วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565

เจาะลึก : ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านศิลปะ วัฒนธรรมฯ ตามแผนพัฒนาท้องถิ่นราชบุรี 2566-2570 : งบประมาณ 103.82 ล้านบาท

ที่เห็นข้าราชการและนักการเมือง ทำโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ กันอยู่นั้น คือเงินภาษีของพวกเราทั้งสิ้น ลองมาดูกันว่าอีก 5 ปีข้างหน้า อบจ.ราชบุรี วางแผนจะทำอะไรกันบ้าง? 

ตามที่ อบจ.ราชบุรี  ได้ประกาศการใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ และให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับทราบทั่วกัน เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2564 ทางสถาบันราชบุรีศึกษา จึงขอสรุปสาระสำคัญ เพื่อให้ประชาชนชาวราชบุรีได้รับทราบ ซึ่งประชาชนยังสามารถให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น เพื่อให้ คณะกรรมการจัดทำแผนฯ นำไปปรับปรุงและแก้ไขแผนพัฒนาท้องถิ่น จ.ราชบุรี ให้มีประสิทธิภาพต่อไปได้

ในยุทธศาสตรที่ 6 ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) ของ อบจ.ราชบุรี จัดทำความต้องการงบประมาณไว้ที่ 103,827,000 บาท แบ่งออกเป็น 3 แผนงาน เรียงควมต้องการงบประมาณจากมากไปหาน้อย ดังนี้

  1. แผนงานการศาสนา  วัฒนธรรม และนันทนาการ จำนวน 53,327,500 บาท (คิดเป็นร้อยละ 51.36)
  2. แผนงงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จำนวน 50,000,000 บาท (คิดเป็นร้อยละ 48.16)
  3. แผนงานการพาณิชย์ จำนวน 500,000 บาท (คิดเป็นร้อยละ 0.48)
คำชี้แจง
ในบทความนี้ หากในท้ายโครงการใดที่เขียนว่า ควรทบทวน... หมายถึง เห็นควรที่จะมีทบทวนและพิจารณาถึงความจำเป็นของโครงการใหม่ หรือผลจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาแล้ว ความทันสมัย ความร่วมสมัย ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาอื่น ๆ และบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ที่จะได้กับความคุ้มค่าของงบประมาณที่ใช้ ท่ามกลางความขัดสนทางด้านงบประมาณของประเทศ ซึ่งความเห็นนี้เป็นความเห็นของสถาบันราชบุรีศึกษาในเชิงวิชาการเท่านั้น ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับกลุ่มหรือบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น

แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วย
  1. โครงการรวมพลังปกป้องสถาบันของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอด 5 ปี ปีละ 10,000,000 บาท (ควรทบทวนเนื้อหาและวิธีการ)
แผนงานการศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ
แผนงานการศาสนา วัฒนรรม และนันทนาการ ประกอบด้วย
  1. อุดหนุนที่ทำการปกครอง อ.ดำเนินสะดวก จัดทำโครงการตามรอยพระพุทธเจ้าหลวง ตลอด 5 ปี ปีละ 300,000 บาท (อ.ดำเนินฯ สมทบ 10,000 บาท)
  2. อุดหนุน มรภ.หมู่บ้านจอมบึง จัดทำโครงการงานประเพณีปีนเขาเข้าถ้ำจอมพล ตลอด 5 ปี ปีละ 400,000 บาท (มรภ.หมู่บ้านจอมบึง สมทบ 20,000 บาท)
  3. อุดหนุนที่ทำการปกครอง อ.จอมบึง โครงการสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ตลอด 5 ปี ปีละ 200,000 บาท (อ.จอมบึง สมทบ 10,000 บาท)
  4. โครงการจัดงานรัฐพิธี พิธีทางศาสนา และงานอื่น ๆ ที่เป็นวันสำคัญของราชการ ตลอด 5 ปี ปีละ 5,000,000 บาท
  5. โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12สิงหาคม ตลอด 5 ปี ปีละ 500,000 บาท
  6. โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ตลอด 5 ปี ปีละ 1,000,000 บาท
  7. พ.ศ.2566 
    1. อุดหนุนวัดเขาช่องพราน อ.โพธาราม ก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ จำนวน 4,500,000 บาท
    2. อุดหนุนวัดนางแก้ว อ.โพธาราม ก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ จำนวน 4,500,000 บาท
  8. อุดหนุนสำนักงานวัฒนธรรม จ.ราชบุรี จัดงานอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ ราชบุรี ตลอด 5 ปี ปีละ 161,800 บาท (สง.วัฒนธรรมฯ สมทบ 10,000 บาท)
  9. อุดหนุนสำนักงานวัฒนธรรม จ.ราชบุรี จัดงานปอยขันโตกรวมใจไท-ยวน ราชบุรี ตลอด 5 ปี ปีละ 180,000 บาท (สง.วัฒนธรรมฯ สมทบ 10,000 บาท)
  10. อุดหนุนสำนักงานวัฒนธรรม จ.ราชบุรี จัดงานประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ ระดับจังหวัด ตลอด 5 ปี ปีละ 52,000 บาท  (สง.วัฒนธรรมฯ สมทบ 10,000 บาท)
  11. อุดหนุนที่ทำปกครอง อ.บ้านคา จัดงานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นเทศกาลเดือนเก้า หรือประเพณีกินข้าวห่อ ตลอด 5 ปี ปีละ 65,500 บาท (อ.บ้านคา สมทบ 2,000 บาท)
  12. อุดหนุนสภาวัฒนธรรม จ.ราชบุรี จัดงานสืบสานวัฒนธรรม จ.ราชบุรี ตลอด 5 ปี ปีละ 801,000 บาท (ควรทบทวนเนื้อหาและวิธีการ)
  13. อุดหนุนสภาวัฒนธรรม จ.ราชบุรี จัดงานอนุรักษ์มรดกไทย ตลอด 5 ปี ปีละ 106,200 บาท (ควรทบทวนเนื้อหาและวิธีการ)
  14. อุดหนุนสภาวัฒนธรรม จ.ราชบุรี จัดงานประเพณีพระสงฆ์เหยียบหลังกะเหรี่ยงวัดแจ้งเจริญ ตลอด 5 ปี ปีละ 99,000 บาท (ควรทบทวนเนื้อหาและวิธีการ)
แผนงานการพาณิชย์
แผนงานการพาณิชย์ ประกอบด้วย
  1. โครงการทำความสะอาดบำรุงรักษาสถานีขนส่งผู้โดยสาร จ.ราชบุรี แห่งที่ 2 ตลอด 5 ปี ปีละ 100,000 บาท 
แผนงานและโครงการของแต่ละยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ประเด็นที่ อบจ.ราชบุรี ประกาศใช้ในครั้งนี้ ชาวราชบุรีทุกคน ควรที่จะรับทราบและติดตามอย่างต่อเนื่อง หากแผนงานและโครงการใด ไม่คุ้มค่าหรือไม่สอดคล้องกับการพัฒนา ยังสามารถแก้ไขได้ เพียงขอให้ชาวราชบุรีทุกคนได้ร่วมมือกันตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล อย่างจริงจัง เพราะเงินงบประมาณทั้งหมดเป็นเงินที่มาจากภาษีของเรา

บทความที่เกี่ยวข้อง 
**********************
รวบรวมและเรียบเรียง โดย
สถาบันราชบุรีศึกษา
18 ม.ค.2565

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม