บทสรุปผู้บริหาร
แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)
แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
จัดทำเมื่อ 19 ก.ค.2562
จัดทำเมื่อ 19 ก.ค.2562
________________
โครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television : CCTV) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) เพื่อป้องกันการก่อการร้าย/การก่ออาชญากรรม และเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการรักษาความสงบของเมือง รัฐบาลเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนกระทั่งปัจจุบัน ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 2,220.43 ล้านบาท โดยมีโครงการฯ ที่สำคัญ ดังนี้
- โครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ใน 32 อำเภอ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี 2547 ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ปค.มท.) ใช้งบประมาณ 140 ล้านบาท
- โครงการบูรณาการและติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. เพิ่มเติม ในปี 2550 ของสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย (สป.มท.) ดำเนินการโดย บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง ใช้งบประมาณ 969.40 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้มีปัญหาดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามสัญญา เกิดการฟ้องร้องทางกฎหมาย จนกระทั่ง สป.มท. ต้องจัดจ้าง บจก.ไทยทรานสมิชชั่น อินดัสทรี เข้าดำเนินการแทน
- การจัดทำโครงข่าย IP Link เพื่อเชื่อมโยงระบบสื่อสาร และระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในปี 2556,2559 และ 2560 ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ดำเนินการโดย บจก.สิงห์คอมมิวนิเคชั่น ใช้งบประมาณ 120 ล้านบาท
- โครงการเช่ากล้องและระบบโครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัย ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตเมือง จำนวน 2 ระยะ ในปี 2558 และ ปี 2561 ของ กอ.รมน. ดำเนินการโดย บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม ใช้งบประมาณ 610.14 ล้านบาท
- โครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. จำนวน 3 ระยะ ในปี 2559-2560 ดำเนินการโดย บจก.กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น ใช้งบประมาณ 218.28 ล้านบาท
สถานะของโครงการฯ ในปัจจุบัน
การติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television : CCTV) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) เริ่มมีการติดตั้งในปีงบประมาณ 2547 และ 2548 ใน 32 อำเภอ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ปค.มท.) รวม 516 กล้อง มีการติดตั้งที่ศาลากลางจังหวัด และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จำนวน 128 กล้อง นอกจากนั้นยังมีกล้อง CCTV ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 (กอ.รมน.ภาค 4) จำนวน 60 กล้อง ของเทศบาลเมืองยะลา จำนวน 96 กล้อง และของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 อีกจำนวน 120 กล้อง รวมทั้งสิ้น 920 กล้อง ใช้งบประมาณประมาณ 140 ล้านบาท
ต่อมาในปี พ.ศ.2550 คณะรัฐมนตรี (ชุด พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) ได้มีมติเมื่อ 23 ม.ค.2550 อนุมัติ "โครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้" เพื่อบูรณาการกล้อง CCTV ที่มีอยู่เดิม (920 กล้อง) และกล้อง CCTV ที่จะติดตั้งใหม่ (3,520 กล้อง) ในพื้นที่ จชต. โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ดังนี้
โครงการฯ ดังกล่าวได้แบ่งมอบความรับผิดชอบให้หน่วยงานต่างๆ ดังนี้
ตารางที่ 1 แผนการติดตั้งกล้อง CCTV ใหม่ตามโครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ 5 จชต. (ปีงบประมาณ 2550)
บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง คู่สัญญาไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด จึงได้แจ้งยกเลิกสัญญาไปยัง สป.มท. เมื่อ 22 ก.ค.2552 โดยอ้างเหตุผลดังนี้
ต่อมา บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง ได้ยื่นฟ้อง สง.ปท.มท. และ มท. ต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2552 ขอให้ มท. ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ บริษัทฯ จำนวน 2,500 ล้านบาท
จ้างบริษัทฯ ใหม่
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ
จากปัญหาของโครงการที่กล่าวมาแล้ว คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาศึกษาและตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ได้เสนอบทสรุปและข้อเสนอแนะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ดังนี้ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2554)
โครงข่าย IP LINK
ต่อมาในปีงบประมาณ 2558 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มีการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( จชต.) ด้วยระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ดังนี้
โครงการเช่ากล้องและระบบโครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัย ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตเมือง จำนวน 2 ระยะ ดำเนินการโดย บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม ดังนี้
โครงการนี้ กอ.รมน.ภาค 4 มีแผนเสนอความต้องการมาตั้งเดือน ส.ค.2560 แต่ไม่ได้รับการพิจารณา และกำลังจะเสนอความต้องการใหม่ในปีงบประมาณ 2563 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,986,855,000 บาท (ตามมติการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2562) โดยเป็นการเช่าระบบจากภาคเอกชน จำนวน 5 ปี ตามรายละเอียดในตารางที่ 2 ในโครงการมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางกล้องโทรทัศน์วงจรปิดจำนวน 3 ศูนย์ และติดตั้งกล้อง CCTV ใหม่จำนวน 4,511 กล้อง ดังนี้
หลังจากเสร็จสิ้นโครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ระยะที่ 3 ซึ่งดำเนินการโดย บจก.กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น แล้ว ระบบยังไม่สามารถบูรณาการกล้องได้โดยสมบูรณ์ อาทิ ระบบบริหารจัดการภาพ (VMS) การนำกล้องเข้าสู่ Server กล้องบางตัวไม่สามารถดูภาพได้ การบันทึกภาพจากกล้องในระบบ Server ระบบการเชื่อมโครงข่ายมีปัญหาเนื่องจากความเร็วในการส่งข้อมูล (Bandwidth) ไม่เพียงพอ สาเหตุจากข้อมูลรายละเอียดทางเทคนิคที่กำหนด ไม่ตรงกับข้อมูลจริงในการปฏิบัติงาน บริษัทฯ ต้องปรับแก้ไขไปตามสภาพงาน เป็นต้น
ส่วนการเช่ากล้องและระบบจาก บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม เป็นเวลา 5 ปีนั้น สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กล้องสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ไม่เป็นภาระกับทางราชการในการจัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุม CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งไม่ต้องคอยดูแลบำรุงรักษาและการซ่อมแซมระบบ เพราะบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินการแทนทั้งหมด
ความพยายามที่จะบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้มีประสิทธิภาพ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2556 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน พ.ศ.2562 มีการจัดทำ “แผนแม่บทระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. พ.ศ.2561-2565” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปัจจุบันมีจำนวนกล้องที่ต้องนำเข้าระบบบูรณาการถึง 6,665 กล้อง ซึ่งเป็นของหลายหน่วยงาน หลายยี่ห้อ หลายอายุการใช้งาน เข้าด้วยกัน มีการจัดตั้งศูนย์ควบคุม CCTV เป็นส่วนรวมในหลายระดับ จำนวน 46 ศูนย์ แต่ ณ ปัจจุบัน ยังคงเกิดปัญหาขึ้นหลายประการตามที่ คณะกรรมการฯ และหน่วยงานต่างๆ ได้สรุปไว้
หากจะมีการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ (Smart CCTV) ต่อไป องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ที่ควรนำมาใช้ในการพัฒนา คือ 1) การออกแบบระบบ CCTV /เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ 2) การใช้ระเบียบและวิธีการบริหารจัดการที่ฉลาด 3) การนำหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาช่วยพิจารณาวางแผน
จากการพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คณะผู้จัดทำได้เสนอข้อควรปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการบูรณาการกล้อง CCTV ในพื้นที่ จชต. ดังนี้
- กล้อง CCTV ในเขตพื้นที่อำเภอ ควรเชื่อมโยงกันด้วยระบบสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เพราะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องความเร็วในการส่งข้อมูล (Bandwidth)
- ศูนย์ควบคุม CCTV ทั้ง 46 ศูนย์ ควรเชื่อมโยงกันด้วยระบบ Government Information Network (GIN) เพราะมีข้อจำกัดในเรื่อง Bandwidth
- การบันทึกภาพให้ทำการบันทึกเฉพาะที่ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอเท่านั้น ส่วนศูนย์ควบคุม CCTV ระดับจังหวัด ระดับหน่วยเฉพาะกิจ และระดับหน่วยบูรณาการ ไม่ต้องมีระบบบันทึกภาพ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและทรัพยากรโดยไม่จำเป็น แต่ยังสามารถเรียกดูภาพสดหรือภาพย้อนหลังได้ตามต้องการ
- เทคโนโลยี โปรแกรม และอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ควรมีมาตรฐานเดียวกัน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตามที่กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กำหนด
- ดำเนินการคัดเลือกระบบบริหารจัดการที่ฉลาดมาใช้ เช่น ระเบียบวิธีจัดการข้อมูลภาพ โปรแกรมบริหารจัดการศูนย์ควบคุม CCTV โปรแกรมประเภทปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) เป็นต้น
- จัดให้มีการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ภายในศูนย์ควบคุม CCTV ในทุกระดับ
- ควรพิจารณาจุดติดตั้งกล้อง โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับอาชญากรรมวิทยามาพิจารณาประกอบรวมทั้งออกแบบระบบภาพที่จะแสดงในศูนย์ควบคุม CCTV ในแต่ละระดับให้ชัดเจน
หากมีการดำเนินโครงการพัฒนาและบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. สู่ความเป็น Smart CCTV ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยใช้งบประมาณให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ควรมีนโยบายหลักสำคัญที่ใช้ในการพิจารณา ดังนี้
- ควรมีสถาบันหรือวิศวกรที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและได้การรับรองจากทางราชการ ดำเนินการออกแบบระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เต็มรูปแบบ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วเป็นพื้นฐานในการออกแบบ เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการเขียน TOR ระยะต่างๆ ต่อไป
- ทยอยเปลี่ยนจาก "การซื้อระบบและบริหารจัดการเอง" เป็นการ "เช่าระบบจากเอกชน" แทน เพื่อตัดปัญหาด้านเจ้าหน้าที่ควบคุม CCTV การดูแลบำรุงรักษาระบบ และประสิทธิภาพของการใช้งาน ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณของแผ่นดินที่ต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการซื้อระบบ และไม่เป็นภาระในดูแลรักษาและการซ่อมบำรุง
สำหรับในตัวโครงการฯ อาจต้องมีการทบทวนความจำเป็นและความคุ้มค่าของโครงการฯ ให้ชัดเจน เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ผลของการตัดสินใจล้วนมีความผูกพันต่องบประมาณแผ่นดินเป็นเวลาหลายปี ซึ่งอาจมีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการในอนาคตอีกด้วย
ความเร่งด่วนในการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ในปัจจุบันที่ควรพิจารณาคือ การรีบดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงโครงการระยะที่ 3 ให้เสร็จสมบูรณ์ ก่อนที่จะดำเนินการโครงการฯ ในระยะที่ 4 ต่อไป
***************************
ความเป็นมาการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television : CCTV) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) เริ่มมีการติดตั้งในปีงบประมาณ 2547 และ 2548 ใน 32 อำเภอ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ปค.มท.) รวม 516 กล้อง มีการติดตั้งที่ศาลากลางจังหวัด และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จำนวน 128 กล้อง นอกจากนั้นยังมีกล้อง CCTV ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 (กอ.รมน.ภาค 4) จำนวน 60 กล้อง ของเทศบาลเมืองยะลา จำนวน 96 กล้อง และของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 อีกจำนวน 120 กล้อง รวมทั้งสิ้น 920 กล้อง ใช้งบประมาณประมาณ 140 ล้านบาท
ต่อมาในปี พ.ศ.2550 คณะรัฐมนตรี (ชุด พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) ได้มีมติเมื่อ 23 ม.ค.2550 อนุมัติ "โครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้" เพื่อบูรณาการกล้อง CCTV ที่มีอยู่เดิม (920 กล้อง) และกล้อง CCTV ที่จะติดตั้งใหม่ (3,520 กล้อง) ในพื้นที่ จชต. โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ดังนี้
- เพื่อพัฒนาศักยภาพในการป้องกัน ควบคุม และรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชน และชุมชนสถานที่ราชการที่สำคัญ สาธารณสถาน เช่น วัด โรงเรียน และสาธารณสมบัติ ได้แก่ เสาส่งสัญญาณ ตู้โทรศัพท์สาธารณะ
- เพื่อเฝ้าระวังจุดยุทธศาสตร์ ในอำเภอต่างๆ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีสถานการณ์รุนแรงมาก
- เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ก่อความไม่สงบ
- สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย (สป.มท.) เป็นหน่วยงานผู้ขอตั้งงบประมาณและงบประมาณบำรุงรักษา
- กอ.รมน.ภาค 4 รับผิดชอบจัดทำข้อกำหนดของผู้ว่าจ้างและขอบเขตของงาน ( Term of Reference : TOR) จุดติดตั้ง รวมทั้งเป็นศูนย์บัญชาการทุกพื้นที่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
- ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นศูนย์เฝ้าติดตามสถานการณ์
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เป็นศูนย์ควบคุมระบบ CCTV หลัก ระดับอำเภอและเฝ้าระวังสถานการณ์
- กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ปค.มท.) รับผิดชอบเป็นศูนย์ควบคุมระบบ CCTV รอง ระดับอำเภอ และสำรองข้อมูลฉุกเฉิน
ตารางที่ 1 แผนการติดตั้งกล้อง CCTV ใหม่ตามโครงการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ 5 จชต. (ปีงบประมาณ 2550)
ลำดับ
|
อำเภอ
|
จังหวัด
|
ประเภทกล้อง
|
หมายเหตุ
|
|||
Fix Camera
|
Pan
Tilt&Zoom (PTZ) |
Infrared
(IR)
|
รวมทั้งสิ้น
|
||||
1
|
เมือง
|
ปัตตานี
|
320
|
5
|
3
|
328
|
|
2
|
หนองจิก
|
80
|
2
|
2
|
84
|
||
3
|
ยะรัง
|
48
|
0
|
0
|
48
|
||
4
|
โคกโพธิ์
|
80
|
2
|
1
|
83
|
||
5
|
ยะหริ่ง
|
48
|
1
|
0
|
49
|
||
6
|
สายบุรี
|
80
|
4
|
1
|
85
|
||
7
|
มายอ
|
79
|
3
|
3
|
85
|
||
8
|
ปานาเระ
|
60
|
1
|
1
|
62
|
||
9
|
ไม้แก่น
|
60
|
3
|
3
|
66
|
||
10
|
ทุ่งยางแดง
|
32
|
1
|
1
|
34
|
||
11
|
กะพ้อ
|
32
|
1
|
1
|
34
|
||
12
|
แม่ลาน
|
32
|
0
|
0
|
32
|
||
รวม
|
951
|
23
|
16
|
990
|
|||
1
|
เมือง
|
ยะลา
|
300
|
2
|
2
|
304
|
|
2
|
รามัน
|
48
|
1
|
1
|
50
|
||
3
|
ยะพา
|
48
|
0
|
0
|
48
|
||
4
|
กาบัง
|
32
|
0
|
0
|
32
|
||
5
|
กรงปินัง
|
48
|
0
|
0
|
48
|
||
6
|
ธารโต
|
48
|
0
|
0
|
48
|
||
7
|
บันนังสตา
|
32
|
0
|
0
|
32
|
||
8
|
เบตง
|
32
|
1
|
1
|
34
|
||
รวม
|
588
|
4
|
4
|
596
|
|||
1
|
เมือง
|
นราธิวาส
|
64
|
5
|
5
|
330
|
|
2
|
สุไหงโกลก
|
64
|
1
|
1
|
66
|
||
3
|
ตากใบ
|
48
|
1
|
1
|
66
|
||
4
|
ศรีสาคร
|
48
|
1
|
1
|
50
|
||
5
|
รือเสาะ
|
48
|
0
|
0
|
48
|
||
6
|
ยี่งอ
|
48
|
1
|
1
|
50
|
||
7
|
สุไหงปาดี
|
64
|
0
|
0
|
64
|
||
8
|
ระแงะ
|
64
|
3
|
3
|
70
|
||
9
|
เจาะไอร้อง
|
80
|
5
|
5
|
90
|
||
10
|
บาเจาะ
|
48
|
0
|
0
|
48
|
||
11
|
แว้ง
|
48
|
1
|
1
|
50
|
||
12
|
สุคิริน
|
48
|
0
|
0
|
48
|
||
13
|
จะแนะ
|
48
|
0
|
0
|
48
|
||
รวม
|
992
|
18
|
18
|
1,028
|
|||
1
|
เมือง
|
สงขลา
|
234
|
7
|
7
|
248
|
|
2
|
หาดใหญ่
|
320
|
6
|
6
|
332
|
||
3
|
สะบ้าย้อย
|
48
|
2
|
2
|
52
|
||
4
|
นาทวี
|
48
|
2
|
2
|
52
|
||
5
|
จะนะ
|
48
|
2
|
2
|
52
|
||
6
|
เทพา
|
48
|
2
|
2
|
52
|
||
7
|
สะเดา
|
32
|
1
|
1
|
34
|
||
8
|
นาหม่อม
|
48
|
2
|
2
|
52
|
||
รวม
|
826
|
24
|
24
|
874
|
|||
1
|
เมือง
|
สตูล
|
32
|
0
|
0
|
32
|
|
รวม
|
32
|
0
|
0
|
32
|
|||
รวมทั้งสิ้น
|
42 อำเภอ
|
5
จังหวัด
|
3,389
|
69
|
62
|
3,520
|
|
หมายเหตุ
ติดตั้งกล้อง CCTV
พรางตาฝ่ายตรงข้าม (Disguise Camera) อีกจำนวน
7,000 กล้อง
|
บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง คู่สัญญาไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด จึงได้แจ้งยกเลิกสัญญาไปยัง สป.มท. เมื่อ 22 ก.ค.2552 โดยอ้างเหตุผลดังนี้
- ข้อกำหนดของผู้ว่าจ้างและขอบเขตของงาน (TOR) ไม่ชัดเจน
- ใน TOR ประมาณการวางสายเคเบิลใยแก้วไว้เพียง 1,800 กิโลเมตร แต่การปฏิบัติจริงกลับต้องใช้จริงถึง 3,800 กิโลเมตร
- ในสัญญาไม่ได้กำหนดจุดติดตั้งกล้อง CCTV ที่ชัดเจน
- คณะกรรมการตรวจรับพัสดุที่แต่งตั้งจาก มท. ไม่เข้าไปตรวจรับงาน
- กรรมการตรวจรับพัสดุ จ.สงขลา ไม่รับงาน
ต่อมา บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง ได้ยื่นฟ้อง สง.ปท.มท. และ มท. ต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2552 ขอให้ มท. ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ บริษัทฯ จำนวน 2,500 ล้านบาท
จ้างบริษัทฯ ใหม่
หลังจาก สป.มท. บอกเลิกสัญญากับ บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง เป็นเงิน 969,400,00 บาท เมื่อ 7 ก.ย.2552 เนื่องจากไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนด จึงได้ดำเนินการจัดซื้อใหม่โดยวิธีพิเศษ กับ บจก.สามารถคอมเทค เป็นเงิน 1,065,078,000 บาท แต่จากการทวงติงของสำนักงบประมาณ สป.มท.จึงได้ยกเลิกการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ กับ บจก.สามารถคอมเทค จากนั้น ได้มีการปรับปรุงขอบเขตของงาน (TOR) ใหม่ แล้วดำเนินการจัดหาโดยวิธีพิเศษอีกครั้ง กับ บจก.ไทยทรานสมิชชั่น อินดัสทรี เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งและวางระบบแทน เป็นเงิน 960,000,000 บาท กำหนดส่งมอบระบบภายใน 360 วัน โดยผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2550-2555
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ
จากปัญหาของโครงการที่กล่าวมาแล้ว คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาศึกษาและตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ได้เสนอบทสรุปและข้อเสนอแนะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ดังนี้ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2554)
- รัฐบาลควรผลักดันหรือสนับสนุนให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าต่อไป โดยหาบริษัทฯ รายใหม่ แทนรายเดิมและสานต่อโครงการดังกล่าวต่อไปอย่างเร่งด่วน
- ขอให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับ บจก.ดิจิตอลรีเสิร์ช คอนซัลทิ่ง คู่สัญญารายเดิมและเรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าชดเชยที่กระทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ
- ขอให้รัฐบาลดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการดังกล่าวเป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากโครงการนี้ส่อว่าจะมีการทุจริต โดยมีแนวโน้มเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทคู่สัญญารายเดิม
- กรณีเมื่อมีการดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อ ขอให้รัฐบาลหรือสำนักงาน สป.มท. พิจารณาปรับปรุงระบบการรับ-ส่งสัญญาณ จากการวางสายเคเบิ้ลใยแก้วเปลี่ยนมาใช้ระบบไร้สายหรือ Wireless แทน
- ขอให้พิจารณาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการวางเครือข่ายการเชื่อมโยงจากเดิมเครือข่ายต้องมีการเชื่อมโยง ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการที่ใหญ่เกินไป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน โดยขอให้เปลี่ยนเป็นเป็นวางเครือข่ายเชื่อมโยงเฉพาะภายในจังหวัด โดยให้แต่ละจังหวัดติดตั้งระบบเชื่อมโยงเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดเท่านั้น
ในปีงบประมาณ 2556 กอ.รมน. เริ่มจัดทำโครงข่ายข้อมูลผ่าน IP LINK ใช้งบประมาณ 40,000,000 บาท ผู้รับจ้างติดตั้งและวางระบบ ได้แก่ บจก.สิงห์คอมมิวนิเคชั่น และยังได้จัดซื้ออุปกรณ์เสริมประสิทธิภาพระบบเฝ้าตรวจ พร้อมอุปกรณ์ประกอบอีก 40,000,000 บาท ในปีงบประมาณ 2559 และอีก 40,000,000 บาท ในปีงบประมาณ 2560 จาก บจก.สิงห์คอมมิวนิเคชั่น ตามลำดับ
ต่อมาในปีงบประมาณ 2558 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มีการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( จชต.) ด้วยระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ดังนี้
โครงการเช่ากล้องและระบบโครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัย ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตเมือง จำนวน 2 ระยะ ดำเนินการโดย บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม ดังนี้
- ระยะที่ 1 ติดตั้งกล้อง 195 กล้อง บริเวณ อ.เมือง จ.ยะลา งบประมาณ 97 ล้านบาท เริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ.2558
- ระยะที่ 2 เช่ากล้องและระบบ จำนวน 1,835 กล้องพร้อมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์ควบคุมฯ จาก บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม บริเวณ 6 เมืองหลัก ประกอบด้วย อ.เบตง จ.ยะลา อ.เมืองปัตตานี อ.เมือง อ.สุไหงโก-ลก อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ ศชต.อ.เมืองยะลา โดย กอ.รมน. เป็นผู้เช่า จ่ายค่าเช่าเดือนละ 10,169,151.60 บาท จำนวน 60 เดือน รวมค่าเช่า ทั้งหมด 610,149,096 บาท สัญญาเช่าตั้งแต่ พ.ศ.2561-2565
- ระยะที่ 1 จัดตั้งศูนย์ควบคุม 27 ศูนย์ และเชื่อมโยงเครือข่าย Government Information Network (GIN) งบประมาณ 63,807,600 บาท แล้วเสร็จเมื่อ 9 ก.ค.2559
- ระยะที่ 2 จัดตั้งศูนย์ควบคุม 11 ศูนย์ เชื่อมโยงเครือข่าย GIN และติดตั้งระบบควบคุมสัญญาณแบบรวมการ งบประมาณ 94,500,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อ 5 พ.ค.2560
- ระยะที่ 3 จัดตั้งศูนย์ ฉก.จังหวัด ฉก.นย. และระบบอ่านป้ายทะเบียน งบประมาณ 59,980,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อ 26 ส.ค.2560
โครงการนี้ กอ.รมน.ภาค 4 มีแผนเสนอความต้องการมาตั้งเดือน ส.ค.2560 แต่ไม่ได้รับการพิจารณา และกำลังจะเสนอความต้องการใหม่ในปีงบประมาณ 2563 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,986,855,000 บาท (ตามมติการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2562) โดยเป็นการเช่าระบบจากภาคเอกชน จำนวน 5 ปี ตามรายละเอียดในตารางที่ 2 ในโครงการมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางกล้องโทรทัศน์วงจรปิดจำนวน 3 ศูนย์ และติดตั้งกล้อง CCTV ใหม่จำนวน 4,511 กล้อง ดังนี้
- สถานที่และ/หรือเป้าหมายสำคัญที่ล่อแหลมต่อการก่อเหตุ จำนวน 1,701 กล้อง
- ปมคมนาคมหลักและเขตติดต่อระหว่างอำเภอ จำนวน 1,190 กล้อง
- หมู่บ้านยุทธศาสตร์ 162 หมู่บ้าน จำนวน 1,620 กล้อง
ตารางที่ 2 แผนการใช้งบประมาณโครงการบูรณาการระบบกล้อง CCTV)ในพื้นที่ จชต. (ระยะที่ 4)
รายละเอียดการเช่า
|
ค่าเช่าต่อปี (บาท)
|
||||
ปีที่
1
|
ปีที่
2
|
ปีที่
3
|
ปีที่
4
|
ปีที่
5
|
|
เช่ากล้อง
4,511 กล้อง
|
233,311,000
|
233,311,000
|
233,311,000
|
233,311,000
|
233,311,000
|
เช่าเครือข่ายและระบบบริหารจัดการ
|
62,060,000
|
62,060,000
|
62,060,000
|
62,060,000
|
62,060,000
|
จัดให้บริการศูนย์ข้อมูลกลาง
3 ศูนย์
|
330,000,000
(รวมค่าจัดตั้งศูนย์)
|
45,000,000
|
45,000,000
|
45,000,000
|
45,000,000
|
รวม
|
625,371,000
|
340,371,000
|
340,371,000
|
340,371,000
|
340,371,000
|
รวมทั้งโครงการ
|
1,986,855,000
|
งบประมาณที่ใช้
คณะผู้จัดทำ ได้พยายามรวบรวมงบประมาณที่ทุกส่วนราชการ ได้ใช้ไปในโครงการติดตั้งและวางระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ที่ผ่านมา เท่าที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ รวมทั้งสิ้น 2,220.43 ล้านบาท แยกเป็น
- ปีงบประมาณ 2547-2548 จำนวน 140 ล้านบาท
- ปีงบประมาณ 2550-2555 จำนวน 960 ล้านบาท
- ปีงบประมาณ 2556 จำนวน 40 ล้านบาท
- ปีงบประมาณ 2558-2562 จำนวน 714.37 ล้านบาท
- ผูกพันงบประมาณ ปี 2563-2565 จำนวน 366.06 ล้านบาท
ผลจากการดำเนินโครงการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. และ 5 อำเภอ ใน จ.สงขลา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 จนกระทั่งปัจจุบัน มีศูนย์ควบคุมกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) จำนวน 46 ศูนย์ แยกเป็น (ดูรายละเอียดในตารางที่ 3)
- ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับบูรณาการ จำนวน 3 แห่ง
- ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับหน่วยเฉพาะกิจ จำนวน 5 แห่ง
- ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับจังหวัด จำนวน 3 แห่ง
- ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอ จำนวน 35 แห่ง
ศูนย์ควบคุมกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
(CCTV)
ในพื้นที่ จชต.และ 5 อำเภอ จ.สงขลา
|
|||||
ระดับควบคุม
|
หน่วย/ที่ตั้ง
|
รวม
(แห่ง) |
|||
ศูนย์ควบคุมระดับบูรณาการ
|
1. สำนักการข่าว
กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า (ค่ายสิรินธร จ.ยะลา)
2. ศูนย์ปฏิบัติการณ์ตำรวจจังหวัดชายแดนภายใต้
(ศชต.)*
(อ.เมือง จ.ยะลา)
3. นฝต.ขกท.สน.จชต.
(อ.หนองจิก จ.ปัตตานี)
|
3
|
|||
ศูนย์ควบคุมระดับหน่วยเฉพาะกิจ
|
ฉก.ปัตตานี
ค่ายจุฬาภรณ์
|
ฉก.นราธิวาส
ฉก.นย.ทร.
(ค่ายจุฬาภรณ์)
|
ฉก.ยะลา
|
ฉก.สงชลา
(อ.เทพา)
|
5
|
ศูนย์ควบคุมระดับจังหวัด
|
สภ.เมืองปัตตานี*
|
สภ.เมืองนราธิวาส*
|
สภ.เมืองยะลา
|
-
|
3
|
ศูนย์ควบคุมระดับอำเภอ
|
1. สภ.หนองจิก
2. สภ.โคกโพธิ์
3. สภ.ยะรัง
4. สภ.ยะหริ่ง
5. สภ.ปะนาเระ
6. สภ.สายบุรี
7. สภ.มายอ
8. สภ.ทุ่งยางแดง
9. สภ.กะพ้อ
10.
สภ.แม่ลาน
11.
สภ.ไม้แก่น2
|
1. สภ.ยี่งอ
2. สภ.บาเจาะ
3. สภ.ตากใบ*
4. สภ.สุไหงโก-ลก*
5. สภ.สุไหงปาดี
6. สภ.เจาะไอร้อง
7. สภ.ศรีสาคร
8. สภ.จะแนะ
9. สภ.ระแงะ
10. สภ.รือเสาะ
11. สภ.แว้ง
12. สภ.สุคริน
|
1. สภ.ยะหา
2. สภ.กรงปินัง
3. สภ.รามัน
4. สภ.บันนังสตา
5. สภ.ธารโต
6. สภ.
กาบัง
7. สภ.เบตง*
|
1. สภ.เทพา
2. สภ.สะบ้าย้อย
3. สภ.นาทวี
4. สภ.จะนะ
5. สภ.หาดใหญ่*
|
35
|
หมายเหตุ
*เช่าระบบพร้อมเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ จาก บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้
ซีสเต็ม ส่วนศูนย์ควบคุม CCTVที่เหลือเป็นการจัดซื้อระบบและบริหารจัดการเอง
|
ภาพที่ 1 แผนการบูรณาการเชื่อมโยงสัญญาณศูนย์ควบคุม 46 ศูนย์ ในพื้นที่ จชต.
(ที่มา : ศูนย์ CCTV สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน . 2562. สไลด์ประกอบการบรรยาย)
ภาพที่ 2 ระบบโครงข่ายเชื่อมโยงศูนย์ควบคุม CCTV จำนวน 46 ศูนย์ ในพื้นที่ จชต.
(ที่มา : ศูนย์ CCTV สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน . 2562. สไลด์ประกอบการบรรยาย)
จากรายงานของคณะทำงานบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. เมื่อ 27 ธ.ค.2561 ระบุว่าจำนวนกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่อยู่ในระบบบูรณาการในพื้นที่ จชต. มีจำนวนทั้งสิ้น 6,665 กล้อง เป็นกล้อง IP จำนวน 6,483 กล้อง กล้อง LPR จำนวน 182 กล้ง รายละเอียดตามตาราง ที่ 4 และ 5
ตารางที่ 4 จำนวนกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่อยู่ในโครงการบูรณาการ ในพื้นที่ จชต.และ 5 อำเภอ จ.สงขลา
ลำดับ
|
หน่วยเจ้าของกล้อง
|
กล้อง
IP
|
กล้อง
LPR
|
รวม
|
ใช้ได้
|
ใช้ได้ร้อยละ
|
1
|
สป.มท.
|
3,568
|
-
|
3,568
|
3,328
|
93.27
|
2
|
ปค.มท.
|
96
|
-
|
96
|
96
|
100
|
3
|
ศอ.บต.
|
196
|
-
|
196
|
196
|
100
|
4
|
สถ.มท.
|
476
|
-
|
476
|
476
|
100
|
5
|
กกล.ตร.จชต.
|
1,940
|
90
|
2,030
|
2,030
|
100
|
6
|
กอ.รมน.ภาค
4 สน.
|
207
|
92
|
299
|
299
|
100
|
6,483
|
182
|
6,665
|
6,425
|
96.39
|
||
ที่มาข้อมูล สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ณ วันที่ 21
มิ.ย.2562
คำย่อ :
สป.มท.
(สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย)
ปค.มท.(กรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย)
สถ.มท.(กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย)
ศอ.บต.(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
กกล.ตร.จชต.
(กองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้)
|
ตารางที่ 5 จำนวนกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่อยู่ในโครงการบูรณาการ ในพื้นที่ จชต.และ 5 อำเภอ จ.สงขลา แยกรายจังหวัด
ลำดับ
|
หน่วยเจ้าของกล้อง
|
สงขลา
|
นราธิวาส
|
ปัตตานี
|
ยะลา
|
หมายเหตุ
|
||||
ยอด
|
ใช้ได้
|
ยอด
|
ใช้ได้
|
ยอด
|
ใช้ได้
|
ยอด
|
ใช้ได้
|
|||
1
|
สป.มท.
|
540
|
525
|
1,218
|
1098
|
1,081
|
1,026
|
729
|
682
|
|
2
|
ปค.มท.
|
-
|
-
|
80
|
80
|
-
|
-
|
16
|
16
|
|
3
|
ศอ.บต.
|
-
|
-
|
20
|
20
|
128
|
128
|
48
|
48
|
|
4
|
สถ.มท.
|
176
|
176
|
-
|
-
|
150
|
150
|
150
|
150
|
|
5
|
กกล.ตร.จชต.
|
389
|
389
|
1,239
|
1,239
|
151
|
151
|
251
|
251
|
|
6
|
กอ.รมน.ภาค
4 สน.
|
26
|
26
|
156
|
156
|
52
|
52
|
65
|
65
|
|
รวม
|
1,131
|
1,116
|
2,713
|
2,593
|
1,562
|
1,504
|
1,259
|
1,212
|
||
ร้อยละที่ใช้ได้
|
98.67
|
95.57
|
96.28
|
96.00
|
||||||
ที่มาข้อมูล สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ณ วันที่ 21
มิ.ย.2562
|
ปัญหาข้อขัดข้องที่สำคัญ
คณะทำงานบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ได้สรุปปัญหาข้อขัดข้อง ไว้ดังนี้ (หนังสือคณะกรรมการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ที่ นร 5103/2187 ลง 27 ธ.ค.2561)
- กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ของ สป.มท. มีการชำรุดเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเสื่อมสภาพ ใช้งานมาเป็นเวลานาน
- โครงการปรับปรุงและขยายถนนในพื้นที่ จชต. มีการรื้อสายไฟ ทำให้มีผลกระทบกับระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด รวมถึงในพื้นที่ จ.ยะลา มีโครงการเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิธีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในปัจจุบัน
- ระบบอ่านป้ายทะเบียน และวิเคราะห์ทะเบียนยานพาหนะ (ระบบ LPR) ที่ติดตั้งอยู่ประจำด่านตรวจทั้ง 23 ด่านตรวจ ปัจจุบันไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากเกิดปัญหาภายในเครือข่ายของ บริษัทฯ คู่สัญญา
- ระบบบริหารจัดการและบันทึกภาพ (Video Management Software : VMS) ในศูนย์ย่อยให้กับศูนย์ระดับอำเภอและจังหวัด จำนวน 38 ศูนย์/1 ระบบ ซึ่งมี Server 14 ตัว จะต้องรองรับใช้งานกล้องได้ 5,000 กล้อง มีปัญหา/ข้อขัดข้อง ดังนี้ (ดูตารางที่ 6 ประกอบ)
- การนำกล้องเข้าสู่ระบบ Server VMS จำนวน 5,000 กล้อง ยังไม่ครบตามจำนวน ปัจจุบันนำเข้าระบบได้ จำนวน 4,519 กล้อง คงเหลือยอดกล้องที่ต้องนำเข้า จำนวน 481 กล้อง เนื่องจาก บจก.กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น ผู้รับจ้าง ยังดำเนินการให้ไม่ครบ
- การดูภาพจากกล้องในระบบ Server VMS จำนวน 5,000 กล้อง ยังดูได้ไม่ครบตามจำนวน ปัจจุบันสามารถดูภาพได้ จำนวน 1,824 กล้อง ไม่สามารถดูภาพได้ จำนวน 3,176 กล้อง เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค
- การบันทึกภาพจากกล้องได้ในระบบ Server VMS จำนวน 5,000 กล้อง ปัจจุบันสามารถบันทึกภาพได้จำนวน 296 กล้อง เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค
- กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ของ สป.มท.บางตัวเป็นกล้องรุ่นเก่าแบบส่งสัญญาณภาพได้ 1 สตรีม สามารถบันทึกภาพได้ในระบบบันทึกของหน่วยงานเจ้าของกล้องเพียง 1 ระบบ
- Server VMS ของระบบบูรณาการที่ติดตั้งในบางพื้นที่ มีจำนวนลิขสิทธิ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนกล้องที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
- ระบบ Server VMS ที่ออกแบบ จำนวน 1 Server จะต้องบริหารจัดการกล้องหลายอำเภอ ทำให้การเชื่อมโยงสัญญาณเพื่อนำภาพจากกล้องในแต่ละอำเภอมาบันทึกที่ Server VMS ทำให้มีผลกระทบต่อ Bandwidth ที่ไม่เพียงพอ
- การเชื่อมโยงภาพจากกล้อง สป.มท. เพื่อนำมาบันทึกลงใน Server VMS มีผลกระทบทำให้กล้องบางตัวของ สป.มท.มีภาพเป็นจอดำ
- ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับหน่วยเฉพาะกิจจังหวัด ไม่สามารถดูภาพจากกล้อง Server VMS ได้ครบทุกอำเภอในพื้นที่รับผิดชอบ
- ระบบอ่านป้ายทะเบียนรถ บริเวณด่านตรวจความมั่นคง 23 ด่าน การอ่านค่าตรวจจับภาพป้ายทะเบียนรถ ไม่แม่นยำ และขีดจำกัดของกล้องอ่านป้ายทะเบียนและการประมวลผลจากโปรแกรมอ่านป้ายทะเบียน ขึ้นอยู่กับความเร็วรถ และมุมกล้อง
- ระบบบริหารงานส่วนกลาง และระบบวิเคราะห์ทะเบียนรถ เกี่ยวกับการแจ้งเตือนรถเฝ้าระวังมีความล่าช้า
- โปรแกรมอ่านป้ายทะเบียนรถ ระบบบริหารงานส่วนกลาง และระบบวิเคราะห์ทะเบียนรถเป็นโปรแกรมเก่าและล้าสมัย
ตารางที่ 6 สรุปรายละเอียด Server VMS
สิทธิ์การนำเข้าระบบ
|
นำเข้าระบบได้
|
คงเหลือการนำเข้า
|
ดูภาพได้
|
ดูภาพไม่ได้
|
บันทึกภาพได้
|
ไม่บันทึกภาพ
|
5,000
|
4,519
|
481
|
1,824
|
3,176
|
296
|
4,704
|
ผลการตรวจโครงการเช่ากล้องและระบบโครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัย ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตเมือง จำนวน 2 ระยะ ซึ่ง บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม เป็นผู้ให้เช่า ของ พล.ท.ณัฎฐสิทธิ์ ละแมนชัย ที่ปรึกษา สง.เลขาธิการ กอ.รมน.และคณะ เมื่อ 21-23 พ.ค.2562 มีข้อพิจารณาที่สำคัญ ดังนี้
- ขาดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุม CCTV ที่ตั้งอยู่ตาม สภ.ต่างๆ ที่ใช้ระบบเช่า เป็นเจ้าหน้าที่ที่ บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม เป็นผู้จ้าง (ตามสัญญาเช่า) ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปร่วมปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุม CCTV ด้วย เวลามีเหตุการณ์ต้องเฝ้าระวัง หรือต้องการข้อมูลใดๆ จากกล้อง CCTV ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เท่านั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง เพราะขาดความสามารถทางด้านการใช้เทคโนโลยี
- ขาดการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเฝ้าระวัง ปัจจุบันการบริหารจัดการในศูนย์ควบคุม CCTV ในแต่ละศูนย์ฯ เป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่า ซึ่งต้องจัดเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติประจำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อปฏิบัติงาน เฝ้าระวัง เก็บข้อมูล และจัดส่งข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อได้รับการร้องขอ เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ที่ส่งมาประจำ ไม่มีความสามารถที่จะวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ข้อมูลที่ควรเป็น "เบาะแส" เพื่อการป้องกันได้ ส่วนใหญ่ข้อมูลที่ใช้จะใช้เพื่อ "การแกะรอย" หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว
- การลบข้อมูล ปัจจุบันข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกเป็นภาพนิ่งหรือวิดีโอจากกล้องวงจรปิด จะถูกเก็บเอาไว้ในคลังข้อมูลเวลา 30 วัน หากไม่มีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น ข้อมูลก็จะถูกลบทิ้งไปโดยอัตโนมัติ แต่หากข้อมูลใดมีความจำเป็นก็จะสามารถบันทึกเก็บไว้ได้โดยไม่สูญหาย แต่ปัจจุบัน พบว่าไม่มีใครที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า "ข้อมูลใดควรเก็บไว้ หรือข้อมูลใดสามารถลบทิ้งได้" เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ จึงปล่อยให้ข้อมูลลบทิ้งโดยอัตโนมัติ
- ไม่สามารถอ่านป้ายทะเบียนรถจักรยายนต์ (จยย.) ได้ ปัจจุบันที่จุดตรวจ 60 จุด ใน 6 เมืองหลัก มีการติดตั้ง กล้องสำหรับอ่านป้ายทะเบียนและกล้องอินฟาเรด ซึ่งสามารถอ่านเลขทะเบียนยานพาหนะได้ทั้งกลางวันและกลางคืน และสามารถบันทึกหมายเลขทะเบียนอัตโนมัติเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ทันที แต่ปรากฏว่าไม่สามารถอ่านป้ายทะเบียน รถ จยย. ได้ เหตุเพราะป้ายทะเบียน รถ จยย. จะอยู่ด้านหลังรถ กล้องจึงไม่สามารถอ่านได้
- การตรวจจับทะเบียนรถของโปรแกรม LPR ยังไม่มีประสิทธิภาพ
- การเชื่อมโยงระบบผ่านระบบ IP-Link มีสัญญาณเสียบ่อย เนื่องจากระบบมีความเปราะบางในเรื่องสัญญาณ
- การเชื่อมโยงด้วย ระบบ GIN พบปัญหาเรื่อง ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Band width) ไม่เพียงพอ
- กล้องของ สป.มท., สถ.มท., ปค.มท. และ กอ.รมน.ภาค 4 สน. เมื่อเสียบสายสัญญาณ บูรณาการทำให้กล้องดับ ต้องสลับปลั๊กกันใช้งาน ไม่สามารถดูได้พร้อมกัน
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุม CCTV ไม่พอ และต้องทำงานอีกหลายหน้าที่
- เมื่อมีฝนตกหนัก ฝนฟ้าคะนอง ทำให้ระบบสายเคเบิ้ลใยแก้วขัดข้อง ไม่สามารถดูภาพจากกล้องได้
- เจ้าหน้าที่จากหน่วยวางสายเคเบิลของบริษัทฯ เอกชนที่ประกอบธุรกิจในพื้นที่ มักทำให้กล้อง CCTV หันคลาดเคลื่อนจากมุมมองที่กำหนดไว้
- การดำเนินการจ้างซ่อมกล้องและระบบ ใช้เวลานาน ทำให้ไม่สามารถใช้ภาพจากกล้อง CCTV บางส่วนได้
- ขอติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพิ่มเติมในบางจุดที่ล่อแหลม
- ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต.มีจำนวนมาก จากหลายโครงการและหลายหน่วยงาน แต่มีสภาพล้าสมัย ติดตั้งมานานเกิน 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 70 ของกล้องทั้งหมด
- จุดติดตั้งกล้อง CCTV ส่วนใหญ่ติดตั้งในเขตชุมชนเมือง ไม่ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวัง ปมคานาคมหลัก รอง และเส้นทางเข้าออกระหว่างอำเภอ
- ขาดเทคโนโลยีการเฝ้าตรวจ แจ้งเตือน สืบสวน ติดตาม ที่ทันสมัย
- ขาดบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน รวมทั้งการสับเปลี่ยนกำลังและภารกิจมีผลต่อการปฏิบัติงาน
- ขาดฐานข้อมูล เช่น บุคคล ยานพาหนะ ระบบติดต่อสื่อสาร จากหน่วยงานอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการใช้งานระบบ CCTV
แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
การใช้งานกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. มีมาตรการใช้งาน 2 แบบ คือ (สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน.2562)
- การใช้งานเชิงรุก ใช้เพื่อการเฝ้าระวังและแจ้งเตือน (ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ) การดำเนินการด้านกล้องวงจรปิดในมาตรการเชิงรุก มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลด้านการข่าวต่างๆ สำหรับนำมาจัดทำฐานข้อมูล เพื่อป้องกัน แจ้งเตือน และใช้ประโยชน์ในการติดตามความเคลื่อนไหวตามภาพข่าวและแนวโน้มสถานการณ์
- การใช้งานเชิงรับ ใช้เพื่อสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อสนับสนุนการสืบค้นเพื่อหาตัวคนร้าย และเป็นหลักฐานในการดำเนินคดี รวมทั้งใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูล/สถิติ สนับสนุนงานด้านการข่าว
แนวทางการบูรณาการกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. (2562) ได้เสนอแนวทางในการบูรณาการการใช้งานกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไว้ดังนี้
- จัดตั้งงบประมาณสนับสนุนการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในพื้นที่สาธารณะเพิ่มเติม
- ให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะในการใช้เทคโนโลยี การสังเกตเหตุการณ์ผิดปกติ บุคคลต้องสงสัย โดยควบคุมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
- นำเทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติงานด้านการสืบค้น การติดตาม และการวิเคราะห์
- การจัดทำข้อมูลสถิติเปรียบเทียบการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ที่มีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)
- การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่เพิ่มเติม เช่น ตามแนวชายแดน ปมคมนาคมเส้นทางรอยต่อระหว่างอำเภอ หมู่บ้านที่เฝ้าระวัง
- พัฒนาบุคลากรประจำศูนย์ CCTV ให้สามารถใช้งานกล้องอย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้มีบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมาปฏิบัติงาน เช่น ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย
- จัดให้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ แล้วนำมาถ่ายทอดความรู้ให้กับกำลังพลในหน่วย
- จัดให้มีการสัมมนาระดมแนวความคิดในการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จากข้อมูลต่างๆ ที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น คณะผู้จัดทำได้นำมาเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และได้สังเคราะห์ออกมาเป็นแนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังแสดงไว้ในภาพที่ 3
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้มีประสิทธิภาพ (Smart CCTV) จำเป็นต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าต้องการอย่างไร ไม่ควรเขียนกว้างจนเกินไป เพื่อการออกแบบระบบจะได้เป็นไปแบบเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งวัตถุประสงค์สำหรับการพัฒนาและบูรณาการระบบ CCTV ในพื้นที่ จชต. ที่น่าจะเป็น ได้แก่
- เพื่อป้องกันการก่อการร้าย
- เพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรม
- เพื่อรักษาความปลอดภัยของชีวิต ทรัพย์สิน และสถานที่
- เพื่อจัดระเบียบสังคมและสร้างความสงบของเมือง
หลังจากที่กำหนดวัตถุประสงค์ชัดเจนแล้ว วิศวกรผู้ออกแบบระบบ CCTV จะได้วางแผนได้อย่างถูกต้อง
- การออกแบบระบบ CCTV /เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ควรออกแบบระบบ CCTV เต็มทั้งระบบโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ และนำมาใช้เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาและบูรณาการระบบ CCTV ต่อไป ส่วนเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ เช่น ตัวกล้อง โปรแกรมบริหารจัดการภาพ และระบบการเชื่อมโยงระหว่างกล้องต่อกล้อง สายเคเบิลที่ใช้ ควรมีมาตรฐานสากล และมีคุณสมบัติสามารถใช้งานได้ตามที่วิศวกรได้ออกแบบระบบไว้
- การใช้ระเบียบและเทคนิควิธีการบริหารจัดการที่ฉลาด (Smart manager) มาช่วย เพื่อลดภาระงานและความผิดพลาดของคน เช่น ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) โปรแกรมบริหารจัดการศูนย์ควบคุม CCTV โปรแกรมวิเคราะห์ระบบและจัดการภาพในลักษณะต่างๆ เป็นต้น
- นำหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาช่วยวางแผน องค์ประกอบข้อนี้ถือเป็นพื้นฐานความรู้หลักที่จะนำมาเสริมให้ระบบ CCTV มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ เช่น การกำหนดจุดติดตั้งกล้อง CCTV โดยใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรมมาจับ ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล ทฤษฎีกิจวัตรประจำวัน การวิเคราะห์จุดเสี่ยง (Hot Spot) เพื่อหาจุดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ การป้องกันอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นต้น
ข้อเสนอแนะการพัฒนาและการบูรณการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต.
ในคราวประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 2/2558 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)/ประธาน คปต. ได้สั่งการให้ กอ.รมน. เป็นเจ้าภาพดำเนินการจัดหากล้องโทรทัศน์วงจรปิดของทุกหน่วยงานที่จะติดตั้งใหม่ในพื้นที่ จชต. เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงระบบกันได้ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำกับดูแลการซ่อมบำรุงให้ใช้การได้อยู่เสมอ
ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2559 ที่ประชุม คปต. ครั้งที่ 1/2559 มีมติเห็นชอบ
- ร่างแผนแม่บทการบูรณาการกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในพื้นที่ จชต. ตามที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. เสนอ (มุ่งจัดตั้งศูนย์ควบคุม 46 ศูนย์ และเชื่อมโยงระบบเครือข่ายข้อมูลและการสื่อสาร)
- โครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ในพื้นที่ จชต. รวม 3 ระยะ
- โครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัยในเขตเมือง ระยะที่ 2 ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตพื้นที่ 6 เมืองหลัก ประกอบด้วย อ.เบตง อ.เมืองปัตตานี อ.เมืองนราธิวาส อ.สุไหงโก-ลก อ.ตากใบ อ.หาดใหญ่
ความพยายามที่จะบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ให้มีประสิทธิภาพ มีมาตั้งแต่ พ.ศ.2558 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ.2562 มีจำนวนกล้องที่ต้องนำเข้าระบบบูรณาการถึง 6,665 กล้อง ซึ่งเป็นของหลายหน่วยงาน หลายยี่ห้อ หลายอายุการใช้งาน เข้าด้วยกัน โดยพยายามจัดตั้งศูนย์ควบคุม CCTV เป็นส่วนรวมในหลายระดับ แต่ ณ ปัจจุบัน ยังคงเกิดปัญหาขึ้นหลายประการตามที่ คณะกรรมการฯ และหน่วยงานต่างๆ ได้สรุปไว้ข้างต้น
จากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. คณะผู้จัดทำ จึงข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ตามแนวคิด Smart CCTV ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การออกแบบระบบ CCTV /เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้
โครงการติดตั้งระบบ CCTV ในพื้นที่ จชต. ไม่ได้มีการออกแบบระบบโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อเป็นแผนแม่บทในการพัฒนา โครงการติดตั้งและใช้งานระบบ CCTV ในพื้นที่ จชต. จึงไม่มีกรอบและแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจน ทั้งระบบการแจ้งเตือน ระบบการแสดงภาพ และระบบการบันทึก เป็นเพียงแต่การเขียนขอบเขตของงาน (TOR) ขึ้นตามสถานการณ์และความต้องการอย่างไม่มีระบบและขาดกระบวนการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน บริษัทฯ ที่ชนะการประมูลรับจ้างติดตั้งและวางระบบ ไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้าน CCTV ที่แท้จริง ไม่มีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาทำหน้าที่กำกับดูแลและควบคุมการวางระบบ เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน บริษัทฯ ผู้รับจ้างเกิดการทิ้งงานและไม่สามารถส่งมอบงานทันตามที่กำหนดเวลาถึง 2 ครั้ง ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการระบบมาจนถึงปัจจุบัน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเรื่องระบบ/เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เลือกใช้
- ระบบเครือข่ายที่เหมาะสมต่อการใช้งานและสภาพพื้นที่จริง ควรใช้สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นหลัก โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกล้องต่างๆ ในพื้นที่อำเภอ และการส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอ เพราะสายใยแก้วนำแสง ไม่มีข้อจำกัดในเรื่อง Bandwidth (ความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต)
- หากใช้สายใยแก้วนำแสงเป็นเครือข่ายเชื่อมโยง ตามข้อ 1 แล้ว การบันทึกภาพจากกล้องควรบันทึกที่ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอ เท่านั้นก็พอ โดยรับสัญญาณจากกล้องและระบบ LPR ในพื้นที่ที่รับผิดชอบทั้งหมด ส่วนกรณีใช้เครือข่ายไร้สาย ควรเลือกใช้ในกรณีจำเป็นหรือกล้อง CCTV แบบเคลื่อนที่เป็นหลัก
- เนื่องจาก Bandwidth ในเครือข่าย GIN มีจำนวนจำกัด จึงควรใช้เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงจาก ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอ-ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับหน่วยเฉพาะกิจ-ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับจังหวัด-ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับบูรณาการ เท่านั้น
- ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับบูรณาการ 3 ศูนย์, ศูนย์ควมคุม CCTV ระดับหน่วยเฉพาะกิจ 5 ศูนย์ และศูนย์ควบคุม CCTV ระดับจังหวัด 3 ศูนย์ ต้องมีการออกแบบการแสดงภาพที่ชัดเจน เพื่อสามารถคำนวณหาขนาด Bandwidth ของระบบ GIN ที่เหมาะสม เพราะขนาดของ Bandwidth ของระบบ GIN ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
- ในศูนย์ควบคุม CCTV แบบบูรณาการ ไม่จำเป็นต้องมีระบบบันทึกภาพของศูนย์ฯ เอง หากจะดูภาพสดหรือย้อนหลัง สามารถจากเรียกดูได้จาก ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับอำเภอได้ แบบ On Demand แต่ต้องกำหนด Bandwidth ของระบบ GIN ที่ชัดเจน ซึ่งจะเป็นการประหยัดงบประมาณ ไม่ต้องซื้อเครื่องบันทึกภาพซ้ำซ้อน และจะประหยัดช่องสัญญาณของระบบ GIN เพราะไม่ต้องให้กล้องทุกตัวที่อยู่ในระบบบูรณาการส่งสัญญาณเข้ามาที่ศูนย์ควบคุม CCTV ระดับบูรณาการ จะใช้ Bandwidth ของระบบ GIN สำหรับภาพที่ต้องการเรียกดูเท่านั้น
- กำหนดมาตรฐานกลางของกล้อง CCTV ที่ใช้ในพื้นที่ที่บูรณาการ ไม่ว่ากล้อง CCTV จะมาจากโครงการของใครหรือหน่วยงานใด ควรเป็นกล้องที่อ้างอิงตามประกาศของกระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเรื่อง เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานของระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ฉบับเดือนตุลาคม 2561 ซึ่งหากเป็นไปตามมาตรฐานนี้ จะสามารถรองรับการบูรณาการเข้าสู่ระบบได้
- อุปกรณ์บันทึกภาพ ควรใช้อุปกรณ์บันทึกภาพที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีมาตรฐาน และเคยใช้งานจริงได้เป็นอย่างดีในประเทศไทย เช่น BOSCH, Honeywell, Qognity เป็นต้น อุปกรณ์บันทึกภาพเหล่านี้จะสามารถรองรับการบูรณาการร่วมได้เต็มประสิทธิภาพ หากใช้อุปกรณ์บันทึกภาพที่มีคุณภาพต่ำ และไม่มีมาตรฐาน จะมีปัญหาในการบูรณาการ
- โปรแกรมบูรณาการในพื้นที่ จชต. ควรใช้โปรแกรมเดียวกันในการบูรณาการ โดยคัดเลือกโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพใช้งานได้จริง (ปัจจุบันมี 2 ยี่ห้อ คือ Verint (โดย บจก.กันโน่ ซีสเต็มส์ อินทีเกรชั่น ) และ Qognify (โดย บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม))
- จ้าง บจก.ที่ปรึกษา ดำเนินการออกแบบระบบและควบคุมโครงการฯ
องค์ประกอบที่ 2 การใช้ระเบียบและเทคนิควิธีการบริหารจัดการที่ฉลาด (Smart manager) มาช่วย
การบริหารจัดการระบบ CCTV ถือเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำขั้นตอนการดำเนินงาน แนวทางการปฏิบัติในการเฝ้าระวัง และแนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ การบริหารงานระบบการแจ้งเตือน ระบบการแสดงภาพ ระบบการบันทึกภาพ การดูแลบำรุงรักษา และข้อควรระวังด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และระบบบริหารจัดการที่มีความสำคัญที่สุด คือ การบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล เนื่องจากเจ้าหน้าที่ในศูนย์ควบคุม CCTV ระดับต่างๆ มีจำนวนจำกัด มีภาระงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายหลายหน้าที่ ประกอบกับมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังเป็นประจำทุกปี เจ้าหน้าที่คนเก่าไม่มีโอกาสถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้แก่เจ้าหน้าที่คนใหม่ ส่งผลให้การปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุม CCTV ไม่มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวจึงจำเป็นต้องนำระเบียบและเทคนิควิธีการบริหารจัดการที่ฉลาด (Smart Manager) มาช่วยเหลือ ผู้จัดทำฯ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
ข้อเสนอแนะในการใช้ระเบียบและเทคนิควิธีการบริหารจัดการที่ฉลาด
- พิจารณาคัดเลือกและนำระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องมาใช้ เช่น ระบบบริหารจัดการด้านการจับป้ายทะเบียน ระบบบริหารจัดการด้านจับความเร็ว ระบบบริหารจัดการด้านจราจรอัจฉริยะ ระบบบริหารจัดการด้านขนส่ง
- นำระเบียบวิธีการจัดข้อมูลภาพต่างๆ มาประยุกต์ใช้งาน เช่น ระเบียบวิธีการวิเคราะห์ภาพเคลื่อนไหวของวัตถุ (Object Motion Detection) การวิเคราะห์คุณภาพของภาพใบหน้าสำหรับการค้นหาเฟรมภาพสำคัญ (Key Frame from Video Sequence Using a Face Quality) การตรวจจับหาป้ายทะเบียน (License Plate Detection) การตรวจสอบภาพใต้ท้องรถ (Under Vehicle Scanner) ระบบเฝ้าระวังด้วยกล้องวิดีโอวงจรปิด (A Generic Visual Surveillance) เป็นต้น
- หาก กอ.รมน.มีแผนการสร้างระบบ Cloud หรือ Big Data ควรพิจารณาใช้ โปรแกรมประเภทปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence : AI) ที่เกี่ยวข้องมาใช้
- ออกแบบโปรแกรมการบริหารจัดการศูนย์ควบคุม CCTV มาใช้บริหาร เพื่อลดจำนวนเจ้าหน้าที่ที่มีค่อนข้างจำกัด
- จัดให้มีการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ภายในศูนย์ควบคุม CCTV ในทุกระดับ เพื่อแก้ไขการสับเปลี่ยนกำลังเจ้าหน้าที่ประจำปี ซึ่งหากมีการจัดการความรู้ที่ดี เจ้าหน้าที่ที่มาใหม่จะสามารถปฏิบัติงานได้เร็วขึ้น
องค์ประกอบที่ 3 การนำหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาช่วยวางแผน
องค์ประกอบข้อนี้ถือเป็นพื้นฐานหลักที่จะนำมาเสริมให้ระบบ CCTV มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ เช่น การกำหนดจุดติดตั้งกล้อง CCTV โดยใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรมมาจับ ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล ทฤษฎีกิจวัตรประจำวัน การวิเคราะห์จุดเสี่ยง (Hot Spot) เพื่อหาจุดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ การป้องกันอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นต้น
ปัจจุบัน โครงการบูรณากล้อง CCTV ในพื้นที่ จชต. มีแผนที่จะบูรณาการกล้องถึง 6,665 กล้อง ซึ่งอาจไม่มีความจำเป็น สิ้นเปลืองทรัพยากรของระบบ และไม่ประหยัดงบประมาณ เพราะตำแหน่งที่ติดตั้งกล้อง CCTV บางตัวไม่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะในการนำหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาช่วยวางแผน
- การลด-ย้าย-เพิ่ม จำนวนกล้อง CCTV ที่จะบูรณาการ แนวคิดทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้ตัดสินใจว่า กล้องจำนวน 6,665 กล้องที่มีอยู่แล้ว จะเลือกกล้องใดบ้างเข้าสู่ระบบบูรณาการ กล้องใดไม่ต้องนำเข้าระบบบูรณาการ กล้องใดควรย้ายตำแหน่ง และจุดเสี่ยงใดที่จะต้องติดตั้งกล้องเพิ่มเติม ได้แก่ ทฤษฎีการป้องกันอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อม ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล (Ration Choice) ทฤษฎีกิจวัตรประจำวัน ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม และวิธีการวิเคราะห์จุดเสี่ยง (Hot Spot) (กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล 1. 2555)
- การเลือกภาพที่จะแสดงในศูนย์ควบคุม CCTV ในแต่ละระดับว่าจะต้องแสดงภาพกี่ภาพ ที่เป็นจุดเสี่ยงและต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ สามารถใช้แนวคิดและทฤษฎีตามข้อ 1 ที่กล่าวมาแล้วได้
การซื้อระบบและเช่าระบบ
ปัจจุบัน การดำเนินการโครงการระบบ CCTV ในพื้นที่ จชต. มี 2 ลักษณะ คือ
การซื้อระบบและบริหารจัดการเอง การดำเนินการในลักษณะนี้ คือ การเขียนโครงการเพื่อของบประมาณ จัดทำขอบเขตของงาน ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ได้บริษัทฯ ผู้รับจ้าง ดำเนินการติดตั้งและวางระบบ ส่งมอบงาน ระยะเวลารับประกัน 1 ปี การดำเนินการในลักษณะ นี้ พบปัญหา ดังนี้
- หลังจากหมดระยะประกัน อุปกรณ์ต่างๆ จะเริ่มชำรุด
- สินทรัพย์ในโครงการเป็นของทางราชการ เป็นภาระในการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง
- การซ่อมบำรุงระบบ ล่าช้า ไม่ทันเวลา ไม่มีงบประมาณในการซ่อม
- ขาดการดูแลบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอ ระบบไม่พร้อมใช้งานตลอดเวลา
- ไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุม CCTV เพียงพอ
- การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่โปร่งใส ทำให้ได้ บริษัทฯ ผู้รับจ้าง ที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้าน CCTV นำอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้ในระบบ ระบบที่ติดตั้งแล้วไม่สามารถใช้งานได้จริงหรือไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อหมดระยะเวลาประกันก็ไม่มาดำเนินการแก้ไข
ปัจจุบัน โครงการระบบ CCTV ที่เช่าอยู่ คือ โครงการเช่ากล้องและระบบโครงการติดตั้งระบบป้องกันความปลอดภัย ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตเมือง ระยะที่ 2 คือ การเช่ากล้องและระบบ จำนวน 1,835 กล้อง พร้อมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์ควบคุมฯ จาก บจก.วิชั่น แอนด์ ซีเคียวริตี้ ซีสเต็ม บริเวณ 6 เมืองหลัก ประกอบด้วย อ.เบตง จ.ยะลา อ.เมืองปัตตานี อ.เมือง อ.สุไหงโก-ลก อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ ศชต.อ.เมืองยะลา โดย กอ.รมน. เป็นผู้เช่า จ่ายค่าเช่าเดือนละ 10,169,151.60 บาท จำนวน 60 เดือน รวมค่าเช่า ทั้งหมด 610,149,096 บาท สัญญาเช่าตั้งแต่ พ.ศ.2561-2565
ซึ่งการเช่าระบบจากเอกชน จะแก้ไขปัญหาการซื้อระบบและบริหารจัดการเอง ตามข้อ 1 ได้ทั้งหมด อีกทั้งทางราชการไม่ต้องเสียเงินงบประมาณครั้งละมากๆ เพื่อโครงการ ตลอดเวลาการเช่าระบบ บริษัทฯ ที่ให้เช่า ย่อมใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง ได้มาตรฐาน เพราะหากไม่สามารถทำตามเงื่อนไขตามที่ทางราชการ กำหนด จะต้องเสียค่าปรับตามที่กำหนดไว้ใน TOR ต่อไป
บทสรุป
บทความทางวิชาการ เรื่อง แนวคิดการพัฒนาและการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นี้ คณะผู้จัดทำ มีความประสงค์เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลให้ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้พิจารณาทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาว่า มีข้อบกพร่องที่ใดบ้าง และจะเดินหน้าพัฒนาต่อไปอย่างไร เงินงบประมาณแผ่นดินจำนวนมากกว่า 2,000 ล้าน ที่ได้ทุ่มเทลงไปตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลากว่า 15 ปี ทำไมถึงไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
หากมีการดำเนินการพัฒนา และบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต.สู่ความเป็น Smart CCTV ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยใช้งบประมาณให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ควรมีหลักในการพิจารณา ดังนี้
- จ้างบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและได้การรับรองจากทางราชการ ออกแบบระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเต็มรูปแบบ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วเป็นพื้นฐานในการออกแบบ ตามแนวคิด Smart CCTV ที่กล่าวมาแล้ว เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการเขียน TOR ระยะต่างๆ
- ทยอยเปลี่ยนจาก "การซื้อระบบและบริหารจัดการเอง" เป็นการ "เช่าระบบจากเอกชน" แทน เพื่อตัดปัญหาด้านเจ้าหน้าที่ควบคุม CCTV การดูแลบำรุงรักษาระบบ และประสิทธิภาพของการใช้งาน ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณของแผ่นดินที่ต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการซื้อระบบ และไม่เป็นภาระของทางราชการ
*******************************
ที่ปรึกษาและนักวิชาการประจำสำนักงานเลขาธิการ กอ.รมน.
คณะผู้จัดทำ
19 กรกฎาคม 2562
ที่ปรึกษาและนักวิชาการประจำสำนักงานเลขาธิการ กอ.รมน.
คณะผู้จัดทำ
19 กรกฎาคม 2562
อ้างอิง
- คณะกรรมการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. รายงานผลการปฏิบัติงานของ
- คณะทำงานบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต. ที่ นร 5103/2187 ลงวันที่ 27 ธ.ค.2561
- ศูนย์ CCTV สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ปัญหาข้อขัดข้องและแนวทางการแก้ไขระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในโครงการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่ จชต.ระยะที่ 1-3. ที่ นร 5119.1.7 (สขว.)/xxxxx ลงวันที่ xx พ.ค.2562
- สง.เลขาธิการ กอ.รมน. สรุปผลการตรวจโครงการพลังงานทดแทนและกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV). ที่ นร.5100.3/338 ลงวันที่ 28 พ.ค.2562
- กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ประกาศเรื่อง เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานของระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ฉบับเดือนตุลาคม 2561. 26 ต.ค.2561.
- กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล 1. (2555). การวิเคราะห์ระบบการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อลดช่องโอกาสในการก่ออาชญากรรมในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : กองวิจัย สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
- ศูนย์ CCTV สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. (2562). การบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV) พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สไลด์ประกอบการบรรยาย.
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- พรรณี สวนเพลง. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
- กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล 1. (2555). การวิเคราะห์ระบบการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อลดช่องโอกาสในการก่ออาชญากรรมในเขตกรุงเทพมหานคร. สำนักงานยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
- เชิดชัย ศรีโสภา. (2556). การพิจารณาใช้ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับงานรักษาความปลอดภัยองค์กรธุรกิจก่อสร้าง. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
- ปัทมาวดี เปรทมกาศ. (2561). กล้องวงจรปิดเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเมืองพิษณุโลก.วิทยานิพนธ์ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
- นิคม สุวรรณวธ. (2550). การศึกษาเบื้องต้นการนำเทคโนโลยีทางด้านการประมวลผลภาพมาใช้ในระบบการรักษาความปลอดภัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์