วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เส้นทาง สว. ราชบุรี ปี 62 ใครบ้าง? ที่ได้ไปต่อระดับประเทศ



ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในวาระเริ่มแรก

ในวาระเริ่มแรก ตามบทเฉพาะกาลของแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคำแนะนำ โดยมาจาก 3 ส่วน คือ
  1. กกต.ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งจากผู้สมัคร ส.ว.จากทั่วประเทศ คัดเลือกให้เหลือจำนวน 200 คน แล้วนำรายชื่อเสนอต่อ คสช. คัดเลือกจำนวน 50 คน
  2. คณะกรรมการสรรหา ส.ว.คัดเลือกบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมในอันจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาและการปฏิรูปประเทศมีจำนวนไม่เกิน 400 คน แล้ว นำรายชื่อเสนอต่อ คสช. คัดเลือก จำนวน 194 คน
  3. ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จำนวน 6 คน

10 กลุ่มอาชีพผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา
รัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงาน หรือเคยทำงานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม โดยในวาระเริ่มแรกได้กำหนดให้มีกลุ่มจำนวน 10 กลุ่ม ดังนี้
  1. กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง
  2. กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
  3. กลุ่มการศึกษาและการสาธารณสุข
  4. กลุ่มอาชีพกสิกรรม ปลูกพืชล้มลุก ทำนา ทำสวน ทำไร่ ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง
  5. กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน / อาชีพอิสระ
  6. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม
  7. กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว
  8. กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น ประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์
  9. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา สื่อสารมวลชน ผู้สร้างวรรณกรรม
  10. กลุ่มอื่นๆ (ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามย่อมมีสิทธิสมัครในกลุ่มอื่นๆ)

ประเภทการรับสมัคร สว. จาก 10 กลุ่มอาชีพ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. สมัครโดยยื่นใบสมัครด้วยตนเอง
  2. สมัครโดยยื่นใบสมัครด้วยตนเองพร้อมหนังสือแนะนำชื่อผู้สมัครจากองค์กร
แต่ละกลุ่มจะแยกอิสระต่อกันในการเลือกกันเองให้ได้มาซึ่ง สว. ดังนี้

การเลือกตั้งระดับอำเภอ  เพื่อให้ได้ผู้สมัคร สว.เป็นผู้แทนอำเภอๆ ละ 60 คน เพื่อเสนอชื่อต่อไปยังระดับจังหวัด แยกเป็น

  1. สมัครด้วยตนเอง ให้เลือกกันเองภายในกลุ่มให้ได้กลุ่มละ 3 คน จำนวน 10 กลุ่ม รวมเป็น  30 คน
  2. สมัครโดยการแนะนำขององค์กร ให้เลือกกันเองภายในกลุ่มให้ได้กลุ่มละ 3 คน  จำนวน 10 กลุ่ม  รวมเป็น 30 คน
การเลือกตั้งระดับจังหวัด เพื่อให้ได้ ผู้สมัคร สว.เป็นผู้แทนจังหวัดๆ ละ 80 คน ได้รับการคัดเลือกเสนอชื่อต่อไปยังระดับประเทศ จำนวน 80 คน แยกเป็น

  1. สมัครด้วยตนเอง ให้เลือกกันเองภายในกลุ่มให้ได้กลุ่มละ 4 คน จำนวน 10 กลุ่ม รวมเป็น  40 คน
  2. สมัครโดยการแนะนำขององค์กร ให้เลือกกันเองภายในกลุ่มให้ได้กลุ่มละ 4 คน  จำนวน 10 กลุ่ม  รวมเป็น 40 คน

จำนวนผู้สมัคร สว. ที่ได้รับเลือกจากการเลือกระดับอำเภอของ จ.ราชบุรี 

ตามประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งระดับจังหวัด จ.ราชบุรี  ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2561 สรุปตามภาพด้านล่าง ดังนี้ 





กลุ่มที่ต้องเลือกให้เหลือ 4 คนในระดับจังหวัด เพื่อส่งต่อไปยังระดับประเทศ  ได้แก่
กลุ่มที่ 1 สมัครด้วยตนเอง จำนวน 16 คน 
กลุ่มที่ 2 สมัครด้วยตนเอง จำนวน 5 คน 
กลุ่มที่ 3 สมัครด้วยตนเอง จำนวน 23 คน 
กลุ่มที่ 4 สมัครด้วยตนเอง จำนวน 18 คน 
กลุ่มที่ 5 สมัครด้วยตนเอง จำนวน 12 คน 
กลุ่มที่ 7 สมัครด้วยตนเอง จำนวน 5 คน 
กลุ่มที่ 8 สมัครด้วยตนเอง จำนวน 19 คน 
กลุ่มที่ 9 สมัครด้วยตนเอง จำนวน 11 คน 
กลุ่มที่ 10 สมัครด้วยตนเอง จำนวน 14 คน 

กลุ่มที่ไม่ต้องเลือกในระดับจังหวัด เสนอในนามจังหวัดราชบุรี ไปยังระดับประเทศได้เลย เพราะไม่เกิน 4 คน
กลุ่มที่ 2 สมัครโดยการแนะนำขององค์กร จำนวน 4 คน 
กลุ่มที่ 3 สมัครโดยการแนะนำขององค์กร จำนวน 1 คน
กลุ่มที่ 4 สมัครโดยการแนะนำขององค์กร  จำนวน 4 คน 
กลุ่มที่ 6 สมัครด้วยตนเอง จำนวน 4 คน
กลุ่มที่ 7 สมัครโดยการแนะนำขององค์กร จำนวน 2 คน 
กลุ่มที่ 8 สมัครโดยการแนะนำขององค์กร จำนวน 1 คน 
กลุ่มที่ 9 สมัครโดยการแนะนำขององค์กร จำนวน 1 คน
กลุ่มที่ 10 สมัครโดยการแนะนำขององค์กร จำนวน 3 คน  

กลุ่มที่ไม่มีคนสมัคร
กลุ่มที่ 1 สมัครโดยการแนะนำขององค์กร 
กลุ่มที่ 5 สมัครโดยการแนะนำขององค์กร 
กลุ่มที่ 6 สมัครโดยการแนะนำขององค์กร 

ผู้สนใจสมัคร สว.ราชบุรี ต่ำกว่าเป้าหมาย
ผู้สนใจสมัคร สว.ราชบุรี ในภาพรวมไม่ถึง ร้อยละ 28.83 จากแผนที่ควรจะเป็น  จากผลการรับสมัคร สว.ใน จ.ราชบุรี แสดงให้เห็นว่าชาวราชบุรี ไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าใดนัก ซึ่งพอที่จะสรุปได้ ดังนี้
  • ด้านผู้ที่สนใจสมัคร สว.ด้วยตนเอง พบว่าเมื่อถึงการเลือกตั้งในระดับจังหวัด ควรจะต้องมีผู้รับสมัคร สว.ทั้งจังหวัด รวม 300 คน (10 อำเภอๆ ละ 30 คน มาจาก 10 กลุ่มๆ ละ 3 คน) แต่กลับมีผู้รับสมัคร เพียง 127 คน คิดเป็นร้อยละ 42.23  หากดูรายละเอียดในรายกลุ่มจะพบดังนี้
    • ด้านที่มีการสมัครมากที่สุด คือ กลุ่มที่ 3 การศึกษาและสาธารณสุข มีผู้สมัคร 23 คน จากที่ควรจะมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 76.67 
    • รองลงมา คือ  กลุ่มที่ 8 กลุุ่มสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น ประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ มีผู้ส3คร 19 คน จากที่ควรจะมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 63.33
    • อันดับ 3 คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง มีผู้สมัคร 16 คน จากที่ควรจะมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 53.33
    • กลุ่มที่มีผู้สมัครน้อยที่สุด คือ กลุ่มที่ 6 กลุ่มประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม  มีผู้สมัคร 4 คน จากที่ควรจะมี 30 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33
  • ด้านสมัครโดยการแนะนำขององค์กร  พบว่าเมื่อถึงการเลือกตั้งในระดับจังหวัด ควรจะต้องมีผู้รับสมัคร สว.ทั้งจังหวัด รวม 300 คน (10 อำเภอๆ ละ 30  คน มาจาก 10 กลุ่มๆ ละ 3 คน) แต่กลับมีผู้รับสมัคร เพียง 16 คน คิดเป็นร้อยละ 5.33  หากดูรายละเอียดในรายกลุ่มจะพบดังนี้
    • ด้านที่มีการสมัครมากที่สุด คือ กลุ่มที่ 2 กลุ่มกฏหมายและกระบวนการยุติธรรม และกลุ่มที่ 4 อาชีพกสิกรรม ปลูกพืชล้มลุก ทำนา ทำสวน ทำไร่   โดยมีผู้สมัครแต่ละกลุ่มละ 4 คน จากที่ควรจะมีกลุ่มละ  300 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 
    • กลุ่มที่ไม่มีผู้สมัครเลย คือ  
      • กลุ่มที่ 1  กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง
      • กลุ่มที่ 5 กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน / อาชีพอิสระ
      • กลุ่มที่ 6 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม
ผู้สมัคร สว.จ.ราชบุรี ที่ได้ไปต่อในระดับประเทศ
ตามประกาศผู้อำนวยการการเลือกระดับประเทศ เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ได้รับการเลือกจากการเลือกตั้งระดับจังหวัด ประเภทวิธีการสมัครโดยยื่นใบสมัครด้วยตนเองพร้อมแสดงหนังสือแนะนำชื่อผู้สมัครจากองค์กร ณ วันที่ 22 ธ.ค.2561 สรุป ผู้แทน จ.ราชบุรี ที่ได้รับการเสนอชื่อในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
  • กลุ่มที่ 1  ไม่มี
  • กลุ่มที่ 2  ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 70 คน ได้แก่
    • ร.ต.ต.ฉลวย  กาญจนานพมาศ อายุ 67 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายชาลี  อู่ตะเภา อายุ 68 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ป.ตรี
    • นายทิวา  ลี้จากภัย อายุ 61 ปี อาชีพ วิชาชีพด้านกฏหมาย วุฒิ ป.โท
    • ส.ต.ต.เสียง  กัลปะ อายุ 65 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
  • กลุ่มที่ 3 ผู้แทน จ.ราชบุรี 1 คน จากทั่วประเทศ 71 คน ได้แก่
    • นายสมบูรณ์  นันทานิช อายุ 63 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ป.ตรี
  • กลุ่มที่ 4 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 52 คน ได้แก่
    • นายกฤษฎา  ให้วัฒนานุกูล อายุ 53 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ป.เอก
    • นายจรัล อรุณคีรีวัฒน์  อายุ 58 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • น.ส.บุญนำ  บุษหมั่น อายุ 61 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายสุทิน  ชฎาดำ อายุ 63 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ป.โท
  • กลุ่มที่ 5 ไม่มี
  • กลุ่มที่ 6 ไม่มี
  • กลุ่มที่ 7 ผู้แทน จ.ราชบุรี 2 คน จากทั่วประเทศ 35 คน ได้แก่
    • นางนราทิพย์  ทองสุข อายุ 56 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ป.โท
    • นายพิชิต ตั้งสุข อายุ 64 ปี อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว วุฒิ ป.โท
  • กลุ่มที่ 8 ผู้แทน จ.ราชบุรี 1 คน จากทั่วประเทศ 107 คน ได้แก่
    • นายสุธน จิตรมั่น อายุ 55 ปี อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว วุฒิ ป.เอก
  • กลุ่มที่ 9 ผู้แทน จ.ราชบุรี จำนวน 1 คน จากทั่วประเทศ 26 คน ได้แก่
    • นายสุเมธ  งามเจริญ อายุ 48 ปี อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว วุฒิ ป.โท
  • กลุ่มที่ 10 ผู้แทน จ.ราชบุรี 3 คน จากทั่วประเทศ 18 คน ได้แก่
    • นายแก้ว แสงอาทิตย์ อายุ 71 ปี อาชีพ อื่นๆ  วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นางขวัญตา นาคนาคา อายุ 56 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ป.ตรี
    • พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช อายุ 71 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
ตามประกาศผู้อำนวยการการเลือกระดับประเทศ เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ได้รับการเลือกจากการเลือกตั้งระดับจังหวัด ประเภทวิธีการสมัครโดยยื่นใบสมัครด้วยตนเอง ณ วันที่ 22 ธ.ค.2561 สรุป ผู้แทน จ.ราชบุรี ที่ได้รับการเสนอชื่อในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
  • กลุ่มที่ 1 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 264 คน ได้แก่
    • นายโกเมท  สุขศรี อายุ 72 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ป.ตรี
    • นายบุญส่ง  พิชญพิธาน อายุ 78 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ป.ตรี
    • นางวรรณวิไล ประสานนาม อายุ 64 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • พ.ต.เสริบศักดิ์ แสงสุข อายุ 57 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ป.เอก
  • กลุ่มที่ 2 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 187 คน ได้แก่
    • พ.ต.อ.ณัฐธพงษ์ ทองนาค อายุ 60 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ป.โท
    • นางเบญจรัตน์  จริยธาราสิทธิ์ อายุ 65 ปี อาชีพ วิชาชีพด้านกฏหมาย วุฒิ ป.โท
    • ร.ต.ท.ประกาศิต สิมหิม อายุ 62 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายประพนธ์  ภาคี วรัญญู อายุ 57 ปี อาชีพ วิชาชีพด้านกฏหมาย วุฒิ ป.โท
  • กลุ่มที่ 3 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 275 คน ได้แก่
    • นายกุศล  จตุรพิธพร อายุ 61 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ป.ตรี
    • นายเฉลา พวงมาลัย อายุ 61 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายยง ดือขุนทด อายุ 72 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายอุดม นุกูล  อายุ 67 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ป.โท
  • กลุ่มที่ 4 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 284 คน ได้แก่
    • นายประกอบ ทรัพย์ยอดแก้ว อายุ 52 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ป.ตรี
    • นายประยูร  วิสุทธิไพศาล อายุ 56 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายสมใจ  ล้วนแก้ว อายุ 59 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายสุพจน์ สิงห์โตศรี อายุ 54 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
  • กลุ่มที่ 5 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 217 คน ได้แก่
    • นายเกษม วิเศษรจนา อายุ 59 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ป.ตรี
    • นายณรงค์ชัย  พุกคำมี อายุ 47 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายนพดล  ชัยเกียรติยศ อายุ 44 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ป.ตรี
    • นายพิชญา ชื่นอารมณ์ อายุ  ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
  • กลุ่มที่ 6 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 149 คน ได้แก่
    • นายทรงพจน์  อ่อนแช่ม อายุ 45 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ป.ตรี
    • นายเมธี  ชีวีวัฒนากูล อายุ 74 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ป.ตรี
    • นางระพี  แหวนเพ็ชร อายุ 56 ปี อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • น.ส.ศิริรัตน์ แต่แดงเพชร อายุ 48 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี 
  • กลุ่มที่ 7 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 227 คน ได้แก่
    • นางมาลัย เทาตัน อายุ 51 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายสัญชัย  กล่อมเกลา อายุ 42 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายสัญญา สิงห์อยู่ อายุ 59 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ป.โท
    • นางสุกัญญา ทรงแสง อายุ 54 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
  • กลุ่มที่ 8 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 276 คน ได้แก่
    • นางใจเอื้อ บุญนาค อายุ 47 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายปราโมทย์  ไพชนม์ อายุ 78 ปี อาชีพ รับราชการ วุฒิ ป.โท
    • น.ส.มัทนา อ่อนธนู อายุ 62 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นางยุพิน ภู่สุวรรณ อายุ 56 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
  • กลุ่มที่ 9 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 187 คน ได้แก่
    • น.ส.กุหลาบ การชาตรี อายุ 48 ปี อาชีพ วิชาชีพด้านการบันเทิง วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายเชาว์ การสมทบ อายุ 70 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายมานพ  อ่ำกิ่ม  อายุ 56 ปี อาชีพ เกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นายสุรพันธ์ ตันกำเนิด อายุ 61 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
  • กลุ่มที่ 10 ผู้แทน จ.ราชบุรี 4 คน จากทั่วประเทศ 228 คน ได้แก่
    • นายธวัชชัย เปลี่ยนศรี อายุ 60 ปี อาชีพเกษตรกร วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นางนีรชา  สุภากรเดช อายุ 56 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • นางอรุณี เจริญยิ่งสุขจินดา อายุ 58 ปี อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
    • น.ส.อุทัย  ชื่นอารมณ์ อายุ 58 ปี อาชีพ อื่นๆ วุฒิ ต่ำกว่า ป.ตรี
ผู้แทน จ.ราชบุรี ที่ได้รับการส่งชื่อต่อเข้าไปคัดเลือก สว.ในระดับประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 56 คน จากคนทั่วประเทศรวม 7,210 คน คงจะต้องฝ่าด่านอีกหลายด่าน ด่านแรกก็คือ ต้องคัดเลือกให้เหลือ 200 คน และด่านสุดท้ายก็ไม่พ้น คสช.ที่จะคัดเลือกให้เหลือเพียง 50 คน ในที่สุด

