การจัดองค์กร


ที่ปรึกษาสถาบันราชบุรีศึกษา
ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่สถาบันฯ ในด้านการบริหาร และงานด้านวิชาการต่าง ๆ 

ผู้เชี่ยวชาญ
เป็นกลุ่มนักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่สถาบันราชบุรีศึกษา ได้เรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญของสถาบันฯ  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ เป็นมืออาชีพ มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในแวดวงด้านวิชาการในสาขานั้นๆ รับประกันได้ถึงคุณภาพของงานวิจัยที่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นดำเนินการ รวมทั้งให้การคำปรึกษาที่ได้ผลจริง  มีหน้าที่ใช่วยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และจัดทำงานวิจัยตามที่ได้รับมอบหมายจากสถาบัน ฯ รวมถึงเขียนบทความ รายงานพิเศษ เกี่ยวกับงานด้านวิชาการตามสาขานั้นๆ ให้แก่สถาบันฯ 

เครือข่ายคลังสมองในประเทศและต่างประเทศ
สถาบันประเภทคลังสมอง (Think Tank) ที่สถาบันราชบุรีศึกษา ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) ระหว่างกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนงานวิจัย หรืองานทางวิชาการ และการทำงานวิจัยร่วมกัน

เครือข่ายหน่วยงานและสถาบันด้านวิชาการ

เป็นหน่วยงานและสถาบันด้านวิชาการ ที่สถาบันราชบุรีศึกษา ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) ระหว่างกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องวิชาการ และการจัดการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา งานด้านวิชาการต่างๆ  

คณะผู้บริหารสถาบันราชบุรีศึกษา 
คณะผู้บริหารสถาบันราชบุรีศึกษา  มีหน้าที่บริหารจัดการสถาบันราชบุรีศึกษา ให้เป็นไปตามวัตุประสงค์  ประกอบด้วย
  • ผู้อำนวยการสถาบันราชบุรีศึกษา  : พลตรี ดร.สุชาต  จันทรวงศ์
  • รองผู้อำนวยการสถาบันราชบุรีศึกษา
  • เลขานุการสถาบันราชบุรีศึกษา
  • นักวิชาประจำสถาบัน นายสายัญ ศรีสมุทรนาค
  • นักวิชาประจำสถาบัน นายรุ่งเรือง หวนระลึก
  • นักวิชาประจำสถาบัน
  • เหรัญญิกประจำสถาบัน
  • หัวหน้ากลุ่มงานด้านวิชาการ
  • หัวหน้ากลุ่มงานด้านการจัดการความรู้
  • หัวหน้ากลุ่มงานสนับสนุน

กลุ่มงานด้านวิชาการ
มีหน้าที่
  1. ผลิตงานวิจัย หรือรวบรวมงานวิจัย  ที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ และนโยบายในการพัฒนา จ.ราชบุรี ด้านต่างๆ  มาสังเคราะห์  เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ผู้ที่กำหนดนโยบาย 
  2. ผลิตข่าวเชิงวิเคราะห์  บทความ บทสัมภาษณ์ รายงานพิเศษ จัดทำวารสาร หนังสือ และรายงานผลการวิจัยด้านวิชาการต่างๆ   
  3. ติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศและการพัฒนา จ.ราชบุรี นำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และประเมินผล เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดและดูแลนโยบายด้านนั้นๆ  
  4. ติดตามและประเมินผลนโยบายด้านการพัฒนาของ จ.ราชบุรี 
กลุ่มงานด้านการจัดการความรู้
มีหน้าที่
  1. จัดทำรายงานองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ ประจำปี ของ จ.ราชบุรี
  2. ดำเนินการจัดการความรู้ของ จ.ราชบุรี อย่างเป็นระบบ รวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ของ จ.ราชบุรี ผ่านสื่อต่างๆ แก่สาธารณชน
  3. ทำหน้าที่เชื่อมโยงความรู้ด้านวิชาการ กับ นโยบายสาธารณะในการพัฒนา จ.ราชบุรี
กลุ่มงานสนับสนุน
มีหน้าที่
  1. จัดการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา และกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง 
  2. สร้างเครือข่ายงานการวิจัยระหว่างสถาบันและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง
  3. สนับสนุนตามที่กลุ่มงานด้านวิชาการและกลุ่มงานด้านการจัดการความรู้ร้องขอ

***********************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม