การเก็บกู้ลูกระเบิดและหัวรถจักรไอน้ำบริเวณใต้สะพานจุฬาลงกรณ์เมืองราชบุรีนั้น กว่าจะได้ลงมือปฏิบัติกันจริงๆ ก็คงต้องรอหลังลอยกระทงไปแล้ว เพื่อให้ผ่านฤดูน้ำหลากไปก่อน กระแสน้ำก็จะอ่อนลง และน้ำก็จะใสกว่าในปัจจุบัน
ในช่วงระหว่างที่รอเวลาอยู่นี้ การเตรียมการล่วงหน้าไว้ก่อนในทุกๆ เรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญ "การแกะรอยลูกระเบิดที่จมอยู่" นับเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ควรจะทำอย่างยิ่ง หากสามารถสมมติฐานได้ขั้นต้นว่าเป็นลูกระเบิดชนิดใด จะทำให้เจ้าหน้าที่ EOD ทำงานได้ง่ายและปลอดภัยขึ้น นำมาสู่การตัดสินใจของคณะทำงานฯ ต่อไป
ในช่วงระหว่างที่รอเวลาอยู่นี้ การเตรียมการล่วงหน้าไว้ก่อนในทุกๆ เรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญ "การแกะรอยลูกระเบิดที่จมอยู่" นับเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ควรจะทำอย่างยิ่ง หากสามารถสมมติฐานได้ขั้นต้นว่าเป็นลูกระเบิดชนิดใด จะทำให้เจ้าหน้าที่ EOD ทำงานได้ง่ายและปลอดภัยขึ้น นำมาสู่การตัดสินใจของคณะทำงานฯ ต่อไป
การแกะรอยลูกระเบิด (Mine Tracker)
ด้านมิติและลักษณะ
กระแสข่าวในช่วงแรก สันนิษฐานว่าเป็น ลูกระเบิด GP BOMB ชนิด AN-M65 ขนาด 1,000 ปอนด์ แต่หลังจากสอบถามนักดำน้ำงมของเก่าถึงมิติและลักษณะของตัวลูกระเบิดที่ได้สัมผัส อาจเชื่อได้ว่าจะเป็น GP BOMB ชนิด MK81 ขนาด 250 ปอนด์ และ MK82 ขนาด 500 ปอนด์ ซึ่ง 2 ชนิดเป็นลูกระเบิดสัญชาติอเมริกัน ดังภาพที่แสดงไว้ด้านล่าง
จากการสันนิษฐานขั้นต้น |
หลังสอบถามนักดำน้ำงมของเก่า อาจเป็น MK81 และ MK82 แต่ไม่มีหางแล้ว |
ด้านชนิดเครื่องบินที่นำระเบิดมาทิ้ง
ในการโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศไทย บันทึกไว้ว่าเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดสัญชาติอเมริกัน แบบ B-24 Liberator, B-25 Mitchell และ B-29 Superfortress (คนไทยสมัยนั้นเรียก B-29 นี้ว่า "ป้อมบิน") ส่วนการโจมตีที่ราชบุรีเป็น เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B24 บินมาจากกองบินที่ 7 กองทัพอากาศสหรัฐ สนามบินซาวบานี่ สาธารณรัฐอินเดีย ดังนั้นจึงต้องสืบค้นต่อว่า เครื่องบิน B24 ในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 นั้น น่าจะบรรทุกระเบิดทำลายชนิดใด ข้อมูลนี้ กองทัพอากาศไทยคงจะสามารถให้คำตอบได้
ในการโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศไทย บันทึกไว้ว่าเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดสัญชาติอเมริกัน แบบ B-24 Liberator, B-25 Mitchell และ B-29 Superfortress (คนไทยสมัยนั้นเรียก B-29 นี้ว่า "ป้อมบิน") ส่วนการโจมตีที่ราชบุรีเป็น เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B24 บินมาจากกองบินที่ 7 กองทัพอากาศสหรัฐ สนามบินซาวบานี่ สาธารณรัฐอินเดีย ดังนั้นจึงต้องสืบค้นต่อว่า เครื่องบิน B24 ในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 นั้น น่าจะบรรทุกระเบิดทำลายชนิดใด ข้อมูลนี้ กองทัพอากาศไทยคงจะสามารถให้คำตอบได้
ผมได้พยายามค้นหาภาพถ่ายการโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ราชบุรีแล้ว แต่ไม่มีปรากฏให้เห็น คงมีแต่ภาพถ่ายบริเวณใกล้เคียง ซึ่งผมได้นำมาแสดงไว้ตามภาพด้านล่างแล้ว ในภาพที่เห็นน่าจะเป็นลูกระเบิดตระกูล AN-M65 มากกว่าตระกูล Mark ซึ่งพออนุมานได้ว่าลูกระเบิดที่นำมาทิ้งสะพานจุฬาลงกรณ์ แนวโน้มก็น่าจะเป็น AN-M65
และหากมาดูลักษณะของลูกระเบิดที่ทิ้งที่ราชบุรี ตามภาพสเก็ตของนายสละ จันทรวงศ์ ที่วาดไว้เมื่อ พ.ศ.2488 และลูกระเบิดที่กู้ขึ้นมาได้ บริเวณประตูน้ำบางนกแขวก ที่จัดแสดงไว้บริเวณวัดเจริญสุขารามวรวิหาร ก็น่าจะอนุมานได้ว่าเป็นลูกระเบิดตระกูล AN-M65 เช่นกัน
ภาพสเก็ตของนายสละ จันทรวงศ์ เมื่อปี พ.ศ.2488 |
ลูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กู้ได้บริเวณประตูน้ำบางนกแขวก จัดแสดงไว้บริเวณวัดเจริญสุขารามวรวิหาร |
ผมค้นคว้าเอกสารที่มีการบันทึกไว้เกี่ยวกับขนาดของลูกระเบิดที่ทิ้งที่ราชบุรีในสมัยนั้น มีการบันทึกไว้ทั้งขนาด 500 กก. และ 1,000 กก.(สมัยนั้นคงใช้มาตราเมตริกจึงบันทึกเป็นกิโลกรัม) หากเป็นตามนั้นจริงก็สามารถอนุมานได้ว่าเป็นลูกระเบิดแบบ AN-M65 จนถึงลูกระเบิดแบบ MK84 ขนาด 2,000 ปอนด์เลยก็ได้
การแกะรอยลูกระเบิดเบื้องต้นนี้ นับเป็นสิ่งสำคัญ หากเราสมมติฐานขั้นต้นได้ว่า ลูกระเบิดใต้น้ำนั้นเป็นรุ่นอะไรแล้ว เราจะได้รู้ว่ามันทำงานอย่างไร สาเหตุใดบ้างที่ทำให้มันไม่ระเบิด หากจะต้องทำการปลดชนวนให้เป็นกลางจะต้องทำอย่างไร และหากต้องเคลื่อนย้ายควรระมัดระวังในเรื่องใดบ้าง
************************
จุฑาคเชน : 5 ก.ย.2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น