เมื่อปี พ.ศ.2538 ผมเริ่มทำธุรกิจเคเบิลทีวีในเขต อ.เมือง จ.ราชบุรี ในนาม "บริษัท หัวช้างเอ็นเทอร์เทนเมนต์ จำกัด" (HCTV) ในช่องรายการโทรทัศน์เคเบิลทีวีท้องถิ่นที่ผลิตขึ้นเอง ผมได้ผลิตรายการ "ข่าวท้องถิ่นของราชบุรี" ออกอากาศให้สมาชิกเคเบิลทีวีได้ชม เพื่อจะได้รู้ว่าท้องถิ่นราชบุรีบ้านเรานั้นมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ส่วนหนึ่งของรายการข่าวท้องถิ่น ผมสร้างรายการสารดคีสั้นชื่อว่า "ที่นี่..ราชบุรี" ตอนละประมาณ 3-5 นาที เพื่อบันทึกเรื่องราวที่เป็นองค์ความรู้ต่างๆ ของ จ.ราชบุรี เอาไว้ในรูปแบบวิดีโอและเผยแพร่ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น HCTV และทางช่อง Youtube
รายการ "ข่าวท้องถิ่นราชบุรี" และรายการสารคดี "ที่นี่..ราชบุรี" ได้รับความชื่นชมมากจากผู้ชม และผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ใน จ.ราชบุรี รวมทั้งผู้ชมที่ให้ความเห็นผ่านทาง Youtube สรุปได้ว่า น่าจะมีการผลิตรายการเกี่ยวกับ จ.ราชบุรี อย่างนี้ให้มากๆ อย่างน้อยก็สามารถบันทึกเรื่องราวของ จ.ราชบุรี ไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป
ผมเริ่มขยายผลนำข้อมูลดิบของรายการ "ที่นี่..ราชบุรี" มาจัดพิมพ์เป็น "นิตยสาร ที่นี่..ราชบุรี" มุ่งหวังที่จะเผยแพร่ความรู้ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์อีกทางหนึ่ง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้สนใจให้มากขึ้น นิตยสารที่นี่..ราชบุรี จัดพิมพ์ได้เพียง 3 เล่ม ประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากไม่มีผู้สนับสนุนการโฆษณาในหนังสือ
ต่อมาในปี พ.ศ.2544 ผมได้มีโอกาสเรียนต่อในระดับมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ยิ่งทำให้รู้สึกว่าการศึกษานั้ันมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคน พัฒนาชาติบ้านเมือง นอกจากนั้นในปี พ.ศ.2550 ผมได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์บูรณวิทยา อยู่อีก 2 ปี ยิ่งทำให้เห็นภาพการศึกษาชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการเรียนการสอน "หลักสูตรท้องถิ่น" ซึ่งทุกโรงเรียนในห้วงเวลานั้นต้องจัดให้มี
ผมจึงได้เริ่มค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับ จ.ราชบุรี เพื่อจะนำมาจัดทำเนื้อหาในหลักสูตรท้องถิ่น แต่กลับพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับ จ.ราชบุรี หลายอย่างยังขาดการบันทึก ความรู้ที่ถูกบันทึกก็อยู่อย่างกระจัดกระจาย ส่วนใหญ่อยู่ในรูปหนังสือบ้าง เอกสารบ้าง หรือไม่ก็ภาพถ่ายเก่าๆ ซึ่งมีอยู่จำนวนน้อย บางเล่มก็สูญหายไป บางเล่มก็เก่าชำรุด ฉีกขาด อ่านไม่ได้ ไม่เพียงพอต่อการค้นคว้าหาความรู้ของครู อาจารย์ นักเรียนรวมทั้งประชาชนที่สนใจ
ผมได้นำความรู้ด้านต่างๆ ของ จ.ราชบุรี ที่ค้นได้ นำมาบันทึกลงใน "เว็บบล็อกราชบุรีศึกษา" เพื่อเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต อันจะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างกว้างขวาง โดยไม่มีข้อจำกัด
ในระหว่างปี พ.ศ.2550-2553 ผมเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ยิ่งมองเห็นความตั้งใจของสำนักฯ นี้ ที่พยายามจะรวบรวมองค์ความรู้ด้านศิลปะวัฒนธรรมของ จ.ราชบุรี ให้คงอยู่ อนุรักษ์และเผยแพร่ ให้สืบทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษาเล่าเรียน แต่อุปสรรคที่เห็น ก็คืองบประมาณที่จำกัดจำเขี่ย และยังการขาดสนับสนุนที่ดีพอจากองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนอีกด้วย
ผมตั้งใจไว้ว่าถ้ามีโอกาส "ผมอยากจะจัดตั้งองค์กรสักองค์กรหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่จัดการความรู้ของ จ.ราชบุรี อย่างเป็นระบบ ทำหน้าที่บันทึกความรู้เหล่านั้นไว้ไม่ให้สูญหาย เพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นต่อไปได้ศึกษาเรียนรู้ อันจะนำสู่ไปพัฒนา จ.ราชบุรี ในอนาคตต่อไป"
ปี พ.ศ.2549 ผมได้มีโอกาสเรียนต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ผมได้ทำดุษฎีนิพนธ์เรื่อง "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพจัดการความรู้ด้วยเว็บบล็อก" โดยต้นแบบของการจัดการความรู้ด้วยเว็บบล็อก คือ เว็บบล็อกราชบุรีศึกษา ที่เคยทำมาตั้งแต่ต้นนั่นเอง
ปี พ.ศ.2549 ผมได้มีโอกาสเรียนต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ผมได้ทำดุษฎีนิพนธ์เรื่อง "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพจัดการความรู้ด้วยเว็บบล็อก" โดยต้นแบบของการจัดการความรู้ด้วยเว็บบล็อก คือ เว็บบล็อกราชบุรีศึกษา ที่เคยทำมาตั้งแต่ต้นนั่นเอง
หลังจากจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2556 ผมเริ่มเตรียมวางแผนที่จะจัดตั้ง "สถาบันราชบุรีศึกษา" ตามเจตนารมย์ที่เคยตั้งใจไว้ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ทำเป็นจริงเป็นจังเสียที ผมต้องย้ายไปปฏิบัติงานที่ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ อยู่ถึง 4 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ.2559 นี้ ผมกลับมาทำงานที่ราชบุรีแล้ว จึงเริ่มที่จะมีเวลาสานต่อการจัดตั้งสถาบันราชบุรีศึกษา ให้เป็นเรื่องเป็นราวต่อไป
ข้อมูลของสถาบัน
ชื่อภาษาไทย : สถาบันราชบุรีศึกษา คำย่อ สรศ.
ชื่อภาษาอังกฤษ : Ratchaburi Studies Institute คำย่อ RSI
ชื่อภาษาอังกฤษ : Ratchaburi Studies Institute คำย่อ RSI
การดำเนินงาน : ดำเนินงานภายใต้ มูลนิธิสถาบันราชบุรีศึกษา (กำลังจัดตั้ง)
งบประมาณดำเนินงาน :
ปรัชญาสถาบัน : - จากเงินสนับสนุนของมูลนิธิสถาบันราชบุรีศึกษา
- จากเงินสนับสนุนโครงการวิจัยต่างๆ
- จากการจัดประชุมสัมนาและฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ
- จากการจัดกิจกรรม
- จากการโฆษณาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสถาบันฯ
สะพานเชื่อมระหว่าง "ความรู้" กับ "นโยบาย"
Helping to bridge the gap between knowledge and policy
วิสัยทัศน์
สถาบันราชบุรีศึกษาเป็นสถาบันคลังสมองชั้นนำของ จ.ราชบุรี
พันธกิจ
- ผลิตงานวิจัย หรือรวบรวมงานวิจัย ที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ และนโยบายในการพัฒนา จ.ราชบุรี ด้านต่างๆ มาสังเคราะห์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ผู้ที่กำหนดนโยบาย
- ผลิตข่าวเชิงวิเคราะห์ บทความ บทสัมภาษณ์ รายงานพิเศษ จัดทำวารสาร หนังสือ และรายงานผลการวิจัยด้านวิชาการต่างๆ
- ติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศและการพัฒนา จ.ราชบุรี นำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และประเมินผล เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดและดูแลนโยบายด้านนั้นๆ
- จัดการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา และกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
- ติดตามและประเมินผลนโยบายด้านการพัฒนาของ จ.ราชบุรี
- จัดทำรายงานองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ ประจำปี ของ จ.ราชบุรี
- สร้างเครือข่ายงานการวิจัยระหว่างสถาบันและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการจัดการความรู้ของ จ.ราชบุรี อย่างเป็นระบบ รวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ของ จ.ราชบุรี ผ่านสื่อต่างๆ แก่สาธารณชน
- ทำหน้าที่เชื่อมโยงความรู้ด้านวิชาการ กับ นโยบายสาธารณะในการพัฒนา จ.ราชบุรี
ที่ตั้งสถาบัน : 20/24 ถ.สมบูรณ์กุล ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทร.081-4348777
พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์
16 มิ.ย.2559
ผู้ก่อตั้ง (ดูรายละเอียด)
เยี่ยมยอด
ตอบลบเยี่ยม ขอเข้าเป็นสมาชิกด้วย เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ตอบลบยินดีครับ
ลบ