ขอเอาใจช่วยผู้แทน จ.ราชบุรี ทุกคนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่การแข่งขันเลือก สว. ในระดับประเทศ  ขอให้มีอยู่ใน 50 คนบ้างก็ดีครับ

**********************  

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Ratchaburi's Bomb disposal : การจัดการลูกระเบิดที่ราชบุรี

นายชยาวุธ  จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ฯ ได้ออกประกาศของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์การเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดในแม่น้ำแม่กลอง ฉบับที่ 5  สรุปผลการสำรวจของหน่วยประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ (กปถ.สพ.ทร.) ระหว่างวันที่ 28 พ.ย.-4 ธ.ค.2561 พบว่ามีลูกระเบิดอากาศจมอยู่บริเวณใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ ทั้งหมดจำนวน 7 ลูก และหากจะมีการเก็บกู้ลูกระเบิดเมื่อใดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ขอให้ประชาชนทั่วไปอย่าได้ตื่นตระหนก และขอให้รับฟังข้อมูลข่าวสารจากทางราชการเท่านั้น 


ประกาศของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์การเก็บกู้
เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดในแม่น้ำแม่กลอง ฉบับที่ 5 

ขั้นตอนการค้นหา (Search) ถือว่าประสบผลสำเร็จด้วยดี จากความสามารถของเจ้าหน้าที่ประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ (Navy Diver & EOD) โดยได้พบลูกระเบิดอากาศทั่วไป (General Purpose Bomb : GP bombs) ที่ยังไม่ระเบิด (Unexploded Bombs : UXBs) จำนวน 7 ลูก ซึ่งทราบข่าวเบื้องต้นว่าเป็นลูกระเบิดอากาศของประเทศอังกฤษ การพบลูกระเบิดทั้ง 7 ลูกครั้งนี้ หากเทียบกับกรณีหมูป่าแล้ว ก็เปรียบเสมือนกับการค้นพบทีมหมูป่าเท่านั้น แต่การตัดสินใจที่สำคัญต่อไปก็คือ การที่จะนำทีมหมูป่าออกมาจากถ้ำอย่างปลอดภัยได้อย่างไร




การวินิจฉัย (Identify)
ขั้นตอนการแยกแยะหรือวินิจฉัยนี้ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยปกติแล้ว การพบทุ่นระเบิด (Mine)  วัตถุระเบิด (Explosive) ระเบิดแสวงเครื่อง (IED) หรือสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (UXO) จะห้ามไม่ให้ทำการเคลื่อนย้ายใดๆ ทั้งสิ้นจนกว่าเจ้าหน้าที่ EOD จะได้ทำการวินิจฉัยเสียก่อนว่าจะสามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง   

สำหรับที่ราชบุรีนี้ ถือว่าเป็นการพบ UXBs  ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของไทย และที่ยากขึ้นคือ มันจมอยู่ใต้น้ำระดับความลึกที่ 6-8 เมตร ในตำแหน่งที่ไม่ไกลกันนัก ประกอบกับทัศนวิสัยใต้น้ำที่ถือได้ว่ามองไม่เห็น และอายุของลูกระเบิดก็ปาเข้าไปถึง 73 ปี การปฏิบัติภารกิจเก็บกู้ครั้งนี้จึงถือว่าเป็นภารกิจในระดับที่ยากมาก การวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ EOD จึงมีความสำคัญ พลาดแทบไม่ได้  ลูกระเบิดที่พบนี้ อย่าตั้งสมมติฐานว่าเป็น "ลูกระเบิดที่ด้านแล้ว" ต้องถือว่าเป็น "ลูกระเบิดที่ยังไม่ระเบิด" ดังนั้น การวินิจฉัยจึงถือเป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่ง  

การนิรภัย
โดยทั่วไปหลังจากที่พบลูกระเบิดแล้ว กฏข้อสำคัญข้อหนึ่ง ก็คือ การนิรภัย หมายถึงการทำให้ระเบิดไม่ทำงานหรือเป็นกลาง ด้วยการตัดวงจรระเบิด การปลดหรือถอดชนวน การใส่สลักกลับคืน เป็นต้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย หลังจากนั้นจึงค่อยตัดสินใจว่า จะเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ไปทำลาย ณ พื้นที่ใด แต่หากไม่สามารถนิรภัยได้แล้ว เจ้าหน้าที่ EOD อาจจำเป็นต้องทำลาย ณ ที่พบ ซึ่งการทำลาย ณ ที่พบนี้ เป็นเรื่องที่ต้องมีการจัดระบบป้องกัน (Explosion Protection) แรงอัดระเบิด (Blast) และสะเก็ดระเบิด (fragmentation) เช่น การทำบังเกอร์ป้องกันด้วยกระสอบทราย หรือยางรถยนต์ เป็นต้น


GP 1,000lb Mks I - IV
ที่มาของภาพ
http://ww2data.blogspot.com/2016/12/
british-explosive-ordnance-general.html
ใครควรอยู่ในทีมวินิจฉัย และใครจะเป็นผู้ตัดสินใจ
เนื่องจากลูกระเบิดชนิดนี้ คนรุ่นปัจจุบันอย่างเราไม่ได้เคยสัมผัสจริง คงมีแต่ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดต่อๆ กันมา ทีมวินิจฉัยในครั้งนี้ จึงควรประกอบด้วย
  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านลูกระเบิดอากาศของไทย 
  2. ผู้เชี่ยวชาญด้าน EOD ของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
  3. ผู้เชี่ยวชาญด้านลูกระเบิดอากาศและวิศวกรผู้ออกแบบจากประเทศผู้ผลิตลูกระเบิดนั้นๆ 
เหตุผลก็เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปอย่างรอบคอบจากการระดมสมองของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาสนับสนุน ไม่ควรใช้เพียงแค่ประสบการณ์ที่ผ่านมาแต่อย่างเดียว เพราะหากมีข้อผิดพลาดประการใดเกิดขึ้นแล้ว ยังถือว่าได้ทำตามขั้นตอนมาตรฐานที่ดีที่สุดแล้ว  นอกจากนั้นยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือที่สำคัญระหว่างประเทศที่จะสร้างสันติภาพบนโลกใบนี้ ด้วยการร่วมมือกันเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดที่ตกค้างจากภัยสงครามในอดีตที่ผ่านมา

หลังจากที่ทีมวินิจฉัยนำเสนอข้อมูลแล้ว ผู้ที่จะทำหน้าที่ตัดสินใจต่อไปก็คือ การพิจารณาของคณะกรรมการหรือคณะทำงานที่ถูกแต่งตั้งขึ้น (ซึ่งควรเป็นคณะกรรมการในระดับชาติ) จะต้องมีมติร่วมกันเพื่อตัดสินใจ ว่าจะดำเนินการอย่างไรกันต่อไป

A 4000 lb GP bomb
ที่มาของภาพ
https://en.wikipedia.org/wiki/General-purpose_bomb

หากเคลื่อนย้ายไม่ได้ ต้องทำลายใต้น้ำ ณ จุดที่พบ
หากทีมวินิจฉัย วิเคราะห์แล้วว่า สามารถเคลื่อนย้ายได้ งานเก็บกู้และเคลื่อนย้ายไปทำลาย ณ สถานที่ที่ได้จัดเตรียมไว้ก็ง่ายขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากทีมวินิจฉัย วิเคราะห์ว่าไม่สามารถนิรภัยได้ อาจเกิดการระเบิดขึ้นในขณะเคลื่อนย้าย หากเป็นเช่นนี้ จะเกิดงานตามมาอีกมาก โดยเฉพาะการจัดระบบป้องกันแรงอัดระเบิดและสะเก็ดระเบิดบริเวณใต้แม่น้ำแม่กลอง

ยิ่งมีลูกระเบิดถึง 7 ลูกด้วยแล้ว หากเริ่มทำลายลูกที่ 1 แรงระเบิดจะทำให้เกิด Shock Wave นำพาไปสู่ระเบิดลูกที่ 2,3,4...7 ให้เกิดการระเบิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นโดมิโน หากเป็นเช่นนี้ คงพอจะจินตนาการได้ว่า สะพานจุฬาลงกรณ์ สะพานธนะรัชต์ ตึกรามบ้านช่อง และสถานที่ทำงานบริเวณสองฝากฝั่งแม่น้ำแม่กลอง คงจะกลายเป็นซากปรักหักพังอย่างที่เราเคยเห็นในหนังสงคราม 



สุดท้ายนี้ ก็หวังว่าลูกระเบิดทั้ง 7 ลูกนี้ จะสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย และขอภาวนาให้ภารกิจครั้งนี้ เป็นการ "Search & Recovery" ไม่อยากให้เป็น "Search & Destroy"




***********************   

บทความที่ได้รับความนิยม