วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

Workshop : ดูดาวและถ่ายภาพดาราศาสตร์เบื้องต้น ปฐมบท : สู่การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ใน จ.ราชบุรี

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 ชมรมดาราศาสตร์และมวลเมฆ จ.ราชบุรี ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ดูดาวและถ่ายถาพดาราศาสตร์เบื้องต้น" ณ รีสอร์ทในเขต อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี นับเป็นประวัติศาสตร์ และเป็นปฐมบทนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ ใน จ.ราชบุรี ต่อไป


การอบรมเชิงปฎิบัติการดูดาวและถ่ายภาพดาราศาสตร์เบื้องต้น
ชมรมดาราศาสตร์และมวลเมฆ จ.ราชบุรี ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ดูดาวและถ่ายภาพดาราศาสตร์เบื้องต้น" ขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ม.ค.2566 โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการอบรมคือ
  1. เผยแพร่ความรู้เรื่องการดูดาวและการถ่ายภาพดาราศาสตร์ ให้แก่ผู้ที่สนใจใน จ.ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียง
  2. เผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์ให้แก่ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียน และสถานศึกษาต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ จ.ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อนำความรู้ไปต่อยอดวิชาดาราศาสตร์ในสถานศึกษาของตนเองต่อไป
  3. เตรียมพัฒนาพื้นที่ในเขต อ.สวนผึ้ง และ อ.บ้านคา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์อีกแหล่งหนึ่งของประเทศไทย อันจะเป็นการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้มีความหลากลายมากยิ่งขึ้น
ผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 19 คน 
ภาคทฤษฎี เวลา 10.30-17.30 น. ณ ห้องประชุมของภูริเอกทัต รีสอร์ท อ.สวนผึ้ง 
ภาคปฎิบัติ เวลา 18.00-24.00 น. ณ 2022CUPID@สวนผึ้ง รีสอร์ท อ.สวนผึ้ง 
วิทยากร ได้แก่ 
  • อาจารย์วิรติ   กีรติกานต์ชัย (อ.โอ) จากชมรมคนรักในดวงดาว (Starry Night Lover Club) 
  • อาจารย์พงศธร กิจเวช (อ.อัฐ) แอดมินเฟสบุ๊คเพจ คนดูดาว Stargazer
วิทยากรทั้งสองท่าน อ.โอ และ อ.อัฐ

อาจารย์วิรติ   กีรติกานต์ชัย (อ.โอ) 

อาจารย์พงศธร กิจเวช (อ.อัฐ) การดูดาว นิทานดาว จักรราศี

ห้องอบรม ภูริเอกทัต รีสอร์ท

การอบรมครั้งนี้ เป็นไปอย่างสนุกสนานและเต็มไปด้วยความรู้ อ.โอ ได้นำสื่อทางดาราศาสตร์จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NARIT) มามอบให้ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก อาทิ ไดอารี่ปฏิทินดาราศาสตร์ 2023, หนังสือดาวหาง (Comet), หนังสือพายุสุริยะ (Solar Storm), หนังสือระบบสุริยะ (The Solar system) , หนังสือสิ่งที่ต้องรู้ก่อนเดินทางสู่อวกาศ (Basic of Spaceflight), แผ่นภาพดวงจันทร์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังนำกล้องโทรทรรศน์ และกล้องถ่ายภาพทางดาราศาสตร์มากมายหลากหลายชนิดมาสาธิตให้ชมอย่างละเอียด

อาจารย์วิรติ   กีรติกานชัย (อ.โอ) อธิบายการใช้กล้องประเภทต่าง ๆ

สื่อดาราศาสตร์จาก NARIT

ไดอารี่ปฎิทินดาราศาสตร์ 2566 จาก NARIT

หลังจากอบรมภาคทฤษฎีเสร็จ ทั้งหมดก็ออกเดินทางต่อไปยังสถานที่อบรมภาคปฎิบัติ อีกประมาณ 12 กิโลเมตร  คือ 2022Cupid@สวนผึ้ง รีสอร์ท หลังจากรับประทานอาหารเย็นเสร็จ ก็เริ่มดูดาวและถ่ายภาพกันตั้งแต่เวลา 20.00 น. ณ บริเวณลานด้านข้างรีสอร์ท จนถึงเวลา 24.00 น. ตามที่กำหนดไว้ บางคนก็กลับบ้าน บางคนก็ไปนอนที่รีสอร์ทที่ใกล้ ๆ บางคนก็พักที่นี่ แต่บางคนก็ยังไม่ยอมนอน อ.โอ และ อ.อัฐ ก็ยังคงอุตส่าห์อธิบายและสอนการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ต่อ จนถึงเวลาประมาณ 03.00 น.ของวันที่ 15 ม.ค.2566

อาหารเย็น

ภาคปฎิบัติ ลานด้านข้าง 2022Cupid@สวนผึ้ง รีสอร์ท

ภาคปฎิบัติ ลานด้านข้าง 2022Cupid@สวนผึ้ง รีสอร์ท

ภาคปฎิบัติ ลานด้านข้าง 2022Cupid@สวนผึ้ง รีสอร์ท

บริเวณรีสอร์ท ท้องฟ้ามืด ระดับ CLASS 3

เช้ามืดวันที่ 15 ม.ค.2566 ทราบว่า อ.โอ และ อ.อัฐ ยังคงนัดผู้เข้ารับการอบรมที่นอนพักที่รีสอร์ท ประมาณ 04.30 น. เพื่อตื่นขึ้นมาดูดาวกันอีก แต่ดูเหมือนว่าทุกคนจะหมดแรงเสียก่อน  กว่าจะตื่นและทำธุระส่วนตัวเสร็จ ก็ช่วงสาย ๆ จึงค่อยมานั่งฟัง อ.โอ และ อ.อัฐ บรรยายอีกครั้ง

บรรยายต่อช่วงสาย ของวันที่ 15 ม.ค.2566

ผู้เข้ารับการอบรมหลากหลาย Generation

ดูดวงจันทร์ค้างฟ้า

สิ่งที่ผมทำอยู่คือ สอนดูดาว ชวนคนให้มาสัมผัสธรรมชาติ

ขอขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่าน ที่ตั้งใจจะถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ท่านมีให้กับทุกคนโดยพยายามใช้ทุกเวลานาทีอย่างมีคุณค่าที่สุด ถึงแม้จะเลยเวลาที่กำหนดไว้ในการอบรมแล้วก็ตาม ผมยังสงสัยว่า อาจารย์ทั้งสองท่านหาเวลานอนตอนไหน ได้นอนบ้างหรือปล่าวก็ไม่รู้ สมเป็น "ครูตัวอย่าง" จริง ๆ ครับ

ก่อนกลับขอบคุณอาจารย์ทั้งสองอีกครั้ง

ประวัติศาสตร์ของ จ.ราชบุรี ที่ต้องจารึก
การอบรมฯ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกใน จ.ราชบุรี ชมรมดาราศาสตร์และมวลเมฆ จ.ราชบุรี ขอขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านที่เสียสละเวลามาเป็นวิทยากรให้ รวมทั้งขอขอบคุณผู้เข้าร่วมการอบรม ทั้ง 19 ท่าน ที่ช่วยสร้างประวัติศาสตร์ในครั้งนี้้ ให้แก่ จ.ราชบุรี   

กิจกรรมนี้ จะเป็นการเปิดฟ้าสวนผึ้งให้ทุกคนได้รับรู้ เป็นประวัติศาสตร์ของ จ.ราชบุรีที่ต้องจารึกไว้ และจะเป็นปฐมบทนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ใน จ.ราชบุรีต่อไป 

ขอบคุณอาจารย์และผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่าน

หากการจัดอบรมครั้งนี้ มีอะไรไม่สมบูรณ์ ขาดตกบกพร่องสิ่งใดไป ทางชมรมฯ ขออภัยไว้ด้วยครับเพราะเป็นการจัดครั้งแรก ไว้โอกาสหน้าจะแก้ตัวใหม่ครับ

เจอผู้เข้าร่วมอบรมเป็น "นักดำน้ำ"เหมือนกัน
เราจึงเรียกตัวพวกเราว่า "นักดำน้ำดูดาว" 15 องศา

***********************
พลตรี ดร.สุชาต  จันทรวงศ์ (ครูผู้พัน)
ประธานชมรมดาราศาสตร์และมวลเมฆ จ.ราชบุรี
17 ม.ค.2566

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม