ไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) เริ่มพบในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน เมื่อ 8 ธ.ค.2562 และปัจจุบันเริ่มระบาดไปทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ประกาศเมื่อ 10 มี.ค.2563 ยกระดับจากโรคระบาด (Epidemic) เป็น "การระบาดทั่วโลก" (Pandemic) และขณะที่ผมเขียนบทความนี้ (25 มี.ค.2563 ) มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกจำนวน 375,498 คน เสียชีวิตแล้ว 16,362 คน ใน 195 ประเทศ
สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ที่มา องค์การอนามัยโลก (25 มี.ค.2563) |
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ 25 คน จาก 8 ประเทศทั่วโลก เข้าไปสำรวจเรื่องราวของโควิด-19 ในประเทศจีน ระหว่างวันที่ 10-24 ก.พ.2563 จาก รายงานการสอบสวนโรคระบาดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ของคณะสำรวจฯ ผมเห็นว่ามีความรู้เกี่ยวกับโควิด-19 ที่น่าสนใจหลายประการ จึงขอนำมาเขียนไว้ในบทความนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผื่อว่าหลายๆ คน จะได้ไม่ตื่นตระหนกมากจนเกินไป
เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นเชื้อที่มาจากสัตว์ (Zoonotic) รหัสพันธุกรรมของเชื้อ มีความคล้ายคลึงกับเชื้อไวรัสโคโรนาจากสัตว์ โดยเฉพาะเชื้อในค้างคาว (96%)
ที่มาของภาพ The Standard https://thestandard.co/origin-of-all-virus-spread-in-20-years/ |
การติดเชื้อ ผ่านละอองฝอย (Droplets) จากการไอและจามของผู้ติดเชื้อ และการที่เชื้อติดละอองฝอยตกลงไปบนพื้นผิว (Fomites) แล้วมีผู้อื่นมาสัมผัสทำให้ติดเชื้อต่อไป ส่วนการล่องลอยผ่านไปในอากาศ (Airborne) ไม่ปรากฎ
อัตราการติดเชื้อ ผู้ป่วย 1 คน แพร่เชื้อได้ 2-2.5 คน ในขณะที่ โรคเอดส์ 1 คน แพร่เชื้อได้ 3.6-.3.7 คน, โรคหัด 1 คน แพร่เชื้อได้ 11-18 คน, โรคอีโบล่า 1 คน แพร่เชื้อได้ 2 คน ซึ่งดูอัตราการติดเชื้อไม่ค่อยน่ากังวลนัก หากมีการป้องกันที่ดี
ระยะเวลาแสดงอาการ ผู้ติดเชื้อจะมีอาการทั่วไปและอาการทางระบบทางเดินหายใจและมีไข้ โดยเฉลี่ยประมาณ 5-6 วันหลังการติดเชื้อ (ระยะฟักตัวเฉลี่ย 5-6 วัน ในช่วงเวลา 1-14 วัน)
อาการผู้ป่วยโควิด-19 มีไข้ (87.9%) (อาการสำคัญ) ไอแห้ง (67.7%) (อาการสำคัญ) อ่อนเพลีย (38.1%) ไอ มีเสมหะ (33.4%) หายใจลำบาก (18.6%) ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดข้อ (14.8%) เจ็บคอ (13.9%) ปวดศรีษะ (13.6%) หนาวสั่น (11.4%) คลื่นไส้ อาเจียน (5.0%) คัดจมูก (4.8%) ไอเป็นเลือด (0.9%) ตาแดง (0.8%) การสังเกตุอาการที่สำคัญคือ มีไข้ และไอแห้ง ให้สงสัยไว้ก่อนว่าติดเชื้อโควิด-19 รีบไปพบแพทย์ทันที
อัตราการเสียชีวิต เริ่มแรกที่จีนไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับไวรัสตัวใหม่นี้ มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากถึง 21.9% แต่หลังจากนั้นเริ่มลดลงเรื่อยๆ ปัจจุบันเหลือเพียง 0.7% ไม่น่ากลัวครับ
มาตรการที่ประเทศจีนใช้ป้องกันและควบคุม
อัตราการเสียชีวิต เริ่มแรกที่จีนไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับไวรัสตัวใหม่นี้ มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากถึง 21.9% แต่หลังจากนั้นเริ่มลดลงเรื่อยๆ ปัจจุบันเหลือเพียง 0.7% ไม่น่ากลัวครับ
มาตรการที่ประเทศจีนใช้ป้องกันและควบคุม
ระยะที่ 1 การควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่จากแหล่งเริ่มต้น (เมืองอู่ฮั่น) ไปยังบริเวณอื่น เช่น การปิดตลาด การแยกเชื้อและอ่านรหัสพันธุกรรม การวินิจฉัย เฝ้าระวัง และการสืบสวนโรค
ระยะที่ 2 ชะลอความรุนแรงและความเร็วของการระบาด เช่น รักษาผู้ป่วยทุกราย ติดตามผู้สัมผัสและผู้ใกล้ชิด ขยายเวลาวันหยุด ควบคุมการเดินทาง ปิดเมือง ให้ความรู้แก่ประชาชน จัดอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องป้องกัน เพิ่มเตียงผู้ป่วย ควบคุมสินค้าอุปโภคและบริโภค
ระยะที่ 3 ฟื้นฟูและเตรียมกลับสู่สภาวะปกติ คือ พยายามนำประชาชนให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ โดยมีการดูแลอย่างใกล้ชิด และเตรียมการฟื้นฟูความเสียหาย
มาตรการหลักที่ใช้ควบคุมในประเทศจีน
จะเลือกเดินเส้นข้างบนหรือข้างล่าง
มาเรื่องในประเทศไทยของเรา จากกราฟทำนายแนวโน้มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (https://www.nrct.go.th/) ได้พล็อตขึ้นจากข้อมูลสถิติผู้ติดเชื้อในประเทศต่างๆ จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่ จีน อิตาลี อิหร่าน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง เปรียบเทียบกับสถิติผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ตามภาพด้านล่าง จะพบว่า
ก็หวังว่า พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่รัฐบาลประกาศใช้จะเป็นความหวังสำคัญของประเทศไทยที่จะสามารถควมคุมและป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้ได้ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย จะเดินไปตามกราฟเส้นแนวโน้ม B ที่มีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 1,000 คน เหมือนกับ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง ที่เขาสามารถทำได้
ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ 25 มี.ค.2563)
มาตรการหลักที่ใช้ควบคุมในประเทศจีน
- การเฝ้าดู ติดตาม และการรายงานการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง (Monitoring and reporting) ซึ่งเป็นไปตามกฏหมายที่จีนมีอยู่แล้ว มีการจัดทำแผนการเฝ้าดู ติดตามและการรายงานที่มีประสิทธิภาพ
- การเสริมมาตรการการคัดกรอง การควบคุมการเดินทาง และการกักตัวอย่างเข้มข้น (Strengthening ports of entry and quarantine) ของผู้ที่เดินทางเข้า-ออกประเทศ วัดไข้ และหากพบไข้สูงจะนำไปกักตัวเฝ้าดูอาการทันที
- การรักษาผู้ติดเชื้อ (Treatment) ข้อนี้เป็นจุดเด่นของทางการจีน จีนได้สร้างโรงพยาบาลพิเศษขึ้นในพื้นที่สำคัญๆ สำหรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นการเฉพาะ นำผู้ป่วยทุกคน มารักษาในโรงพยาบาลพิเศษที่สร้างขึ้น ระดมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั้งหมดไว้รวมกันในโรงพยาบาลฯ เหล่านี้เป็นหลัก (เพื่อไม่ให้เกิดการกระจายของทรัพยากร) และมีศักยภาพในการรักษาสูงสุด ส่วนแผนสำรอง คือ โรงพยาบาลที่อยู่ตามอำเภอ ตามจังหวัด ต่างๆ ต้องเตรียมจัดแบ่งพื้นที่บางส่วนเป็นการพิเศษเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะ พร้อมทำการรักษาได้ทันที
- การตรวจสอบทางระบาดวิทยาและการติดตามผู้ที่สัมผัสอย่างใกล้ชิด (Epidemiological investigation and close contact management) การตรวจสอบทางระบาดวิทยาที่เข้มข้นดำเนินการสอบสวนโรค ค้นหาแหล่งที่มาของเชื้อ เฝ้าระวัง และติดตามผู้ที่เข้าร่วมกลุ่มและสัมผัสอย่างใกล้ชิด จีนให้ความสำคัญในการสอบสวนโรคมาก มีทีมค้นหาและสอบสวนโรคนี้ถึง 1,800 ทีม ๆ ละ 5 คน ค้นหาผู้ที่สัมผัสและอาจจะติดเชื้อได้วันละ 10,000 คน/ต่อวัน (ที่ประเทศไทยเรามีจำนวนผู้ติดเชื้อไม่มากนัก เพราะเราอาจมีทีมค้นหาและสอบสวนโรคนี้น้อย จึงไม่พบค่อยพบผู้ติดเชื้อ)
- การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) มาตรการนี้ หลักการ คือ งดกิจกรรมที่จะทำให้ผู้คนมีความใกล้ชิดกัน ซึ่งประเทศไทยเราก็ได้ทำแล้ว เช่น อยู่ห่างกัน 2 เมตร งดการจัดงานเลี้ยงต่างๆ งานบุญ งานกุศล งานกิจกรรมการกีฬาและสันทนาการ งดการจัดกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์ ปิดร้านอาหาร สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ต่างๆ ที่คนมาชุมนุมกัน ในประเทศจีน ถึงขั้นสั่งงดการฉลองตรุษจีนเลย ถึงแม้จะเป็นประเพณีที่สำคัญของชาติก็ตาม
- การสนับสนุนเงินทุนและวัตถุดิบ (Funding and Material support) ช่วยเหลือเงินทุนและวัตถุดิบสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ให้แก่ ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปที่ตกงาน หรือว่างงาน จากการเลิกจ้าง จัดเงินประกันสุขภาพอย่างเพียงพอและทั่วถึงแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกคน
- การจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉินอย่างเพียงพอ (Emergency material Support) รัฐบาลจีนเร่งฟื้นฟูการผลิตและขยายกำลังการผลิตวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉิน สนับสนุนให้แก่องค์กรส่วนท้องถิ่น โดยการขยายการนำเข้าและใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน เพื่อช่วยการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์ได้สะดวกยิ่งขึ้น
- สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและภูมิภาคในการแบ่งปันข้อมูล (International and Interregional cooperation and information sharing) อย่างเช่นร่วมมือกับองค์กรอนามัยโลกในการเข้าทำการสอบสวนโรคในครั้งนี้ เป็นต้น
- การรายงานข้อมูลประจำวัน (Daily updates) คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน มีประกาศสถานการณ์โรคระบาดทุกวัน และจัดการแถลงข่าวประจำวันเพื่อตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ ให้ประชาชนเข้าใจไปในทางเดียวกัน นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้การแบ่งปันความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ COVID-19 เพื่อป้องกันการตื่นตระหนก และเพื่อการจัดการกับปัญหาสาธารณะอีกด้วย
- การดูแลทางด้านจิตใจ (Psychological care) มาตรการนี้ มีไว้สำหรับผู้ป่วยและประชาชน รัฐบาลในทุกระดับ รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน และทุกภาคส่วนของสังคมได้พัฒนาแนวทางสำหรับการเยียวยาด้านจิตวิทยาฉุกเฉิน และแนวทางสำหรับการช่วยเหลือตนเอง รวมทั้งการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาสาธารณะ รัฐบาลมีการจัดตั้งสายด่วนสำหรับบริการสุขภาพจิตสำหรับประชาชนทั่วไปอีกด้วย
- IT platform จีนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และ AI สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือกับ COVID-19 และการตอบสนอง มีแอปพลิเคชั่นให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การเข้าถึงบริการออนไลน์ เรื่องการสั่งซื้ออาหารและเครื่องใช้จำเป็น การจัดหาเครื่องมือสำหรับการศึกษาและการทำงานระยะไกลแบบออนไลน์ เพิ่มบริการออนไลน์ให้ประชาชนเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ ลดจำนวนข้อมูลผิด ๆ และข่าวปลอมที่ประชาชนได้รับ
- พื้นที่ที่ไม่มีการระบาด (In areas without cases) กลยุทธ์ในพื้นที่เหล่านี้ คือ การป้องกัน ตรวจสอบ และคัดกรอง ผู้คนที่เข้า-ออกในพื้นที่ เช่น ตามสถานีขนส่งต่างๆ ต้องมีการตรวจสอบวัดไข้อย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมมาตรการการป้องกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อประชาชนในการดำเนินชีวิตตามปกติ
- พื้นที่มีการระบาดบางส่วน (In areas with sporadic cases) กลยุทธ์ ห้ามไม่ให้ใครเข้าไปในพื้นที่นั้น ทำความสะอาดพื้นที่ ฆ่าเชื้อ ตรวจสอบเฝ้าระวังคนที่เคยเข้าไปในพื้นที่นั้นๆ หากพบให้ดำเนินการรักษา
- กลุ่มพื้นที่ชุมชนที่มีการระบาด (In areas with community clusters) ใช้กลยุทธ์ ปิดพื้นที่ชุมชนส่วนที่มีการระบาด ห้ามไม่ให้คนเข้า-ออก และทำการรักษา ค้นหา และเผ้าระวังผู้อาจจะติดเชื้อ
- พื้นที่ชุมชนที่มีการติดเชื้อเรียบร้อยแล้ว (In areas with community transmission) ใช้กลยุทธ์การป้องกันและควบคุมอย่างเข้มงวดสูงสุด ห้ามไม่ให้คนเข้าและออกเมือง (มาตรการปิดเมืองสูงสุด) ใช้มาตรการด้านสาธารณสุขและการรักษาทางการแพทย์อย่างเข้มข้น
จีนขอความร่วมมือจากประชาชนอย่างไรบ้าง
- ให้ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก
- ดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ใส่หน้ากาก หากมีความเสี่ยง หรือเมื่อจะเข้าในบริเวณพื้นที่เสี่ยง
- เฝ้าระวังและสังเกตุอาการตนเอง หากมีไข้ มีอาการ ต้องมาพบแพทย์ รายงานแพทย์ เมื่อมีความเสี่ยง เช่น เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง
- เตรียมสนับสนุนและดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ที่อาจนำมาใช้หากเกิดการระบาด
ท่านใดสนใจอ่านรายงานการสอบสวนฯ สามารถหาอ่านได้ในเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลกครับ (https://www.who.int/)
จะเลือกเดินเส้นข้างบนหรือข้างล่าง
มาเรื่องในประเทศไทยของเรา จากกราฟทำนายแนวโน้มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (https://www.nrct.go.th/) ได้พล็อตขึ้นจากข้อมูลสถิติผู้ติดเชื้อในประเทศต่างๆ จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่ จีน อิตาลี อิหร่าน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง เปรียบเทียบกับสถิติผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ตามภาพด้านล่าง จะพบว่า
- ประเทศที่มีมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดไม่ดี เมื่อมีผู้ติดเชื้อเริ่มเข้าสู่จำนวน 1,000 คนแล้วแนวโน้มผู้ติดเชื้อจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จะหยุดการระบาดได้ยาก เช่น ประเทศจีน อิตาลี อิหร่าน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้
- ประเทศที่มีมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดได้ดี จะมีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 1,000 คน เช่น ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ และฮ่องกง
- สำหรับประเทศไทย ณ วันที่ 25 มี.ค.2563 มีผู้ติดเชื้อ 934 คน ซึ่งหากมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดใช้ไม่ได้ผล จากการทำนายทางสถิติเมื่อสิ้นสุดวันที่ 8 เม.ย.2563 ประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อ มากกว่า 10,000 คน (เป็นไปตามเส้นแนวโน้ม A)
กราฟทำนายจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เริ่มจากจำนวนวันที่ประเทศนั้นๆ พบผู้ติดเชื้อจำนวน 100 ราย ซึ่งประเทศไทยเริ่มจากวันที่ 15 มี.ค.2563 |
ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ 25 มี.ค.2563)
- ญี่ปุ่น มีผู้ติดเชื้อ 1,128 คน
- สิงคโปร์มีผู้ติดเชื้อ 507 คน
- ฮ่องกงมีผู้ติดเชื่อ 356 คน
*************************************
จุฑาคเชน : 25 มี.ค.2563
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น