วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

"เสียงจากประชาชน" กับแนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคามในประเทศไทย

จากรายงานการวิจัยเรื่อง "การวางระบบเตรียมพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ"  โดย รศ.ดร.สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และ น.ส.จิตติพร ลิน เมื่อปี พ.ศ.2561 ได้สรุปแนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคาม จำนวน 10 ด้าน จากความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 1,272 คน (แยกเป็นภาคกลาง 302 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 303 คน ภาคเหนือ 367 คน และภาคใต้ 300 คน)  สรุปได้ดังนี้ 



แนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจากความคิดเห็นของประชาชน  

ปัญหายาเสพติด (ปัญหาอันดับ 1 ของประเทศ) แนวทางแก้ไขและป้องกัน
  • มีมาตรการปราบปรามอย่างเด็ดขาดทั้งผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้เสพ
  • สร้างระบบครอบครัวและชุมชนให้อบอุ่นและเข้มแข็ง
  • ส่งเสริมอาชีพอย่างหลากหลายเป็นระบบและครบวงจรเพื่อกระจายรายได้ให้ประชาชน
  • มีแผนบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทางอย่างเป็นเอกภาพ
  • สร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามลำดับ
  • มีบทลงโทษผู้ค้า ผู้เสพ และเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเลยและรับสินบน
  • สร้างความเข้าใจและส่งเสริมจริยธรรมให้แก่ประชาชน
ด้านความเห็นต่างหรือความขัดแย้งทางความคิดของคนในชาติ (ปัญหาอันดับ 2 ของประเทศ) แนวทางแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
  • ต้องเสริมสร้างความรู้รักษ์สามัคคี
  • ต้องลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
  • ต้องปฏิรูปการเมือง
  • เสริมสร้างความสามัคคี เคารพความคิดเห็นที่ต่างและมีความศรัทธาในระบบประชาธิปไตย
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ปัญหาอันดับ 3 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • มีระบบบริหารจัดการที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาระบบการเตือนภัยที่รวดเร็วฉับไวและมีประสิทธิภาพ
  • ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการป้องกันและเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชน
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (ปัญหาอันดับ 4 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • พัฒนาระบบการป้องกันการโจรกรรมทางไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพ
  • สร้างความเข้าใจและความตระหนักแก่ประชาชนถึงภัยคุกคามไซเบอร์/อินเตอร์เน็ต/สังคมออนไลน์
  • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านภัยคุกคามไซเบอร์กับนานาประเทศ 
ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปัญหาอันดับ 5 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • สร้างความเข้าใจ ความตะหนักและจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
  • มีมาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดและเที่ยงธรรม
  • ออกกฏหมายด้านการทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ทันสถานการณ์และเป็นปัจจุบัน
  • กำหนดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัญหาอันดับ 6 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องสร้างอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยร่วมกัน
  • ต้องลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ
  • ต้องปฏิรูปการทำงานของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้
แรงงานด่างต้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง (ปัญหาอันดับ 7 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกันกัน
  • ต้องมีมาตรการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดและเที่ยงธรรม
  • มีแผนบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง
  • ต้องสร้างเครือข่ายที่แจ้งข่าวสารและเบาะแสแก่ทางราชการ
การล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ (ปัญหาอันดับ 8 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องเสริมสร้างความรู้รักสามัคคีทุกภาคส่วน
  • ต้องพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และจิตสาธารณะ
  • ต้องสร้างอุดมการณ์และอัตลักษณ์ของความเป็นชาติไทยร่วมกัน
การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (ปัญหาอันดับ 9 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ควรมีระบบการคัดกรองโดยเฉพาะหน่วยตรวจคนเข้าเมืองทั้งทางบก ทางเรือและทางน้ำ ที่มีประสิทธิภาพ
  • มีแผนบูรณาการหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาฯ โดยมีเจ้าภาพหลัก
  • สร้างความตระหนักแก่ประชาชนถึงภัยก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
ผลกระทบที่เกิดจากข้อตกลง/พันธกรณีระหว่างประเทศ (ปัญหาอันดับ 10 ของประเทศ) แนวทางการแก้ไขและป้องกัน
  • ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
  • มีแผนบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยควรมีเจ้าภาพหลักและเจ้าภาพรอง
  • ถ่วงดุลอำนาจกับประเทศมหาอำนาจ โดยการสร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศในกลุ่มอาเซียน

จากความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขและป้องกันภัยคุกคามทั้ง 10 ด้านที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีประเด็นปัญหาที่ซ้ำๆ หลายประเด็น เช่น ต้องบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดและยุติธรรม ต้องแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในแวดวงราชการ   ต้องมีแผนการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพ ต้องลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น 

ซึ่งประเด็นปัญหาซ้ำๆ เหล่านี้ ผู้ที่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว คือ ภาคราชการ หวังว่าเสียงของประชาชนจากงานวิจัยฯ ครั้งนี้ จะสะท้อนให้รัฐบาลได้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "การปฏิรูประบบข้าราชการ"  อย่างจริงจังเสียที   

***************************
ชาติชาย คเชนชล : 19 พ.ย.2562

ที่มา : 
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และ จิตติพร ลิน. (2561). รายงานการวิจัยการวางระบบการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในประเทศ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม