1.การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
2.การเกิดคลื่นกระแทก (Shock wave) และแรงสั่นสะเทือนใต้ดิน (Shock on earth) ส่งต่อไปยังระเบิดลูกที่เหลือเกิดการระเบิดต่อเนื่อง หมายถึง หากมีลูกระเบิดลูกใดลูกหนึ่งเกิดระเบิดขึ้น จะเกิดคลื่นกระแทกและแรงสั่นสะเทือนใต้ดิน รัศมีประมาณ 70 เมตรจากจุดศูนย์กลางระเบิด หากมีลูกระเบิดลูกใดลูกหนึ่งก็ตามที่อยู่ในรัศมี 70 เมตร จะส่งผลให้เกิดระเบิดขึ้นได้
3.การเกิดความเสียหายต่ออาคาร สำนักงาน ที่อยู่อาศัย และสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญ ในรัศมี 1 กม. หมายถึง หากลูกระเบิดเกิดระเบิดขึ้นโดยสมบูรณ์ (High order) บนผิวน้ำ จะมีรัศมีการทำลาย 1 กม. โดยรอบจากจุดศูนย์กลางระเบิด ตามภาพที่ 5-1
4.การเกิดผลกระทบต่อโครงสร้างของสะพานจุฬาลงกรณ์และสะพานธนะรัชต์
รัศมีอันตราย 1 กม.จากจุดศูนย์กลางระเบิด |
5.การเกิดระเบิดในขณะที่เริ่มยกลูกระเบิด
6.การเกิดระเบิดในขณะเคลื่อนย้ายลูกระเบิด
7.เกิดความเสียหายต่ออาคาร สำนักงาน ที่อยู่อาศัย และสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญ ในรัศมี 300 เมตร ริมสองฝั่งของแม่น้ำแม่กลอง ตลอดเส้นทางการเคลื่อนย้ายลูกระเบิดใต้น้ำจากสะพานจุฬาลงกรณ์ อ.เมืองราชบุรี ไปยังปากแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งมีระยะทางรวม 45 กม.
8.เกิดความเสียหายของอาคาร สำนักงาน ที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญ ในรัศมี 300 เมตร ริมสองฝั่งของแม่น้ำแม่กลอง ตลอดเส้นทางการเคลื่อนย้ายลูกระเบิดใต้น้ำจากจุดที่พบ ไปยังหลุมทำลายใต้น้ำ ระยะทางประมาณ 940 กม.
9.เกิดความเสียหายของ อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย และสิ่งปลูกสร้างสำคัญ ในรัศมี 800 เมตร จากหลุมทำลายใต้น้ำ
เส้นทางการเคลื่อนย้ายลูกระเบิดตามแนวแม่น้ำแม่กลอง ออกทะเลเปิดที่อ่าวไทย ระยะทาง 45 กม. |
ขอบเขตพื้นที่อันตรายรัศมี 300 เมตร จากเส้นทางเคลื่อนย้ายลูกระเบิด |
ขอบเขตพื้นที่อันตรายรัศมี 800 เมตร จากหลุมทำลายใต้น้ำ |
สำหรับปัจจัยเสี่ยงเรื่อง ความปลอดภัยของชีวิตประชาชนโดยรอบในรัศมี 1 กม.จากกลุ่มลูกระเบิด หรือขณะที่เคลื่อนย้ายลูกระเบิดไป อนุกรรมการฯ ไม่ได้นำมาพิจาณาในที่นี้ เพราะถือว่า แผนการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่อันตรายรัศมี 1 กม. หรือตามเส้นทางการเคลื่อนย้ายของลูกระเบิด ต้องเป็นไปตามแผน 100% ต้องไม่มีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น และไม่มีประชาชนอยู่ในพื้นที่อันตรายดังกล่าวแม้แต่เพียงคนเดียว ยกเว้นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่จำเป็น
ผู้จัดทำฯ ได้นำปัจจัยเสี่ยงทั้ง 9 ประการ นำไปประเมินความเสี่ยงกับแนวทางการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดทั้ง 4 แนวทาง เพื่อหาคะแนนความเสี่ยงและระดับความเสี่ยง โดยหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิด จำนวน 5 ท่าน (รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับการตัดสินใจของคณะอนุกรรมการฯ ทั้งสิ้น โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ผู้จัดทำฯ บรรยายสรุปสถานการณ์และข้อมูลทั้งหมดที่มี พร้อมตอบข้อซักถาม จนผู้เชี่ยวชาญมีความเข้าใจเป็นอย่างดี
- ให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน กรอกระดับคะแนนโอกาสและผลกระทบ ในตารางการประเมินความเสี่ยง
- นำคะแนนในตารางการประเมินความเสี่ยงที่ได้ในข้อ 2 ของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน ไปถามเป็นรายบุคคลถึงเหตุผลว่า เหตุใดจึงให้ระดับคะแนนนั้นๆ ถกแถลงร่วมกันจนมีความเข้าใจ
- นำตารางการประเมินความเสี่ยงให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน กรอกระดับคะแนนใหม่อีกครั้ง
- นำคะแนนฐานนิยม (Mode) ในแต่ละหัวข้อของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านมาสรุปในตารางการประเมินความเสี่ยง
ผลการประเมินความเสี่ยงเป็นไปตามตารางที่ 5-5
********************
อ่านต่อ แผนภูมิประเมินความเสี่ยง
กลับหน้า บทความทางวิชาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น