคุณภาพสร้างสังคมแห่งความสุข 640.6 ล้านบาท
- เจาะลึกแผนพัฒนา จ.ราชบุรี 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) : ยุทธศาสตร์ที 5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมฯ 133.2 ล้านบาท
- เจาะลึกแผนพัฒนา จ.ราชบุรี 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) : ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคง 55.9 ล้านบาท
- จ.ราชบุรี ตั้งงบฯ 13,744.67 ล้านบาท ใช้ทำอะไรบ้าง? ในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2566-2570)
- เจาะลึก : แผนพัฒนาท้องถิ่นราชบุรี 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2566-2570) : งบประมาณ 5,663 ล้านบาท ใช้ทำอะไรบ้าง??
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น