วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ภายใน 1 ปี ให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาและคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ประเทศไทยมีอัตราการเข้าเรียนระดับประถมศึกษาร้อยละ 96 ของจำนวนประชากรวัยเรียนทั้งหมด ใกล้เคียงกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ส่วนญี่ปุ่นมีอัตราเข้าเรียนร้อยละ 100, ในขณะที่ World Economic Forum ได้ประเมินตามตัวชี้วัดเสาหลักที่ 5 การอุดมศึกษาและการฝึกอบรม (Higher Education and Training) (ภาพรวมการอุดมศึกษาและการฝึกอบรม) พ.ศ. 2558-2559 ซึ่งเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับ 140 ประเทศ พบว่า ไทยอยู่อันดับที่ 56 สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ยกเว้นมาเลเซียที่ได้อันดับที่ 36 และสิงคโปร์ที่เป็นอันดับ 1 ของโลกจากการประเมินในปีนี้



ในการดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาและคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันนั้น ได้คำนึงถึงความเท่าเทียมกันใน 2 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม




1.ความเท่าเทียมด้านเศรษฐกิจ  กระทรวงศึกษาธิการได้พุ่งเป้าไปที่การแก้ปัญหาเด็กไทยไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาและเด็กตกหล่น แต่ก็พบปัญหาว่ายอดเด็กที่ขาดหายไป ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าย้ายไปเรียนที่ใด เนื่องจากยังไม่มีการ Mapping ข้อมูลการจัดการศึกษาระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการ Mapping ข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าเด็กตกหล่นไปเท่าไร อย่างไร เพื่อดำเนินการแก้ปัญหานี้ต่อไป





จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าจำนวนเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา ป.1 ปีการศึกษา 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 633,852 คน ในขณะที่ตัวเลขเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา ม.1 มีจำนวนทั้งสิ้น 624,911 คน แต่เมื่อเด็กจบ ม.3 ออกไปเหลืออยู่จำนวน 536,318 คน หรือเท่ากับเหลืออยู่ในระบบ 84.65% หายไปจากระบบการศึกษา 97,534 คน

จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องวางแผนด้วยการ "จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" อย่างต่อเนื่องและให้เกิดความยั่งยืน พร้อมทั้งจัดทำระบบเพื่อบูรณาการแก้ปัญหาเด็กออกกลางคันและเด็กตกหล่นอย่างเป็นระบบ (ตามภาพล่าง)




ในส่วนของการดูแลเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาส) ได้จัดการศึกษาแบบโรงเรียนเฉพาะ 48 แห่ง จำนวน 15,000 คน, การจัดการเรียนรวม จำนวน 300,000 คน และศูนย์การเรียน 77 แห่ง จำนวน 15,000 คน ครอบคุลมผู้เรียน จำนวน 341,000 คน


2.ความเท่าเทียมด้านคุณภาพ กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้ประโยชน์จาก DLTV ในการเข้าถึงการศึกษาสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนทั่วไป จำนวน 15,369 โรงเรียน ซึ่งมีผลทำให้ผลการเรียนในรายวิชา ป.6 และ ม.3 สูงขึ้นทุกวิชา ยกเว้นวิชาสังคมศึกษาเท่านั้นที่ลดลงเล็กน้อยทั้ง 2 ระดับชั้นดังกล่าว





ส่วนโรงเรียนอื่นๆ ทั่วไป ได้ให้ทุกโรงเรียนสามารถเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีคุณภาพ ขณะนี้ได้นำระบบ DLIT เข้ามาใช้ในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 15,553 โรงเรียน




******************************
กลับหน้า : นโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษา : 9 ก.ค.2559

ที่มาข้อมูล :
บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2559). รมว.ศธ.บรรยาย นโยบายสำคัญของ ศธ. ในการอบรมสัมมนาผู้บริหาร รร.ไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศ. ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 287/2559. กระทรวงศึกษาธิการ [Online]. Available : http://www.moe.go.th/websm/2016/jul/287.html [2559.กรกฎาคม 12].

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม