วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ผลการสำรวจ : พ่อแม่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะเปิดโรงเรียนตามปกติ (แบบ On-site)

พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป ใน จ.ราชบุรี ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะเปิดโรงเรียนตามปกติ (แบบ On-site) ในช่วงเวลานี้ เพราะเห็นว่ายังมีระดับความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดอยู่มาก และยังไม่มีความมั่นใจต่อมาตรการป้องกันโควิด-19 ของโรงเรียน ส่วนด้านนักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่อยากมาโรงเรียน และครูอาจารย์มีความพร้อมสอนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด


ราชบุรีโพล โดย สถาบันราชบุรีศึกษา ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับ  "การเปิดโรงเรียนและสถานศึกษาใน จ.ราชบุรี ตามปกติ ( On-site) ในช่วงเวลานี้" ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่ง จ.ราชบุรี ยังคงเป็นพื้นที่ควบคุมสุงสุด (สีแดง) โดยโรงเรียนและสถานศึกษาใน จ.ราชบุรี หลายแห่ง จะเริ่มทยอยเปิดการเรียนการสอนตามปกติ (On-site) ในวันที่ 15 พ.ย.2564 เป็นต้นไป

โดยทำการสำรวจแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 3-10 พ.ย.2564 สรุปผลการสำรวจมีระดับความเชื่อมั่น 95% และค่าความคลาดเคลื่อน + 3% (ตารางสำเร็จรูปของ ทาโร ยามาเน่ (Yamane)) แยกรายละเอียด ดังนี้

ผู้ตอบแบบสำรวจฯ จำนวน 1,429 คน 
จากประชากร จ.ราชบุรี 918,674 คน แยกสถานะเป็น
  • พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง จำนวน 557 คน คิดเป็นร้อย 39
  • ครู/อาจารย์/ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 7.3
  • นักเรียน นักศึกษา จำนวน 620  คน คิดเป็นร้อยละ 43.4 
  • ประชาชนทั่วไป จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 10.3 
ความคิดเห็นของพ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง
(จำนวนผู้ตอบแบบสำรวจ 557 คน)
  • ไม่เห็นด้วยที่จะเปิดโรงเรียนและสถานศึกษาใน จ.ราชบุรี ตามปกติ ( On-site) ในช่วงเวลานี้ จำนวน 386 คน คิดเป็นร้อยละ 69.3
  • ในด้านความมั่นใจ ของพ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง ที่มีต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่บุตรหลานจะไปเรียน 
    • มั่นใจมากที่สุด ร้อยละ 22.6
    • มั่นใจมาก ร้อยละ 9.7
    • มั่นใจปานกลาง ร้อยละ 30.5
    • มั่นใจน้อย ร้อยละ 22.6
    • ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 32.1
  • ความคิดเห็นด้านการเรียนแบบออนไลน์ที่ผ่านมา ได้ผลดีมากน้อยแค่ไหนต่อบุตรหลานของท่าน
    • ได้ผลดีมาก คิดเป็นร้อยละ 2.9
    • ได้ผลดี คิดเป็นร้อยละ 15.8
    • ได้ผลปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 46.1
    • ได้ผลน้อย คิดเป็นร้อยละ 27.3
    • ไม่ได้ผลเลย คิดเป็นร้อยละ 7.9
ความคิดเห็นของ ครู/อาจารย์/ผู้บริหารสถานศึกษา
(จำนวนผู้ตอบแบบสำรวจ 105 คน)
  • ในโรงเรียนหรือสถานศึกษาของท่าน ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง มีสถานะการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มตามเกณฑ์ ในข้อใด
    • ฉีดครบ 2 เข็มทุกคนแล้ว คิดเป็นร้อยละ 21.0
    • ฉีดครบ 2 เข็ม มากกว่าร้อยละ 85 คิดเป็นร้อยละ 63.8
    • ฉีดครบ 2 เข็มแล้ว ต่ำกว่าร้อยละ 85 คิดเป็นร้อยละ 15.2
  • ท่านมั่นใจในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในโรงเรียนหรือสถานศึกษาของท่าน มากน้อยแค่ไหน
    • มั่นใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 8.6
    • มั่นใจมาก คิดเป็นร้อยละ 21.9
    • มั่นใจปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 44.8
    • มั่นใจน้อย คิดเป็นร้อยละ 13.3
    • ไม่มั่นใจเลย คิดเป็นร้อยละ 11.4
  • ตัวท่านมีความพร้อมหรือไม่ ที่จะเปิดการเรียนการสอนตามปกติ (On-site) ในช่วงเวลานี้
    • พร้อมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 8.6
    • พร้อมมาก คิดเป็นร้อยละ 19
    • พร้อม คิดเป็นร้อยละ 39.0
    • ไม่ค่อยพร้อม คิดเป็นร้อยละ 26.7
    • ไมพร้อมเลย คิดเป็นร้อยละ 6.7
ความคิดเห็นของนักเรียน  นักศึกษา
(จำนวนผู้ตอบแแบสำรวจ 620 คน)
  • สถานะการฉีควัคซีนของตัวนักเรียน นักศึกษา
    • ยังไม่ได้ฉีด  คิดเป็นร้อยละ 8.2
    • ฉีดเข็มที่ 1 แล้ว คิดเป็นร้อยละ 49.5
    • ฉีดเข็มที่ 2 ครบตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 42.1
    • ฉีดเข็มที่ 3 ไม่มี
  • นักเรียน นักศึกษา คิดว่าการเรียนแบบ Online, On Air, On Demand, On hand ที่ผ่านมา มีผลดีต่อการเรียนของตัวท่านเอง มากน้อยแค่ไหน
    • ได้ผลดีมาก คิดเป็นร้อยละ 4.8
    • ได้ผลดี คิดเป็นร้อยละ 15.6
    • ได้ผลปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 43.4
    • ได้ผลน้อย คิดเป็นร้อยละ 28.1
    • ไม่ได้ผลเลย คิดเป็นร้อยละ 8.1
  • นักเรียน นักศึกษา อยากให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาของท่าน เปิดการเรียนการสอนตามปกติ (On- site) หรือไม่
    • อยากมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.5
    • อยากมาก คิดเป็นร้อยละ 25.2
    • เฉยๆ คิดเป็นร้อยละ 22.4
    • ไม่อยาก อยากให้เรียนออนไลน์แบบเดิม คิดเป็นร้อยละ 17.3
  • นักเรียน นักศึกษา มีความมั่นใจในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนหรือสถานศึกษาตัวเอง มากน้อยแค่ไหน
    • มั่นใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 14.7
    • มั่นใจมาก  คิดเป็นร้อยละ 27.4
    • มั่นใจปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 39.7
    • มั่นใจน้อย คิดเป็นร้อยละ 9.5
    • ไม่มั่นใจเลย คิดเป็นร้อยละ 8.7
  • ความเห็นอื่น ๆ
    • อยากให้โควิดหายแล้วค่อยเปิด
    • เปิดก็ดีครับ อยากเจอหน้าครู
    • อีกใจหนึ่งก็อยาก อีกใจหนึ่งก็กลัว
    • อยากมาก แต่ก็กลัวเพราะมันเสี่ยงเกินไป
    • ไม่อยากเปิด แต่เรียนออนไลน์ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่
    • อยากให้เปิด แต่ก็กลัวเพราะต่างคนต่างมา จากพื้นที่ต่างกัน
    • นักเรียนมีภูมิป้องกันตัวเองได้ แต่อาจเป็นพาหะนำโรคไปยังผู้สูงอายุที่บ้านได้
    • อยากไปเรียน แต่จะไม่ยอมฉีดวัคซีน เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล
ความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป
(จำนวนผู้ตอบแบบสำรวจ 147 คน)
  • ไม่เห็นด้วยที่จะเปิดโรงเรียนและสถานศึกษาใน จ.ราชบุรี ตามปกติ ( On-site) ในช่วงเวลานี้ จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 83.7
  • ท่านมั่นใจในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่จะเปิดเรียนตามปกติ ในช่วงเวลานี้ มากน้อยแค่ไหน
    • มั่นใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 1.4
    • มั่นใจมาก คิดเป็นร้อยละ 3.4
    • มั่นใจปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 15.6
    • มั่นใจน้อย คิดเป็นร้อยละ 21.8
    • ไม่มั่นใจเลย คิดเป็นร้อยละ 57.8
  • ท่านคิดว่า หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใน จ.ราชบุรี  จะเปิดการเรียนการสอนแบบปกติ (On-site) ในช่วงเวลานี้ จะมีระดับความเสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งใหม่ มากน้อยแค่ไหน
    • มีความเสี่ยงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.1
    • มีความเสี่ยงมาก คิดเป็นร้อยละ 26.5
    • มีความเสี่ยงปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 12.9
    • มีความเสี่ยงน้อย คิดเป็นร้อยละ 4.8
    • ไม่มีความเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 0.7
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ 
  • ควรรอดูภาพรวมของสถานการณ์ไปก่อน ให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดน้อยลงจริง ๆ แล้วค่อยเปิด เพื่อลดความเสี่ยง ยังไม่มั่นใจในสถานะการณ์ของประเทศไทยในช่วงเปิดประเทศ กลัวเชื้อจะกลับมาแพร่ระบาดหนักอีกครั้ง จึงอยากให้สถานการณ์ดีกว่านี้แล้วค่อยเปิด (19)
  • สำหรับเด็กระดับมัธยมที่ฉีดวัคซีนแล้ว เห็นด้วยที่จะเปิดเรียนตามปกติ​ได้เพราะเขาสามารถดูแลตัวเองได้เป็นเบื้องต้น แต่ทางโรงเรียนก็ต้องมีมาตรการที่เข้มงวดด้วย​ ส่วนเด็กเล็ก​ (ตั้งแต่ ปฐมวัย ถึง เด็ก ป.6) ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ยังไม่สมควรให้ไปเรียนตามปกติเพราะเขายังดูแลตัวเองไม่ได้ (7)
  • ควรเรียน On-site แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด (กาดไม่ตก) เข้มงวดให้มาก ๆ เช่น ครู เวลาพักเที่ยง ห้ามออกมาทานข้าวนอกโรงเรียน ให้นักเรียนนำอาหารมารับประทานทานกันเองเพื่อลดการแออัด เป็นต้น ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน การแพทย์ต้องพร้อม ผู้ปกครองต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของตนเอง (6)
  • ควรเปิดสอน on-site แบบต่อเนื่องอย่างน้อย 3 วัน หยุด 2 วัน ใน 1 สัปดาห์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนอย่างต่อเนื่อง มากกว่าเรียน 1 วัน หยุด 1 วัน หรือถ้าเปิดเรียน ควรสลับกันเรียนทีละครึ่งห้องหรือคนละสายชั้น หรือแบ่งออกเป็น Group A เเละ Group B (5)
  • อยากให้เรียนแบบออนไลน์กันไปก่อน เพราะถึงแม้จะฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วก็ยังติดเชื้อกันได้ ถ้าแนวโน้มจังหวัดราชบุรียังเป็นพื้นที่สีแดงอยู่ ก็น่าจะเรียนออนไลน์ต่อไปอีก โดยปรับปรุงระบบการเรียนออนไลน์ให้ดีขึ้น นำเทคนิคการสอนใหม่ ๆ ไม่ให้เบื่อสอดแทรกด้วยความรู้อาจเป็นการเล่นเกมเกี่ยวกับความรู้ในวิชานั้น ๆ (5)
  • เลื่อนการเปิดเทอม ไปเป็นปีการศึกษา 2565 (3)
  • หากจะเปิดให้เรียนตามปกติควรจัดการให้ครูและนักเรียนทุกคนได้รับวัคซีนครบ 100% รวมถึงผู้ปกครองที่มารับ-ส่งบุตรหลานด้วย  (3)
  • ให้ตรวจ ATK กับผู้ปกครองของเด็กที่จะเข้าโรงเรียน เพราะเด็กจะติดจากผู้ปกครองมากกว่าเพื่อนในโรงเรียน (2)
  • ถ้าโรงเรียนใดอยู่ในสถานที่เสี่ยง หรือ นักเรียนมาจากกลุ่มเสี่ยงก็ยังไม่สมควรเปิด (2)
  • จริงอยู่ว่า บุคคลากรในโรงเรียนฉีดยากันหมดแล้วแต่อย่าลืมว่าเด็กที่อายุยังไม่ถึง 12 ยังไม่ได้ฉีด เด็กโตก็ฉีดกันหมด แต่เด็กเล็ก ๆ ไม่ได้ฉีด เท่ากับว่าเอาเด็กเล็กไปเสี่ยงกับโรค 100% และการเรียนออนไลท์ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย แถมเป็นการพักภาระให้ผู้ปกครอง ไหนจะต้องทำงาน ไหนต้องรีบกับมาสอนหนังสือ ค่าเน็ตก็ต้องออก ค่าเทอมก็ต้องเสีย ทำไมโรงเรียนไม่ปิดเรียนไปเลยเพราะยังไงเด็กก็เรียนไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว หยุดเรียนสัก 1 ปี (2)
  • ถ้ามองในส่วนของบุตรหลานที่อยู่ในช่วงรอยต่อของการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ควรได้เรียนแบบปกติที่โรงเรียน เพราะคิดว่าเด็กน่าจะได้ข่าวสารสาระ และประสบการณ์ช่วงมัธยมปลายมากกว่านี้ แต่ถ้าในเรื่องของความปลอดภัย ก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานป้องกัน เพราะการที่จะแยกเด็ก และให้เด็กเว้นระยะห่างแล้ว น่าจะเป็นเรื่องยากพอสมควร
  • การให้เด็กไปเรียนช่วงนี้เป็นการเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะมีมาตรการป้องกันก็ตาม แต่มาตรการนั้นก็ไม่มีเครื่องยืนยันว่าปลอดภัยต่อการแพร่กระจายขอเชื้อได้ 100% เพราะขนาดโรคติดต่อทั่วไป เช่น ไข้หวัด โรคมือเท้าปาก ยังไม่สามารถควบคุมไม่ให้ระบาดในสถานศึกษาได้เลย
ผลการสำรวจ "การเปิดโรงเรียนและสถานศึกษาใน จ.ราชบุรี ตามปกติ ( On-site)" ฉบับนี้ ทางสถาบันราชบุรีศึกษา (สรศ.) จะได้รายงานต่อ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดราชบุรี,  คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี, คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนและสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรี, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี, และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1 และ 2 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาในการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-9) ในสถานศึกษาต่อไป

ทีมงานราชบุรีโพล และสถาบันราชบุรีศึกษา ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้กรุณาช่วยตอบแบบสำรวจในครั้งนี้ จนเกิดผลสำเร็จด้วยดี
#เสียงของทุกท่านมีความหมายเสมอ 
#YourVoiceAlwaysUseful

***********************
สถาบันราชบุรีศึกษา : 11 พ.ย.2564

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม