วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562

สะพานแขวนข้ามแม่น้ำแม่กลอง Landmark ราชบุรี แห่งใหม่

เป็นที่ทราบชัดเจนแล้วว่า การเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดใต้สะพานจุฬาลงกรณ์จำนวน 7 ลูกนั้น กว่าจะลงมือกันได้ก็คงล่าช้าไปถึงต้นปี พ.ศ.2563 ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย พิจารณาแล้วหากเป็นเช่นนี้โครงการรถไฟทางคู่ กรุงเทพฯ-ชุมพร ซึ่งต้องแล้วเสร็จในสิ้นปี 2563 คงเปิดใช้งานไม่ทันตามกำหนด  เพราะไม่สามารถสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองได้ทันเวลา ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ตามที่วางไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศไทย พ.ศ.2558-2565  

สะพานภูมิพล 1 ยาว 702 เมตร สะพานภูมิพล 2 ยาว 582 เมตร
ก่อสร้างโดย: TNNS Joint Venture, Taisei, Nishimatsu, NKK และ Sino Thai.
ตัดสินใจสร้างสะพานแขวน
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างสะพานจากเดิม ซึ่งคล้ายกับสะพานจุฬาลงกรณ์ เปลี่ยนรูปแบบใหม่เป็น "สะพานแขวน" แทน ซึ่งไม่จำเป็นต้องก่อสร้างตะม่อกลางน้ำให้ไปรบกวนลูกระเบิดทั้ง 7 ลูกอีกต่อไป ส่วนการกู้ระเบิดก็ปล่อยให้ จ.ราชบุรี หาทางเก็บกู้กันต่อไปตามกำหนดเวลา 

ทราบว่าปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังดำเนินการออกแบบใกล้เสร็จแล้ว ซึ่งสถาปัตยกรรมของสะพานแขวนแห่งใหม่นี้ หน้าตาจะเป็นอย่างไร จะผสมผสานและกลมกลืนกับความเป็น "เมืองเก่าราชบุรี" (ดูรายละเอียดเมืองเก่าราชบุรี) ได้แค่ไหนคงต้องคอยติดตามกันต่อไป  

ขอบเขตเมืองเก่าราชบุรี
ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการฯ เมืองเก่าราชบุรี
การก่อสร้างสถาปัตยกรรรมใดๆ ในเขตเมืองเก่าราชบุรี จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจาก "คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าราชบุรี"  ซึ่งมี สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ราชบุรี เป็นหน่วยงานเจ้าเรื่องในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ  

คาดว่าอีกไม่นานนี้ สะพานแขวนข้ามแม่น้ำแม่กลอง Landmark ราชบุรี แห่งใหม่นี้ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยคงจะเสนอรูปแบบให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะดำเนินการสร้างต่อไป 

สะพานพระราม 8 ความยาว: 475 เมตร
ก่อสร้างโดย: Buckland & Taylor
อย่าลืมชาวราชบุรี
หวังว่า ทางคณะอนุกรรมการฯ เมืองเก่าราชบุรี คงจะให้ชาวราชบุรีได้มีส่วนร่วมในการประชาพิจารณ์ต่อรูปแบบของสะพานแขวนแห่งใหม่นี้ ไม่มากก็น้อย เพราะสะพานแขวนแห่งนี้ จะเป็นสัญลักษณ์ที่ยืนตระหง่านคู่บ้านคู่เมืองราชบุรี ไปอีกนานแสนนาน


*******************************
จุฑาคเชน : 17 มิ.ย.2562

ที่มาของภาพ 

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562

บทความทางวิชาการ : การเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ จ.ราชบุรี

บทความทางวิชาการ เรื่อง การเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ จ.ราชบุรี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อ บันทึกเหตุการณ์และแนวทางการดำเนินการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จมอยู่บริเวณใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ จ.ราชบุรี ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจ.ราชบุรี และประเทศไทย และยังถือเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญในแวดวงการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดของโลกอีกด้วย



บทความนี้ มุ่งประสงค์เพื่อให้ทุกคนได้มีความรู้และความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย บทความย่อยต่างๆ ดังนี้
ท่านผู้สนใจศึกษาสามารถเข้าไปคลิก เพื่ออ่านรายละเอียดในแต่ละบทความย่อยที่สนใจได้ และหากท่านใดมีข้อสงสัย หรือข้อเสนอแนะที่คิดว่าเป็นประโยชน์ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ใต้บทความนั้นๆ 

*****************************
ผู้จัดทำ
สถาบันราชบุรี 13 มิ.ย.2562  

ความเป็นมาและความสำคัญ

เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2560 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง กับบริษัทผู้รับจ้างที่ผ่านการคัดเลือกด้านราคาทั้ง 9 สัญญา ประกอบด้วย ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ, ช่วงนครปฐม-หัวหิน, ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร รวมระยะทาง 702 กม. มูลค่าการก่อสร้างทั้งสิ้น รวม 69,531,000,000 บาท

การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. แบ่งออกเป็น 2 สัญญา คือ
  • สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล วงเงิน 8,198,000,000 บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน บริษัท เอ เอส แอสโซซิเอส เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด เป็นผู้รับจ้างสัญญางานก่อสร้าง 
  • สัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน วงเงิน 7,520,000,000 บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน โดย บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้รับจ้างสัญญางานก่อสร้าง
โดยมีกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาบริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้าง โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร (Construction Supervision Consultancy Services : CSCS) เป็นที่ปรึกษา


โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม – หัวหิน จะอยู่ในช่วง กม.47+700 ถึง กม.140+700 ระยะทางประมาณ 93 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม – ชุมพร ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งระบบราง สนับสนุนการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า รองรับจำนวนผู้โดยสารและปริมาณการขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาระบบขนส่ง และโลจิสติกส์ และแผนการพัฒนาต่างๆ ของรัฐบาล ที่สนับสนุนให้มีการใช้ระบบขนส่งระบบราง เพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ลดมลพิษ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และสามารถประหยัดการใช้พลังงานของประเทศในระยะยาว


โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล
ที่มา (การรถไฟแห่งประเทศไทย. 2561)

ในโครงการก่อสร้างดังกล่าว จะมีการก่อสร้างสะพานรถไฟคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 82 สะพาน สะพานรถไฟเหล็กข้ามแม่น้ำแม่กลอง 1 สะพาน สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass) 12 แห่ง และสะพานกลับรถ (U-Turn Bridge) 19 แห่ง 



ในการก่อสร้างสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำแม่กลอง จำนวน 1 สะพาน ก็คือ สะพานรถไฟคู่ขนานกับสะพานจุฬาลงกรณ์เดิม บริเวณ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งจากข้อมูลหลักฐานเบื้องต้น บริษัทฯ ผู้รับจ้างทราบว่า มีลูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังไม่ระเบิดจมอยู่ใต้แม่น้ำแม่กลอง บริเวณแนวที่จะก่อสร้างสะพานรถไฟใหม่ ซึ่งหากมีการก่อสร้างสะพานแล้วอาจจะส่งผลให้ลูกระเบิดดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้น เป็นอันตรายต่อการก่อสร้าง รวมทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สิน บ้านเรือน อาคาร สำนักงาน และสิ่งปลูกสร้างโดยรอบได้ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทฯ ผู้รับจ้าง จึงได้เข้าหารือต่อ นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ให้ช่วยหาแนวทางในการเก็บกู้ลูกระเบิดดังกล่าว ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างต่อไป 

แนวการก่อสร้างสะพานรถไฟทางคู่ใหม่


แนวการก่อสร้างสะพานรถไฟทางคู่ใหม่
ปรับปรุงจาก (การรถไฟแห่งประเทศไทย. 2561)

กระแสข่าวเรื่องการพบลูกระเบิดอากาศที่ยังไม่ระเบิด (Unexploded Bombs : UXBs) สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณใต้สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ กลายเป็นกระแสข่าวดัง เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวเมืองราชบุรีที่อยู่โดยรอบหากเกิดการระเบิดขึ้นมา สื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และโซเซียลมีเดีย ต่างนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ประมาณกลางเดือน สิงหาคม พ.ศ.2561 จนความทราบถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ท่านจึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเก็บกู้ลูกระเบิดนั้นเสีย เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และไม่กีดขวางต่อการสร้างทางรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-หัวหิน ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่

ลูกระเบิดอากาศที่ยังไม่ระเบิด ที่จมอยู่ใต้สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์นี้ เป็นลูกระเบิดที่ตกค้างมาจากสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในต้นปี พ.ศ.2488 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดประสงค์ทำลายสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ เพื่อตัดเส้นทางถอยทัพของกองทัพญี่ปุ่นจากประเทศพม่า ไปยังภาคใต้ของประเทศไทย ผ่านมาเลเซีย ไปยังฐานทัพใหญ่ของญี่ปุ่นที่ประเทศสิงคโปร์ สันนิษฐานว่าลูกระเบิดอากาศที่ถูกทิ้งลงมาเพื่อทำลายสะพานฯ บางลูกไม่ทำงาน จึงปรากฏอยู่ให้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ในการสำรวจของกรมการทหารช่าง เมื่อปี พ.ศ.2548 พบลูกระเบิดอากาศดังกล่าวจำนวน 3 ลูก แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ทราบว่าเป็นลูกระเบิดชนิดใด

ลูกระเบิดอากาศที่พบนี้ ถือว่ายังมีอันตรายอยู่เสมอ พร้อมที่จะระเบิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ เมื่อกระบวนการทำงานครบสมบูรณ์ ไม่มีใครยืนยันได้ว่าลูกระเบิดนี้ด้าน จากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (explosive ordnance disposal : EOD) หลายท่านต่างให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า ต้องตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่า ลูกระเบิดเหล่านี้เป็นลูกระเบิดที่ยังไม่ทำงาน และพร้อมที่จะเกิดระเบิดขึ้นได้ทุกเวลา ดังนั้น การเก็บกู้และทำลายลูกระเบิด จึงมีความสำคัญต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบ และมีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน เพราะไม่สามารถที่จะสร้างสะพานรถไฟคู่ขนานกับสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์เดิมได้ทันตามแผนงานที่กำหนดไว้ ส่งผลกระทบต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 เป็นส่วนรวม 

********************************

การดำเนินการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิด

ในการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ในพื้นที่ จ.ราชบุรี นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้ออกคำสั่งจังหวัดราชบุรี ที่ 2598/2561 แต่งตั้ง "คณะทำงานร่วมเพื่อประสานงานการดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี" ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ที่ได้รับมอบหมาย (นายวีรัส ประเศรษโฐ) เป็นประธานคณะทำงาน มีผู้แทนส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ใน จ.ราชบุรี ร่วมเป็นคณะทำงาน มีนายธีระ รุ่งโรจน์สุวรรณ (วิศวกรโครงการด้านก่อสร้าง) วิศวกรกำกับการกองมาตรฐานงานวิศวกรรมโยธา ฝ่ายโครงการพิเศษและการก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นคณะทำงานและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 
  1. ศึกษาวิเคราะห์ เสนอแนะ การกำหนดมาตรการ แนวทาง และแผนการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในพื้นที่ จ.ราชบุรี อันส่งผลกระทบต่อประชาชน
  2. บูรณาการทุกภาคส่วนในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาจากการดำเนินงานการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในพื้นที่ จ.ราชบุรี
  3. ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ และการแก้ไขปัญหา ตลอดจนประเมินผลกระทบจากการดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในพื้นที่ จ.ราชบุรี เพื่อรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีและผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยทราบ
  4. ให้คณะทำงานฯ มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะทำงานระดับอำเภอ เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่อำเภอแล้วแต่กรณี
ต่อมาคณะทำงานร่วมเพื่อประสานงานการดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ได้มีมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 10 ก.ย.2561 ให้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสำรวจ เก็บกู้ เคลื่อนย้ายและทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง เพื่อทำหน้าที่โดยเฉพาะ นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี จึงได้ออกคำสั่งจังหวัดราชบุรี ที่ 3757/2561 แต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการทำงานเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง" ขึ้นเมื่อวันที่ 10 ต.ค.2561 โดยคณะอนุกรรมการประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ที่ได้รับมอบหมาย (นายวีรัส ประเศรษโฐ) เป็นประธานอนุกรรมการ มีผู้แทนมณฑลทหารบกที่ 16 ผู้แทนกรมสรรพาวุธทหารเรือ และผู้แทนกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นรองประธานอนุกรรมการ มีผู้แทนส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ใน จ.ราชบุรี ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ และมีนายธีระ รุ่งโรจน์สุวรรณ (วิศวกรโครงการด้านก่อสร้าง) วิศวกรกำกับการกองมาตรฐานงานวิศวกรรมโยธา ฝ่ายโครงการพิเศษและการก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็น อนุกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 
  1. ศึกษาวิเคราะห์ เสนอแนะ การกำหนดมาตรการ แนวทาง และแผนการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง รวมถึงบริเวณบนบกเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน
  2. บูรณาการทุกภาคส่วนในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาจากการดำเนินงานเก็บกู้วัตถุระเบิด
  3. ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการไขปัญหา ตลอดจนประเมิน ผลกระทบจากการเก็บกู้วัตถุระเบิด เพื่อรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ผู้ว่าการการรถไฟ แห่งประเทศไทย และคณะทำงานร่วมเพื่อประสานงานการดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ทราบ
คณะอนุกรรมการทำงานเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง ได้จัดให้มีการประชุมจำนวนหลายครั้ง เพื่อหาแนวทางการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิด สรุปได้ ดังนี้ 
  • 25 ต.ค.2561 การประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องประชุมเล็ก ชั้น 3 ศาลากลาง จ.ราชบุรี
  • 15 พ.ย.2561 การประชุม Workshop ซักซ้อมแผนการปฏิบัติงานเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง ณ โรงแรม ณ เวลา ต.ดอนตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี 
  • 26 พ.ย.2561 การประชุม Workshop ครั้งที่ 2 ซักซ้อมแผนการปฏิบัติงานเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง ณ อาคารรับรองพิเศษริมน้ำ กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • 4 ธ.ค.2561 การประชุมสรุปผลการแถลงแผนขั้นตอนการสำรวจวัตถุระเบิดในแม่น้ำ แม่กลอง ณ ห้องประชุม 1 กองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 16 อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • 12 ธ.ค.2561 การประชุมหารือความคืบหน้าในการเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง ณ อาคารรับรองพิเศษริมน้ำ กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • 10 ม.ค.2562 การประชุมหารือความคืบหน้าในการเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง ณ ห้องประชุมเล็ก ชั้น 3 ศาลากลาง จ.ราชบุรี
  • 22 ม.ค.2562 ประชุมเตรียมการเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณสะพานจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ ณ ห้องประชุมโรงแรม ณ.เวลา จ.ราชบุรี
  • 23 ม.ค.2562 การประชุมหารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญประเทศอังกฤษ ณ ห้องประชุม หลวงยกกระบัตร ศาลากลาง จ.ราชบุรี
  • 28 ก.พ.2562 ประชุมสรุปผลการสำรวจพื้นที่ปลอดภัยในแม่น้ำแม่กลองก่อนที่จะนำวัตถุระเบิดขึ้นบกและเคลื่อนย้ายไปทำลาย ณ อาคารรับรองพิเศษริมน้ำ กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • 1 มี.ค.2562 การประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในการเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง ร่วมกับผู้แทน Expeditionary Exploitation Unit ONE (EXU-1) และผู้แทน JUSMAGTHAI ณ โรงแรม ณ เวลา ต.ดอนตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • 19 เม.ย.2562 การประชุมเพื่อพิจารณาให้ความเห็น "รายงานการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) การเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ แม่น้ำแม่กลอง จ.ราชบุรี" ณ โรงแรม ณ เวลา ต.ดอนตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี
ในส่วนของกองประดาน้ำ และถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ มีการปฏิบัติดังนี้ 
  • 26 พ.ย.-4 ธ.ค.2561 ปฏิบัติการดำน้ำสำรวจและค้นหาลูกระเบิด
  • 14-15 ม.ค.2562 ลงดำน้ำสำรวจสภาพลูกระเบิดเพิ่มเติม
ในระหว่างการปฏิบัติการดำน้ำสำรวจและค้นหาลูกระเบิด ของกองประดาน้ำ และถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้ออกคำสั่งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรี ที่ 4460/2561 เรื่อง "จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ การเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดในแม่น้ำแม่กลอง" ขึ้นเมื่อวันที่ 26 พ.ย.2561 โดยจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์การเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดในแม่น้ำแม่กลอง ณ ห้องประชุมเล็ก ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดราชบุรี โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ และอำนาจหน้าที่ โดยสรุปดังนี้

ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ในฐานะผู้อำนวยการจังหวัดราชบุรี เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ (ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550)
ที่ปรึกษา เจ้ากรมการทหารช่าง และอัยการจังหวัดราชบุรี
คณะกรรมการอำนวยการ มีผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานกรรมการ มีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมคณะกรรมการ มี หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ราชบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ ดังนี้
  1. ดำเนินการวางแผน ควบคุม และอำนวยการปฏิบัติเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดในพื้นที่ จ.ราชบุรี เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
  2. ประสานการปฏิบัติในทุกขั้นตอนในการดำเนินการตามแผนฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดเตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ ยานพาหนะ และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
  4. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์
  5. ดำเนินการอื่นๆ ตามความจำเป็น หรือตามที่ผู้อำนวยการศูนย์ฯ สั่งการ
ส่วนปฏิบัติการ ประกอบด้วย
  1. คณะทำงานปฏิบัติการสำรวจ เก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิด มี ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 16 เป็นประธานคณะทำงาน มีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นคณะทำงาน มี หัวหน้ากองยุทธการ มณฑลทหารบกที่ 16 เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
  2. คณะทำงานอพยพและสวัสดิภาพประชาชน มีนายวีรัส ประเศรษโฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานคณะทำงาน มีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และมูลนิธิการกุศลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นคณะทำงาน โดยมี หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ราชบุรี เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
  3. คณะทำงานประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร มี นางอังคณา ชิตะติตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานคณะทำงาน มีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และสื่อมวลชน ที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นคณะทำงาน มี ประชาสัมพันธ์จังหวัดราชบุรี เป็น คณะทำงานและเลขานุการ
ในระหว่างการปฏิบัติการสำรวจและค้นหาทุ่นระเบิด ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์การเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดในแม่น้ำแม่กลอง ได้ออกประกาศเรื่อง การปฏิบัติงานการเก็บกู้วัตถุระเบิดในแม่น้ำแม่กลองด้านใต้สะพานธนะรัชต์ จำนวน 7 ฉบับ โดยในเนื้อหาแต่ละฉบับ เป็นการแจ้งผลการปฏิบัติงานแต่ละวันให้สื่อมวลชนและประชาชนได้ทราบข้อมูลที่แท้จริง ป้องกันการได้รับข้อมูลข่าวสารที่คลาดเคลื่อน อันอาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนได้


การประชุมคณะทำงานปฎิบัติการสำรวจ เก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิด
การประชุมคณะทำงานปฎิบัติการสำรวจ เก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิด


**************************

ด้านความร่วมมือกับต่างประเทศ


เนื่องจากลูกระเบิดอากาศสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่พบผลิตโดยประเทศอังกฤษ และเครื่องบินที่นำมาทิ้งเป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา ทางคณะอนุกรรมการทำงานเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง จึงได้ขอความร่วมมือไปยังมิตรประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอคำแนะนำในการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิด ดังนี้

วันที่ 22-23 ม.ค.2562 ผู้แทนจากประเทศอังกฤษ สำรวจพื้นที่และร่วมประชุมหารือให้ข้อแนะนำกับคณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วย

  1. Colonel Roger Lewis ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารประเทศอังกฤษประจำประเทศไทย
  2. Lieutenant Commander Sean Heaton ผู้เชี่ยวชาญด้านการเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด กองทัพเรืออังกฤษ
  3. Chief Petty Officer (Diving) Kris Fenwick ผู้เชี่ยวชาญด้านการเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด กองทัพเรืออังกฤษ
การประชุมร่วมกับผู้แทนอังกฤษ


การประชุมร่วมกับผู้แทนประเทศอังกฤษ


วันที่ 1 มี.ค.2562 ผู้แทนจากประเทศสหรัฐอเมริกา สำรวจพื้นที่ และร่วมประชุมหารือให้ข้อแนะนำกับคณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วย
  1. Major Jay Malloy ตำแหน่ง Director, Interagency Capabilities ผู้แทนจากคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (JUSMAGTHAI)
  2. Dr.Christopher Cowlin ตำแหน่ง Program Manager, Pacific ผู้แทนจาก Expeditionary Exploitation Unit ONE (EXU-1)
  3. Andrea Finnegan ตำแหน่ง First Secretary ผู้แทน Embassy of United States of America
  4. Karuna Krapoochai (Meen) ตำแหน่ง Executive Assistant, Interagency Capabilities ผู้แทนจากคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (JUSMAGTHAI) 
การประชุมร่วมกับผู้แทนประเทศสหรัฐอเมริกา


การประชุมร่วมกับผู้แทนประเทศสหรัฐอเมริกา


*************************************

การสำรวจและการค้นหาลูกระเบิด

กองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ ดำเนินการดำน้ำสำรวจและค้นหาลูกระเบิดใต้น้ำบริเวณสะพานจุฬาลงกรณ์ ระหว่างวันที่ 27 พ.ย.2561-4 ธ.ค.2561 โดยกำหนดพื้นที่อันตรายต้องสงสัยว่ามีลูกระเบิด (SHA) ห่างจากแนวสะพานจุฬาลงกรณ์ไปทางด้านเหนือน้ำ 100 เมตรและทางด้านท้ายน้ำ 100 เมตร ความกว้างลำน้ำประมาณ 130-150 เมตร รวมพื้นที่ SHA ขนาดประมาณ 30,000 ตร.ม. โดยแบ่งพื้นที่การสำรวจออกเป็นพื้นที่ย่อยๆ จำนวน 8 พื้นที่ (Zone) ตามภาพที่ 2-1 โดยมีผลการดำเนินการในแต่ละวัน ดังนี้ (อาทิตย์ นนทะคุณ. 2562)


พื้นที่การสำรวจและค้นหาตำแหน่งลูกระเบิด
ปรับปรุงจาก (การรถไฟแห่งประเทศไทย. 2562)


  • 27 พ.ย.2561 ดำเนินการวางทุ่นลอย โดยแบ่งพื้นที่ย่อยออกเป็น 8 พื้นที่ (ตามภาพด้านบน)
  • 28 พ.ย.2561 ทำการกวาด (Scan) พื้นที่ใต้น้ำทั้งหมด โดยใช้เครื่องมือ 6 แบบ คือ การ Scan ทางหยาบ, การ Scan ละเอียด, การระบุตำบลที่อยู่, ความสูง/ต่ำ ของสภาพใต้น้ำทั้งหมด จัดทำแผนที่พื้นท้องน้ำด้วยอุปกรณ์ค้นหาใต้น้ำ (Echo Sounder และ Side Scan Sonar) ในส่วนของพื้นที่ 1 พบวัตถุต้องสงสัยจำนวน 4 จุด 
  • 29 พ.ย.2561 ค้นหาและพิสูจน์ทราบ พื้นที่ 1 ทั้งหมด และ พื้นที่ 2 (บางส่วน) ยังไม่พบวัตถุต้องสงสัย
  • 30 พ.ย.2561 ค้นหาและพิสูจน์ทราบ พื้นที่ 2 ต่อจากเมื่อวาน และพื้นที่ 4 พบลูกระเบิดในพื้นที่ 2 จำนวน 3 ลูก ได้ดำเนินการหมายจุดโดยผูกทุ่นลอยสีเหลืองแดงไว้ 
  • 1 ธ.ค.2561 ค้นหาและพิสูจน์ทราบ ในพื้นที่ 4 ต่อจากเมื่อวาน และพื้นที่ 3 ตรวจพบลูกระเบิดในพื้นที่ 4 จำนวน 1 ลูก และพื้นที่ 3 อีก 3 ลูก 
  • 2 ธ.ค.2561 ค้นหาและพิสูจน์ทราบริเวณใต้สะพานรถไฟ และบริเวณใต้สะพานรถยนต์ ไม่พบลูกระเบิดเพิ่มเติม แต่พบหัวรถจักรไอน้ำข้างตะม่อสะพานรถยนต์ด้านฝั่งค่ายภาณุรังษี 
  • 3 ธ.ค.2561 ค้นหาและพิสูจน์ทราบ ในพื้นที่ 5,6,7 และ 8 ไม่พบลูกระเบิดเพิ่มเติม 
  • 4 ธ.ค.2561 สำรวจถ่ายภาพลูกระเบิดใต้น้ำเพิ่มเติม บริเวณพื้นที่ 4 และพื้นที่ 2 เพื่อนำมาประกอบการวางแผนต่อไป 
อุปกรณ์ ตรวจจับและ ค้นหาใต้น้ำ ที่กองประดาน้ำฯ ใช้ในการสำรวจ ได้แก่ 

