วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายกฯ และ สท. เมืองราชบุรี เมื่อ 28 มี.ค.2564

การวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี ซึ่งมีการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค.2564 ที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองและกระแสของคนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีที่มีต่อการเมือง เปรียบเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 ก.ย.2553 รวมทั้งเป็นข้อมูลเพื่อช่วยกำหนดแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีต่อไป  (อ้างอิงจาก : ป้ายประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี : 30 มี.ค.2564)

นายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี พ.ศ.2564

จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามป้ายประกาศของเทศบาลเมืองราชบุรี ค่อนข้างมีความสับสน  ดังนี้
  • สรุปผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี แจ้งว่าผู้มีสิทธิทั้งหมด 26,136 คน
  • สรุปผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล แจ้งว่าผู้มีสิทธิทั้งหมด 26,087 คน
อภิปราย 
  • จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี ครั้งสุดท้ายเมื่อ 26 ก.ย.2553 มีจำนวน 26,900 คน จนกระทั่งถึงการเลือกตั้งในวันที่ 28 มี.ค.2564 นับเวลา 10 ปีเศษ เดิมคาดว่าผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-28 ปีซึ่งจะมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจึงน่าจะมีจำนวนมากขึ้น แต่กลับลดน้อยลง ถึง 700 กว่าคน แสดงว่า อัตราการตาย และอัตราการย้ายถิ่นฐาน มีมากกว่าอัตราการเจริญเติบโตของคนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี
  • จำนวนผู้มีสิทธิตามที่เทศบาลฯ รายงานมีความแตกต่างกัน ถึง 49 คน จึงก่อให้เกิดความสับสนว่า จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำไม? จึงไม่เท่ากัน ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว มันควรจะเท่ากัน เพราะที่มา คือ ตามทะเบียนบ้าน หากเป็นเช่นนี้ แสดงว่าบางคนมีสิทธิเลือกเฉพาะนายก และบางคนมีสิทธิเลือกเฉพาะ สท. ใช่หรือไม่
จำนวนผู้มีสิทธิและผู้มาใช้สิทธิ ควรจะเท่ากัน


จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามป้ายประกาศของเทศบาลเมืองราชบุรี ค่อนข้างมีความสับสน  เช่นกัน ดังนี้
  • จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี แจ้งว่ามา 18,177 คน (ร้อยละ 69.48)
  • จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง สท.ทั้ง 3 เขต รวมกันแล้วได้จำนวน 18,132 คน (ร้อยละ 69.50)
อภิปราย 
  • จำนวนผู้มาใช้สิทธิ แตกต่างกัน จำนวน 45 คน จึงทำให้มีความสับสน  หากนับจากจำนวนการลงทะเบียนด้วยลายมือชื่อในแต่ละหน่วยเลือกตั้งแล้ว (ไม่ได้นับมาจากบัตรเลือกตั้ง) จำนวนผู้มาใช้สิทธิทั้งนายกฯ และ สท.ควรจะมีจำนวนเท่ากัน 
  • เมื่อปี พ.ศ.2553 จำนวนผู้มาใช้สิทธิ จำนวน 18,894 คน (คิดเป็นร้อยละ 70.24) ซึ่งใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่าง
ตัวย่อในการรายงาน : 
ศม.= กลุ่มศมานันท์พัฒนา
ศช.= กลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา
สร. =เสรีรวมไทย
รมร.= กลุ่มรักษ์เมืองราชบุรี
อส.= ผู้สมัครอิสระ

ผลวิเคราะห์การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี
  • อันดับ 1 เบอร์ 3 นายศักดิ์ชัย พิศาลผล (ไก่ กังวาล)  (ศช.) จำนวน 8,623 คะแนน เป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี
  • อันดับ 2 เบอร์ 1 น.ส.วาสนา (โจ้) เหล่าวณิชวิศิษฎ (ศม.) จำนวน 6,981 คะแนน
  • อันดับ 3 เบอร์ 2 น.ส.นันท์กมล (เจี๊ยบ)  ประสงค์ไลเลิศกุล (สร.) จำนวน 1,011 คะแน
ผู้มีสิทธิออกเสียง 26,136  คน
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง  18,177 คน (คิดเป็นร้อยละ 69.48)
บัตรดี 16,615 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 91.41)
บัตรเสีย จำนวน 578 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 3.18)
ไม่เลือกหมายเลขใด  จำนวน 984 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 5.41)

อภิปราย
  • นายศักดิ์ชัย ฯ ได้รับคะแนนในเขตเลือกตั้งที่ 2 มากที่สุด รองลงมาคือ เขต 3 และเขต 1 ได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 8,623 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.56 จากผู้ที่มาใช้สิทธิ  (คะแนน ผู้ที่ได้ตำแหน่งนายกฯ เมื่อปี 2553 จำนวน 9,644 คะแนน) 
  • มีบัตรเสียจำนวน 578 ใบ เมื่อปี พ.ศ.2553 มีบัตรเสียจำนวน 1,013 ใบ แสดงว่าผู้มาใช้สิทธิ มีความเข้าใจมากขึ้น จำนวนบัตรเสียไม่ส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้งแต่อย่างใด
  • ไม่เลือกหมายเลขใด มีจำนวน 984 ใบ เมื่อปี พ.ศ.2553 มีจำนวน 931 ใบ เพิ่มขึ้น 53 ใบ แสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ อาจเป็นคนกลุ่มเดิม ที่เห็นว่าไม่มีใครที่มีความเหมาะสม
ผลวิเคราะห์การเลือกตั้ง สท.เมืองราชบุรี ทั้ง 3 เขต
เขต 1 (ผู้มาใช้สิทธิ 4,926 จาก 7,282)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 1,852 คะแนน (ร้อยละ 37.60 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 2,975)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนต่ำสุด  1,422 คะแนน (ร้อยละ 28.86 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 2,562)
  • คะแนนเฉลี่ยของ สท.เขต 1 ทั้ง 6 คน 1,653 คะแนน (ปี พ.ศ.2553 : 2,740.16)

เขต 2 (ผู้มาใช้สิทธิ 6,874 จาก 9,642)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 2,319 คะแนน (ร้อยละ 33.73 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 2,829)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนต่ำสุด  2,052 คะแนน (ร้อยละ 29.85 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 2,222)
  • คะแนนเฉลี่ยของ สท.เขต 2 ทั้ง 6 คน 2,162.83 คะแนน  (ปี พ.ศ.2553 : 2,522.83)

เขต 3 (ผู้มาใช้สิทธิ 6,332 จาก 9,166)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 2,950 คะแนน (ร้อยละ 46.58 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 3,209)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนต่ำสุด  1,742 คะแนน (ร้อยละ 27.51 ของผู้มาใช้สิทธิ) (ปี พ.ศ.2553 : 2,299)
  • คะแนนเฉลี่ยของ สท.เขต 3 ทั้ง 6 คน 2,231.16 คะแนน (ปี พ.ศ.2553 : 2,819.66)

รวมทั้ง 3 เขต (ผู้มาใช้สิทธิ 18,132 จาก 26,090)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 2,950 คะแนน  (ปี พ.ศ.2553 : 3,209)
  • สท. ที่ได้รับคะแนนต่ำสุด  1,422 คะแนน  (ปี พ.ศ.2553 : 2,222)
  • คะแนนเฉลี่ยของ สท.ทั้ง 3 เขต รวม 18 คน 2,015.67 คะแนน (ปี พ.ศ.2553 : 2,694.22)

อภิปราย  สท. ที่ได้รับเลือกตั้งครั้งนี้  มีคะแนนเฉลี่ยประมาณ 2,015.67 คะแนน ต่ำกว่าปี พ.ศ.2553 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย 2,694 คะแนน สาเหตุ เพราะ
  1. ปี พ.ศ.2553 ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต่างทุ่มคะแนนไปให้ ผู้สมัครกลุ่มศมานันท์พัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ทิ้งคู่แข่งสำคัญคือ กลุ่มหวงแหนถิ่นกำเนิด จำนวนคะแนนห่างกันเป็นจำนวนมาก
  2. แต่ในปี พ.ศ.2564 นี้ แม้ว่ากลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา จะเป็นฝ่ายชนะได้ สท.เสียงข้างมาก แต่คะแนนเฉลี่ยของ สท.ต่ำกว่าปี พ.ศ.2553 เพราะผู้มีสิทธิ์เลือกดั้งเดิมยังเทลงคะแนนให้ผู้สมัคร สท.กลุ่มศมานันท์พัฒนา เป็นจำนวนมากอยู่ โดยมีคะแนนทิ้งห่างกันเป็นจำนวนไม่มากนัก  
บัตรเสียเลือก สท.
เขต 1 บัตรเสีย  308 ใบ จาก 4,926 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.18 
เขต 2 บัตรเสีย  452 ใบ จาก 6,874 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.58
เขต 3 บัตรเสีย  381 ใบ จาก 6,332 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.02
รวมทั้ง 3 เขต บัตรเสีย 1,141 ใบ จาก 18,132 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.29 

อภิปราย จำนวนบัตรเสียในครั้งนี้ มีถึง 1,141 ใบ โดยเขต 2 มากที่สุด  และจำนวนบัตรเสียนี้ หากเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งวิเคราะห์ผิด อาจส่งผลกระทบต่อลำดับผลการเลือกตั้ง ผู้สมัคร สท.ในแต่ละเขตได้ เพราะคะแนนผู้สมัคร สท.แต่ละเขต ต่างกันไม่มากนัก เช่น
  • เขต 1  ผู้ได้ลำดับ 6 และผู้ได้ลำดับ 7 คะแนนต่างกันเพียง 68 คะแนน
  • เขต 2  ผู้ได้ลำดับ 6 และผู้ได้ลำดับ 7 คะแนนต่างกันเพียง 57 คะแนน
  • เขต 3  ผู้ได้ลำดับ 6 และผู้ได้ลำดับ 7 คะแนนต่างกันเพียง 5 คะแนน

ไม่เลือก สท.หมายเลขใด
เขต 1 ไม่เลือกหมายเลขใด 493 ใบ จาก 4,926 ใบ คิดเป็นร้อยละ 10.1 (ปี พ.ศ.2553 : 409)
เขต 2 ไม่เลือกหมายเลขใด 537 ใบ จาก 6,874 ใบ คิดเป็นร้อยละ 7.81 (ปี พ.ศ.2553 : 530)
เขต 3 ไม่เลือกหมายเลขใด  508 ใบ จาก 6,332 ใบ คิดเป็นร้อยละ 8.02 (ปี พ.ศ.2553 : 286)
รวมทั้ง 3 เขต ไม่เลือกหมายเลขใด 1,538 ใบ จาก 18,132 ใบ คิดเป็นร้อยละ 8.48 (ปี พ.ศ.2553 : 1,225)

อภิปราย ผู้มีสิทธิที่ประสงค์ไม่เลือก สท. หมายเลขใดเลย มียอดถึง 1,538 คิดเป็นร้อยละ 8.48  เพิ่มจากปี 2553 ถึง 313 คน ซึ่งคนกลุ่มนี้ ไม่น่าจะเรียกว่าเบื่อการเมือง เพราะเขามาใช้สิทธิ แต่อาจมองเห็นว่า ไม่มีตัวเลือกที่เหมาะสมในบรรดาเหล่าผู้สมัคร สท. ทั้งหลายในเขตของเขาเอง โดยคนกลุ่มนี้ อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 มากที่สุด ถึง 537 คน ในเขต 3 มีผู้ประสงค์ไม่เลือกหมายเลขใด ถึง 508 คน เพิ่มจากปี พ.ศ.2553 ถึง 222 คน



สรุป ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมื่อราชบุรี ในครั้งนี้ 
  • ฝ่ายบริหาร คือ นายศักดิ์ชัย พิศาลผล เป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี หน.กลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา
  • ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 18 คน ประกอบด้วย สท.กลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา จำนวน 14 คน และ กลุ่มศมานันท์พัฒนา จำนวน 4 คน 
การบริหารงานเทศบาลเมืองราชบุรีในอีก 4 ปีข้างหน้านี้ น่าจะเป็นไปอย่างมีเอกภาพและมีเสถียรภาพ  ขึ้นอยู่กับประชาชนคนเทศบาลฯ ต้องคอยติดตามนโยบายต่าง ๆ ที่ทางกลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา ได้หาเสียงไว้ ให้มีการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่าปล่อยให้เหตุการณ์ผิดพลาดอย่างในอดีตเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง  

ผลการเลือกตั้ง สท.เมืองราชบุรีทั้ง 3 เขต
สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 1
อันดับ 1 เบอร์ 4 น.ส.วชววรวรรธ  กิตติอุดม (อ้น) (ศช.) จำนวน 1,852 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 2 เบอร์ 5 นายโกมิน  อุดมสินต์  ประธานชุมชนคฑาธร 
(ศช.) จำนวน 1,824 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 3 เบอร์ 6 นายรัชฎ์อดิเทพ วิธูชุลี (ทนายเทพ) (ศช.) จำนวน 1,757 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 4 เบอร์ 9 นายธัญกร ลาภนิมตรชีย (ซัน/ร้านเคี้ยงเส็ง) (ศช.) จำนวน 1,613 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 5 เบอร์ 7 นางสุพรรษา  อ่องคำหาษ (เกด) เลขาประธานชุมชนเพชรเกษม  (ศช.) จำนวน 1,450 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 6 เบอร์ 8 นางสธิมา  โล่ห์อมรเวช (ดา) อสม.เทศบาลเมืองราชบุรี  (ศช.) จำนวน 1,422 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 7 เบอร์ 11 นางวิลาสินี  อิทธิโสภณพิศาล (จ๋า) อดีต สท.เทศบาลเมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,354 คะแนน
อันดับ 8 เบอร์ 10 นางวรรณวิมล แซ่ตั้ง (เจ๊กล้วย)  (ศม.) จำนวน 1,340 คะแนน
อันดับ 9 เบอร์ 12 น.ส.สุนทรี  เลิศสุวรรณ (น้องเล็ก) อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,323 คะแนน
อันดับ 10 เบอร์ 13 นายวัศพล ไกรสิงห์เดชา (สี่) ผจก.บจก.สี่เสียงราชบุรีมอเตอร์ (ศม.) จำนวน 1,285 คะแนน
อันดับ 11 เบอร์ 1 นายวิชัย  เจนนิติธรรม (เต่า) (รมร.) จำนวน 1,238 คะแนน
อันดับ 12 เบอร์ 15  ร.ต.ต.อุดมศักดิ์  ฝ้ายเครือ (ดาบดม) ประธานชุมชนร่วมใจ (ศม.) จำนวน 1,208 คะแนน
อันดับ 13 เบอร์ 14 นายชุติเดช ธาราโรจนดล (เสรี) ประธานชุมชนแม้นรำลึก (ศม.) จำนวน 1,168 คะแนน
อันดับ 14 เบอร์ 2 น.ส.พรรณเพ็ญ ชิ้นแสงชัย (ย้ย)  (รมร.) จำนวน 1.046  คะแนน
อันดับ 15 เบอร์ 16 น.ส.ยุวดี  นิติธารากุล (ส้ม) (รมร.) จำนวน 729 คะแนน

ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 7,282 คน
มาใช้สิทธิ์ 4,926 คน (คิดเป็นร้อยละ 67.65)
บัตรดี 4,125 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 83.74)
บัตรเสีย จำนวน 308 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 6.25)
ไม่เลือกหมายเลขใด จำนวน 493 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 10.01)

สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 2
อันดับ 1 เบอร์ 4 นางเนาวรัตน์  อยู่ภิรมย์  (ศช.) จำนวน 2,319 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 2
เบอร์ 5 น.ส.วิลัย เมฆพยับ (ต๋อย) รองประธาน อสม.เทศบาลเมือราชบุรี (ศช.)จำนวน 2,261 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 3 เบอร์ 7 นางกมลพร  เมฆพยับ (ตุ๋ย) รองประธานกลุ่มแม่บ้าน (ศช.) จำนวน 2,210 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 4 เบอร์ 6 นางนฤมน  เพชรนิติกร (มน) รองประธานชุมชนคนตลาด  (ศช.) จำนวน 2,069 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 5 เบอร์ 11 นายสมบัติ ทิพธามา อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 2,066 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 6 เบอร์ 10 อ.เสาวณิต นันท์ธนะวานิช อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 2,052 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 7 เบอร์ 1 นายณัฐพล  พิณประภัศร์ (เต้น) (รมร.) จำนวน 1,995 คะแนน
อันดับ 8 เบอร์ 12 นายไพฑูรย์  มลสวัสดิ์ (เฮียทุ้ย) (ศม.) จำนวน 1,978 คะแนน
อันดับ 9 เบอร์ 13 นายละออง จันทร์แม้น อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,956 คะแนน
อันดับ 10 เบอร์ 8 นายสุนทร ศิริสวัสดิ์ (ทร) อสม.เทศบาลเมืองราชบุรี (ศช.) จำนวน 1,940 คะแนน
อันดับ 11 เบอร์ 9 นายภาณุสิทธิ์  เทียนรุ่งโรจน์ (โอ๋) ที่ปรึกษาประธานชุมชนคนตลาด (ศช.) จำนวน 1,828 คะแนน
อันดับ 12 เบอร์ 3 นายขวัญชัย (ขวัญ) สว่างเกตุ (รมร.) จำนวน 1,819 คะแนน
อันดับ 13 เบอร์ 15 นายสถาพร นรสิงห์ (เดียร์) ประธานชุมชนชาวดิน  (ศม.) จำนวน 1,675 คะแนน
อันดับ 14 เบอร์ 2 นายบัณฑิต  สิริพุทธามาศ (เอก) (รมร.) จำนวน 1,633 คะแนน
อันดับ 15 เบอร์ 14 นายสุรเดช  สุนทระศานติก (เฮียหมู) อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,618 คะแนน
อันดับ 16 เบอร์ 16 นายอิทธิพล  พุทธอินทร์ (อส.) จำนวน 374 คะแนน

ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 9,642 คน
มาใช้สิทธิ์ 6,874 คน (คิดเป็นร้อยละ 71.29)
บัตรดี 5,885 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 85.61)
บัตรเสีย จำนวน 452 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 6.58)
ไม่เลือกหมายเลขใด จำนวน 537 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 7.81)

สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 3
อันดับ 1 เบอร์ 5 น.ส.รัตนา  ช้างพลายงาม (จุ๋ม) อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศช.)  จำนวน 2,950 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 2 เบอร์ 4 นายวิทยา เหล่างาม อดีต รองประธานสภา.เมืองราชบุรี (ศช.) จำนวน 2,408 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 3 เบอร์ 8 นายณัฐพงษ์ ลิปิกร (พงษ์) ร้านน้ำแข็งเอี้ยน่ำเฮง  (ศช.) จำนวน 2,286 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 4 เบอร์ 6 น.ส.อรทัย  คงคา (หมู)  ประธานกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองราชบุรี (ศช.) จำนวน 2,208 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 5 เบอร์ 10  ดร.ดุจตะวัน วิไลวงษ์ (ดร.อุ้ม) อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,793 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 6 เบอร์ 15  นายอุดม อังกุรกวิน (โกแหละ) อดีต สท.เมืองราชบุรี (ศม.) จำนวน 1,742 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 7 เบอร์ 7 น.ส.นิศา จารุพงศ์ปัทมา (พลอย) เลขาประธานชุมชนท้าวอู่ทอง (ศช.) จำนวน 1,737 คะแนน
อันดับ 8 เบอร์ 11 อ.คะนอง  ทรัพย์ประเสริฐ อดีตอ สท.เมืองท่าผา (ศม.) จำนวน 1,725 คะแนน
อันดับ 9 เบอร์ 9 นายบุญธรรม ประจำแถว (วัฒน์) อสม.เทศบาลเมืองราชบุรี (ศช.) จำนวน 1,626 คะแนน
อันดับ 10 เบอร์ 13  นายสมประสงค์  หนูไฉยา (นึก) อดีต พนง.กรุงไทย (ศม.) จำนวน 1,584 คะแนน
อันดับ 11 เบอร์ 12 นายรุ่งโรจน์ สอนคุณ (อ้อ) คณะกรรมการชุมชนไทยรามัญ (ศม.)  จำนวน 1,577 คะแนน
อันดับ 12 เบอร์ 1 นายจักรพงศ์ สว่างกุล (โจ้) (รมร.) จำนวน 1,554 คะแนน
อันดับ 13 เบอร์ 14 นายประพันธ์  ตัถยานันท์  (ทนายต่อย) (ศม.) จำนวน 1,404 คะแนน
อันดับ 14 เบอร์ 2  น.ส.กรกนก ฐานาพิชัยศักดิ์ (กวาง) (รมร.) จำนวน 1,319 คะแนน
อันดับ 15 เบอร์ 3 นางขวัญตา นาคนาคา (ตา) (รมร.) จำนวน 1,144 คะแนน

ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 9,166 คน
มาใช้สิทธิ์ 6,332 คน (คิดเป็นร้อยละ 69.08)
บัตรดี 5,443 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 85.96)
บัตรเสีย จำนวน 381 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 6.02)
ไม่เลือกหมายเลขใด  จำนวน 508  ใบ (คิดเป็นร้อยละ 8.02)

***********************************
จัดทำโดย
สถาบันราชบุรีศึกษา 
30 มี.ค.2564









อ่านเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564

28 มี.ค.2564 : เลือกตั้งอย่างไรให้เมืองราชบุรีเจริญ

การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 18 คน ที่จะมีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค.2564 เวลา 08.00-17.00 น. ที่จะถึงนี้ นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของเมืองราชบุรี และจังหวัดราชบุรีอีกครั้งหนึ่ง เพราะเมืองราชบุรีเปรียบเสมือนกับย่านธุรกิจกลาง (Central Business District : CBD)  ที่เป็นศูนย์รวมของทุกอย่างตั้งแต่  ศูนย์ราชการ โรงพยาบาล ที่ตั้งค่ายทหาร ตำรวจ วิทยาลัย โรงเรียน โรงแรม ธนาคาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร บริษัท สถานบันเทิง และตลาดกลางต่าง ๆ เป็นศูนย์รวมของเศรษฐกิจที่จะกระจายไปยังอำเภออื่น ๆ ของ จ.ราชบุรี การเลือกตั้งผู้บริหารเมืองราชบุรีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ


การเลือกตั้งในครั้งนี้ จะมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี  จำนวน 1 คน และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 18 คน  มาจากเขตการเลือกตั้ง  3 เขต คือ เขต 1, 2 และ 3  เขตละ 6 คน  

ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี 
มีจำนวน 3 คน ได้แก่
  • เบอร์ 1 น.ส.วาสนา (โจ้) เหล่าวณิชวิศิษฎ หน.กลุ่มศมานันท์พัฒนา 
  • เบอร์ 2 น.ส.นันท์กมล (เจี๊ยบ)  ประสงค์ไลเลิศกุล ผู้แทนพรรคเสรีรวมไทย 
  • เบอร์ 3 นายศักดิ์ชัย พิศาลผล (ไก่ กังวาล)  หน.กลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา
เบอร์ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี (ส.ท.)



นโยบายกลุ่มศมานันท์พัฒนา


รายนามผู้สมัคร ส.ท.กลุ่มศมานันนท์พัฒนา

เดินทางสะดวก 
  • ออกแบบระบบการจราจรในเมืองราชบุรีเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในชั่วโมงเร่งด่วน
  • เพิ่มพื้นที่ถนนภายในเมืองราชบุรีเพื่อลดปัญหาจราจร
  • ปรับปรุงพื้นผิวทุกสาย
ประปาดื่มได้
  • เพิ่มฐานการผลิตน้ำประปาแห่งใหม่ที่ ต.หลุมดิน
  • ปรับปรุงท่อประปาให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐานดื่มได้
ปลอดน้ำท่วมน้ำเสีย
  • ปรับปรุงระบบท่อระบายน้ำให้มีขนาดใหญ่เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมขัง
  • เพิ่มระบบบำบัดน้ำเสียให้ครอบคลุมทั่วเขตเทศบาล
  • เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บขยะให้เข้าถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่
สะอาดสวยงาม ประชากรสุขภาพแข็งแรง
  • ประสานการไฟฟ้าเพื่อนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน
  • เพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะและส่งเสริมลานกีฬาและกิจกรรม
ปลอดภัย ประชาชนอุ่นใจ
  • ติดตั้งกล้องวงจรปิดนำระบบ AI ช่วยรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน โดยมีศูนย์ควบคุมที่เทศบาลและเชื่อมต่อไปยังสถานีตำรวจ
  • ส่งเสริมให้มีศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • เพิ่มไฟฟ้าแสงสว่างให้ครอบคลุม
การศึกษาเท่าเทียม ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ
  • ยกระดับมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนเทศบาล
  • สร้างโอกาสทางการศึกษาโดยเพิ่มหลักสูตร English Program
น่าเที่ยว
  • สนับสนุนตลาดโคยกี๊และพัฒนาพื้นที่ริมเคลื่อนให้เป็นตลาดน้ำ
  • ปรับปรุงตลาดสดเทศบาลให้เป็นตลาดสดทันสมัย ปลอดภัย ได้มาตรฐาน
  • จัดพื้นที่จอดรถเพิ่มเติมโดยรอบบริเวณเขื่อนและตลาดสด
พัฒนาคุณภาพชุมชน
  • ส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านและผู้มีรายได้น้อยให้มีอาชีพและมีรายได้เสริม
  • อบรมให้ความรู้ อสม.ขั้นพื้นฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนต่าง ๆ

นโยบายพรรคเสรีรวมไทย


สมัครชิงเฉพาะตำแหน่ง นายกฯ 
ไม่ส่ง ผู้ลงสมัคร ส.ท.เขตเทศบาลเมืองราชบุรี

  • อาสาดูแลทุกข์สุขของชาวเขตเทศบาลเมืองราชบุรี 
  • พัฒนาเมืองราชบุรีให้มีความเจริญและมีความพร้อมที่จะเป็นเมืองท่องเที่ยวสร้างตลาดวิถีแห่งความพอเพียง และเป็นเมืองเศรษฐกิจ ย่านการค้าการขาย 
  • ช่วยเหลือประชาชนเรื่องความปลอดภัย
  • จัดอบรมเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ห่างไกลยาเสพติโดยใช้กีฬา 

นโยบายกลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา


ผู้สมัคร ส.ท.กลุ่มศักดิ์ชัยพัฒนา

ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
  • ปรับปรุงผิวจราจรถนนซอยวาสนาดีเรียบคลองสะพาน 3 ไปทางถนนสายเลี่ยงเมือง
  • ปรับปรุงท่อระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี
  • โครงการน้ำประปาดื่มได้
  • จัดบริการรถยนต์สาธารณะรอบเมือง รับส่งนักเรียนเขตเมืองในชั่วโมงเร่งด่วน
พัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจระดับชุมชน มุ่งแก้ไขปัญหาความยากจน สร้างงานเพิ่มรายได้ของประชาชนในชุมชน
  • ปรับปรุงภูมิทัศน์คลองฝรั่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างที่จอดรถแห่งใหม่ เป็นจุดออกกำลังกาย และจำหน่ายสินค้า
  • ปรับปรุงและส่งเสริมตลาดโคยกี้
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ปละประวัติศาสตร์ บริการรถท่องเที่ยวรอบเมือง
การพัฒนาด้านการศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ส้รางความเป็นเลิศตามศักยภาพของเด็กและเยาวชน
  • ส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรีได้พัฒนาศักยภาพสูงสุด ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และคุณธรรม จริยธรรม
  • สงเสริมการศึกษาอย่างทั่วถึงทุกครัวเรือนด้วยโครงการ "Internet ในชุมชน"
  • ส่งเสริมการสร้างรายได้แก่เด็กและเยาวชน ภายใต้โครงการ "เด็กนักเรียนเทศบาลต้องมีงานทำในช่วงปิดภาคเรียน"
ด้านการพัฒนาด้านสังคม มุ่งเน้นให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  • สร้างอาคารผู้สูงอายุให้เป็นที่จัดกิจกรรมนันทนาการ ฝึกอาชีพ และออกกำลังกาย
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา เพื่อให้ประชาชน เด็ก เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  • ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสวนร่วมในการพัฒนาเทศบาลในรูปแบบ "สภาเยาวชน"
  • สร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยติดตั้งกล้องวงจรปิดทุกชุมชน ถนนทุกสาย
การพัฒนาด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและพัมนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
  • จัดสวัสดิการให้กับ อสม.ได้รับการตรวจสุขภาพ ปีละ 1 ครั้ง
  • ปรับปรุงตลาดสดเทศบาลให้ทันสมัย สะอาด ปลอดภัย มีที่จอดรถเพียงพอ
  • ส่งเสริมการออกกำลังกาย และจัดบริการสาธารณสุขอย่างรวดเร็วทั่วถึง

นโยบายกลุ่มรักษ์เมืองราชบุรี

ไม่ส่งผู้ส่งสมัครชิงตำแหน่งนายกฯ

ผู้สมัคร ส.ท.กลุ่มรักษ์เมืองราชบุรี

  • ขออาสาของบประมาณพัฒนาตลาดสดเทศบาลเมืองราชบุรี/พื้นที่สาธารณะของเมืองราชบุรี ให้พี่น้องได้มีพื้นที่ขายและจำหน่ายสินค้า/สถานที่ออกกำลังกายในชุมมชน
  • ขออาสายกฐานะศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เป็น รร.อนุบาลเทศบาลเมืองราชบุรี ทั้ง 3 ศูนย์
  • ขออาสาของบประมาณสนับสนุนด้านการกีฬาให้เด็ก ๆ ด้อยโอกาสเข้าถึงอุปกรณ์กีฬากลางแจ้ง ศูนย์ฟิตเนสมาตรฐาน สนามกีฬาฟุตบอลหญ้าเทียม ห้องสมุดประชาชนที่ทันสมัย
  • ขออาสาของบสนับสนุนจัดตั้งศูนย์ควบคุมจราจรแก้ไขปัญหารถติดและของบพัฒนากล้อง CCTV ชุมชน ไว้ดูแลพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีให้ปลอดภัย
  • ขออาสาปรับปรุงสาธารณูปโภค ถนน ไฟฟ้าส่องสว่างและการระบายน้ำในฤดูฝนให้ดียิ่งขึ้น

เลือกตั้งอย่างไรให้เมืองราชบุรีเจริญ
การเลือกตั้งในครั้งนี้ ผู้มีสิทธิ สามารถเลือกตั้งนายกฯ ได้ 1 คน และ ส.ท. ได้ 6 คน การตัดสินใจของผู้เลือกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลต่อการบริหารเทศบาลเมืองราชบุรีในอีก 4 ปีข้างหน้า วิธีการเลือกสามารถแบ่งออกได้หลายแบบ ได้แก่
  • เลือกแบบยกทีม หมายถึง 
    • เลือกนาย A เป็นนายกฯ และ เลือก ส.ท.กลุ่มนาย A ทั้ง 6 คน 
    • หากทุกคนเลือกแบบนี้ ในสภาเทศบาลเมืองราชบุรี ก็จะมี "นาย A  เป็น นายกฯ ส.ท.ทั้ง 18 คน เป็นกลุ่มของนาย A ทั้งหมด" (1: 18)
    • ข้อดี คือ การบริหารงานมีเอกภาพเป็นไปในทิศทางเดียว นโยบาย โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการอนุมัติจากสภาได้ง่าย 
    • ข้อเสีย คือ ไม่มีการตรวจสอบหรือการถ่วงดุลอำนาจ เสี่ยงต่อการทุจริต คอรัปชั่น แบบกินรวบ เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสภาเทศบาลเมืองราชบุรี
  • เลือกแบบคนละครึ่ง หมายถึง 
    • เลือกนาย A เป็นนายกฯ และ เลือก ส.ท.กลุ่มนาย A จำนวน 3  คน และกลุ่มอื่นจำนวน 3 คน 
    • หากทุกคนเลือกแบบนี้ ในสภาเทศบาลเมืองราชบุรี  ก็จะมี "นาย A เป็นนายกฯ  ส่วน ส.ท. เป็นกลุ่มของนาย  A  จำนวน 9 คน และกลุ่มอื่น ๆ จำนวน 9 คน"  (1 : 9+9)
    • ข้อดี  มีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ 
    • ข้อเสีย การอนุมัตินโยบาย โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ  ค่อนข้างยาก อาจเกิดซื้อเสียง ส.ท.ขึ้นภายในสภาฯ 
  • เลือกแบบเสียงข้างมาก หมายถึง
    • เลือกนาย A เป็นนายกฯ และ เลือก ส.ท.กลุ่มนาย A จำนวน 4 คนและกลุ่มอื่นจำนวน 2 คน
    • หากทกคนเลือกแบบนี้ ในสภาเทศบลเมืองราชบุรี ก็จะมี "นาย A เป็นนายกฯ  ส่วน ส.ท. เป็นกลุ่มของนาย  A  จำนวน 12 คน และกลุ่มอื่น ๆ จำนวน 6 คน"  (1 : 12+6)
    • ข้อดี  การอนุมัตินโยบาย โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ  ผ่านได้จากเสียงข้างมาก  แต่ก็ได้รับการตรวจสอบอย่างรอบคอบ การบริหารของนายกฯ เป็นไปตามที่หาเสียงไว้
    • ข้อเสีย อาจเกิดการเห็นต่างสร้างความแตกแยกในชุมชน หากนโยบาย โครงการ และกิจกรรมนั้น มีความเหลื่อมล้ำ และไม่ทั่วถึง ชุมชนแต่ละชุมชนไม่ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน
  • เลือกแบบเสียงข้างน้อย หมายถึง
    • เลือกนาย A เป็นนายกฯ และ เลือก ส.ท.กลุ่มนาย A จำนวน 2 คนและกลุ่มอื่น จำนวน 4 คน
    • หากทกคนเลือกแบบนี้ ในสภาเทศบลเมืองราชบุรี ก็จะมี "นาย A เป็นนายกฯ  ส่วน ส.ท. เป็น กลุ่มของนาย  A  จำนวน 6 คน และกลุ่มอื่น ๆ จำนวน 12 คน"  (1 : 6+12)
    • ข้อดี มีการตรวจสอบการบริหารงาน นโยบาย โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ของนายกฯ อย่างเข้มข้น 
    • ข้อเเสีย การอนุมัตินโยบาย โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ  ผ่านได้ยาก การบริหารของนายกฯ อาจไม่เป็นไปตามนโยบายที่หาเสียงไว้ อาจเกิดการหยุดชะงักความเจริญเติบโตของเมืองราชบุรี รูปแบบนี้เคยเกิดขึ้นในสภาเทศบาลเมืองราชบุรี มาแล้ว
  • เลือกแบบไร้รูปแบบ หมายถึง เลือกอย่างไม่มีแผน ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะมีเสียง ส.ท. ในสภาเทศบาลเมืองราชบุรีเป็นของกลุ่มใดบ้าง เช่น เลือกนาย A เป็นนายกฯ แต่ไม่เลือก กลุ่มของนาย A เป็น ส.ท. หรือ เลือก ส.ท. สะเปะสะปะแบบไม่มีแผน หากเป็นเช่นนี้ เสี่ยงต่อการล้มเหลวของการพัฒนาเมืองราชบุรีเป็นอย่างมาก 
การเลือกตั้งนายกฯ และ ส.ท.เมืองราชบุรี ครั้งสุดท้ายมีขึ้นเมื่อวันที่ 26 ก.ย.2553 (ดูผลการเลือกตั้ง) ซึ่งนับถึงวันนี้ เป็นเวลา 10 ปีกว่า  คนเมืองราชบุรีที่มีอายุ 18-28 ปี จึงถือเป็นการเลือกตั้ง นายกฯ และ ส.ท.เมืองราชบุรี เป็นครั้งแรก  ขอให้ท่านเลือกด้วยความรู้และสติปัญญา อย่าเลือกเพราะอามิสสินจ้าง อย่าขายเสียง  อดีตที่บอบช้ำของเมืองราชบุรีในอดีต เช่น ระบบบำบัดน้ำเสียลงคลอง 4 แห่ง งบ 359 ล้านบาท, การทุจริตการจัดจ้างกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 70.24 ล้านบาท, การทุจริตจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ 30.5 ล้านบาท, การเก็บค่าน้ำประปามหาโหด ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้ ยังตามมาหลอกหลอนจนถึงปัจจุบัน  

ขอให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาแล้วนำมาเป็นข้อมูลประกอบการเลือกตั้งในครั้งนี้ เพื่อชาวเมืองราชบุรี จะได้ไม่ผิดพลาดซ้ำอีก มันต้องจบที่คนรุ่นเรา

******************************************
สุดท้าย ไม่ว่าใครจะได้เป็นนายกฯ หรือ ส.ท.เมืองราชบุรี ขอฝากประเด็นเหล่านี้ ไว้เพื่อให้พิจารณาด้วยครับ
จัดทำโดย

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564

หนังสือการต่อสู้ของกองทัพพระเจ้า

ชื่อหนังสือภาษาไทย : การต่อสู้ของกองทัพพระเจ้า
ชื่อหนังสือภาษาอังกฤษ : The fight of God's Army
หน้าปก



เนื้อหา
ป็นหนังสือที่เล่าความย้อนหลังถึงสาเหตุความเกลียดชังระหว่างชาวพม่ากับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ที่มีมาตั้งแต่สมัยประเทศพม่าตกเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ จนกระทั่งถึงสัญญาปางโหล๋ง สัญญาที่กลุ่มชาติพันธุ์ถูกชาวพม่าหักหลัง การก่อตั้งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) เหตุการณ์เกิดการก่อกำเริบ 8888 การปฏิวัติชายจีวร การเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศ (NCA) จนกระทั่งมาถึง ตำนานการต่อสู้ของเด็กชายชาวกะเหรี่ยงที่จำเป็นต้องหยิบปืนขึ้นมาป้องกันหมู่บ้านของตนเองจากการรุกรานของทหารพม่า  ในนามของ "กองทัพพระเจ้า (God's Army)"  ตามความเชื่อของกองทัพพระเจ้าจากภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เกอะเจอโด๊ะ และคำทำนายว่าจะมีผู้นำเด็กลิ้นดำกลับชาติมาเกิดเพื่อกอบกู้ชาวกะเหรี่ยง  ฝาแฝดจอห์นนี่ และลูเธอร์  ผู้นำก๊อดอาร์มี่ ไม่ได้ลิ้นดำ และใครคือเด็กลิ้นดำตัวจริง 

นอกจากนั้นยังเล่าถึงเหตุการณ์โดยละเอียดถึง การบุกยึดสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 1-2 ต.ค.2542  เหตุการณ์โศกอนาฎกรรมที่หมู่บ้านกำมะปอว์ ที่มีผู้สูงอายุ ผู้หญิง และเด็ก เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมากกว่า 200 คน และชายชาวกะเหรี่ยงจำนวน 55 คนที่หายสาบสูญ ไม่ทราบชะตากรรมจนถึงปัจจุบันนี้ และเหตุการณ์การบุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อวันที่ 24-25 ม.ค.2543 ของกลุ่มผู้ก่อการทั้ง 10 คน ที่ได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลก จนกระทั่งนำมาสู่กาลอวสานของก๊อดอาร์มี่

เขียนโดย พลตรี ดร.สุชาต จันทรวงศ์ 
ผู้เขียนหนังสือ ราชบุรีในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และบันทึกความทรงจำกับงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย

จัดพิมพ์โดย : สถาบันราชบุรีศึกษา

สถานะ : อยู่ระหว่างจัดพิมพ์  



**************************

บทความที่ได้รับความนิยม