  1. โซนาร์ค้นหาใต้น้ำ
    1. FORWARD SONAR 
    2. ECHO SOUNDER CUS-118 
    3. ECHO SOUNDER KTN-70AF 
    4. SIDE SCAN SONAR (Yellow Fin) 
    5. SIDE SCAN SONAR (Starfish) 
    6. Diver Navigator Sonar 
  2. เครื่องตรวจโลหะใต้น้ำ (Under water Metal Detector) 
  3. เครื่องระบุตำแหน่ง GPS รุ่น eTrex 30 
  4. อุปกรณ์บันทึกภาพใต้น้ำ 
  5. เครื่องวัดความลึกน้ำ 

อุปกรณ์ในการสำรวจค้นหา
ที่มา (กองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ. 2561)


อุปกรณ์ในการสำรวจค้นหา
ที่มา (กองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ. 2561)


จัดทำแผนที่พื้นท้องน้ำด้วยอุปกรณ์ค้นหาใต้น้ำ (Echo Sounder และ Side Scan Sonar)
ที่มา (กองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ. 2561)

ภาพจากการ Scan ใต้น้ำ แสดงให้เห็นหัวรถจักรที่จมอยู่ด้วย
ที่มา (กองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ. 2561)

การค้นหาและสำรวจใต้น้ำ เมื่อ 27 พ.ย.-4 ธ.ค.2561

การค้นหาและสำรวจใต้น้ำ เมื่อ 27 พ.ย.-4 ธ.ค.2561

การค้นหาและสำรวจใต้น้ำ เมื่อ 27 พ.ย.-4 ธ.ค.2561

การค้นหาและสำรวจใต้น้ำ เมื่อ 27 พ.ย.-4 ธ.ค.2561

การค้นหาและสำรวจใต้น้ำ เมื่อ 27 พ.ย.-4 ธ.ค.2561


*******************************

ตำแหน่งที่พบลูกระเบิด

ผลการสำรวจและค้นหาใต้น้ำ ของกองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ ขั้นต้นสรุปว่า พบลูกระเบิดอากาศที่ยังไม่ระเบิดจมอยู่ใต้น้ำบริเวณสะพานจุฬาลงกรณ์ จำนวน 7 ลูก โดย ลูกระเบิดแต่ละลูก มีตำแหน่งตามพิกัด ดังนี้
  • ลูกที่ 1 พิกัด N 13 องศา 32.489 ลิบดา E 99 องศา 49.502 ลิบดา 
  • ลูกที่ 2 พิกัด N 13 องศา  32.472 ลิบดา E 99 องศา 49.495 ลิบดา 
  • ลูกที่ 3 พิกัด N 13 องศาส 32.470 ลิบดา E 99 องศาส 49.492 ลิบดา 
  • ลูกที่ 4 พิกัด N 13 องศา 32.496 ลิบดา E 99 องศา 49.490 ลิบดา 
  • ลูกที่ 5 พิกัด N 13 องศา 32.477 ลิบดา E 99 องศา 49.456 ลิบดา 
  • ลูกที่ 6 พิกัด N 13 องศา  32.465 ลิบดา E 99 องศา 49.472 ลิบดา 
  • ลูกที่ 7 พิกัด N 13 องศา 32.466 ลิบดา E 99 องศา 49.474 ลิบดา 
ผังตำแหน่งลูกระเบิดที่พบ แสดงตามภาพด้านล่าง

พิกัดตำแหน่งลูกระเบิดที่พบ
ปรับปรุงจาก (กองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ. 2562)

สภาพการมองเห็นใต้น้ำไม่เกิน 30 ซม. ความลึกเฉลี่ย 8 เมตร จุดที่ลึกที่สุด 11 เมตร สภาพพื้นใต้น้ำ เป็นดินเหนียวแข็ง ใต้สะพานมีเสาปูนและก้อนหินขนาดใหญ่ ๆระยะห่างจากตะม่อสะพานจุฬาลงกรณ์ถึงระเบิดลูกที่ 5 ซึ่งใกล้ที่สุด 5 เมตร และกลุ่มลูกระเบิดที่อยู่ไกลสุด 70 เมตร ระยะห่างระหว่าง ลูกระเบิดแต่ละลูก ตามภาพที่ 2-12 สภาพของลูกระเบิดมีสนิมจำนวนมาก โดยเฉพาะชนวนท้าย

ผังสังเขปการวางตัวของลูกระเบิดทั้ง 7 ลูก
โดยใช้วิธีบันทึกพิกัดและวัดระยะทางใน Google Earth
ปรับปรุงจาก (ภาพวาดของกองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ)


ตำแหน่งลูกระเบิดที่ได้ผูกทุ่นลอยไว้

ตำแหน่งลูกระเบิดที่ได้ผูกทุ่นลอยไว้

ลูกระเบิดลูกที่ 1 อยู่บริเวณกลางแม่น้ำ ค่อนไปทางฝั่งค่ายภาณุรังษี ห่างจากสะพานจุฬาลงกรณ์ไปทางด้านท้ายน้ำ ประมาณ 70 เมตร ลูกระเบิดลูกที่ 2 ห่างจากลูกระเบิดลูกที่ 1 มาทางทิศใต้เยื้องไปทางตะวันตก 34 เมตร ลูกระเบิดลูกที่ 3 อยู่ห่างจากลูกระเบิดลูกที่ 2 มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 7 เมตร ลูกระเบิดลูกที่ 7 ห่างจากลูกระเบิดลูกที่ 3 มาทางทิศตะวันตกค่อนทางใต้ 34 เมตร ลูกระเบิดลูกที่ 6 ห่างจากลูกระเบิดลูกที่ 7 มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 6 เมตร ซึ่งลูกระเบิดลูกที่ 6 และ 7 เป็นลูกระเบิดที่อยู่ใกล้กันที่สุด ลูกระเบิดลูกที่ 5 ห่างจากลูกที่ 6 ไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 37 เมตร และอยู่ใกล้ตะม่อสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ด้านฝั่งเมืองราชบุรีเพียง 5 เมตร ลูกระเบิดลูกที่ 4 อยู่ห่างจากลูกระเบิดลูกที่ 5 มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 70 เมตร และห่างจากลูกระเบิดลูกที่ 1 มาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 25 เมตร ตามที่แสดงในภาพด้านบน


****************************************
อ่านต่อ ภาพถ่ายลูกระเบิด
กลับหน้า บทความทางวิชาการ

ภาพถ่ายลูกระเบิด

ที่มา กองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ

ลูกระเบิดลูกที่ 1
ลูกระเบิดลูกที่ 1

ลูกระเบิดลูกที่ 2

ลูกระเบิดลูกที่ 2

ลูกระเบิดลูกที่ 2

ลูกระเบิดลูกที่ 2

ลูกระเบิดลูกที่ 2

ลูกระเบิดลูกที่ 3

ลูกระเบิดลูกที่ 3

ลูกระเบิดลูกที่ 4

ลูกระเบิดลูกที่ 4

ลูกระเบิดลูกที่ 4

ลูกระเบิดลูกที่ 4
ลูกระเบิดลูกที่ 5

ลูกระเบิดลูกที่ 5
ลูกระเบิดลูกที่ 5
ลูกระเบิดลูกที่ 5
ลูกระเบิดลูกที่ 5
ลูกระเบิดลูกที่ 5
ลูกระเบิดลูกที่ 5
ลูกระเบิดลูกที่ 5
ลูกระเบิดลูกที่ 5

ลูกระเบิดลูกที่ 6
ลูกระเบิดลูกที่ 6
ลูกระเบิดลูกที่ 6
ลูกระเบิดลูกที่ 6
ลูกระเบิดลูกที่ 7
ลูกระเบิดลูกที่ 7

**************************

บทความที่ได้รับความนิยม