วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

การประชุมของคณะอนุกรรมการทำงานเก็บกู้ เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิดบริเวณแม่น้ำแม่กลอง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 ณ โรงแรม ณ เวลา ต.ดอนตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี ได้พิจารณาหาข้อสรุปแนวทางในการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิด ทั้ง 7 ลูก บริเวณใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ จำนวน 4 แนวทาง ได้แก่ 
  • แนวทางที่ 1 การทำลายลูกระเบิดด้วยวิธี High Order ทีละลูก ณ จุดที่พบ 
  • แนวทางที่ 2 การให้ลูกระเบิดปลอดภัย ทีละลูก ณ จุดที่พบ แล้วนำส่วนของวัตถุระเบิดหลักที่เหลือขึ้นมาทำลายต่อบนบก ณ พื้นที่ทำลายที่เตรียมไว้
  • แนวทางที่ 3 เคลื่อนย้ายลูกระเบิดใต้น้ำไปตามแม่น้ำแม่กลอง ออกทะเลที่ปากแม่น้ำแม่กลอง และทำลายทิ้งด้วยวิธี High Order ในทะเลเปิดบริเวณปากอ่าวไทย รวมระยะทางในการเคลื่อนย้าย 45 กม.
  • แนวทางที่ 4 เคลื่อนย้ายลูกระเบิดใต้น้ำทีละลูกไปยังหลุมทำลายที่จัดเตรียมไว้ด้านท้ายน้ำ ระยะทางประมาณ 1 กม. นำลูกระเบิดหย่อนลงไปในหลุม หลังจากนั้นทำลายลูกระเบิดด้วยวิธี Low Order แล้วนำวัตถุระเบิดหลักส่วนที่เหลือขึ้นมาทำลายต่อบนบก ณ พื้นที่ทำลายที่เตรียมไว้
โดยที่ประชุมได้ให้ความเห็นอย่างหลากหลาย ร่วมกันพิจาณาแล้วเห็นว่า แนวทางที่ 4 น่าจะเป็นแนวทางที่เป็นไปได้และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด โดยมีมติให้ พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์ นักวิชาการประจำสำนักงานเลขาธิการ กอ.รมน. ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการฯ และที่ปรึกษา เป็นผู้จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกแนวทางการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดบริเวณใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ทั้ง 7 ลูก ตามแนวทางทั้ง 4 โดยมีรายละเอียดในการจัดทำ ดังนี้ 

วิเคราะห์ลักษณะความเสี่ยง
โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) จำแนกออกเป็น 5 ระดับ คือ ความเสี่ยงสูงมาก สูง ปานกลาง น้อย น้อยมาก (ตารางที่ 5-1)


ระดับผลกระทบ (Impact) หรือความเสียหาย หากความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้น จำแนกออกเป็น 5 ระดับ เช่นเดียวกัน คือ มีผลกระทบสูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก ตามรางที่ 5-2 

การจัดลำดับความเสี่ยง (Prioritize) ดำเนินการหาค่าระดับความเสี่ยง ตามแนวทางการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิด ทั้ง 4 แนวทาง โดยใช้ สูตร

ความเสี่ยง = โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง X ผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น

เมื่อได้ค่าระดับความเสี่ยงแล้ว นำมาประเมินในตารางประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Matrix) เพื่อจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงและจัดการความเสี่ยงต่อไป ดังนี้

ตารางการประเมินความเสี่ยง
การแปลความหมายของระดับความเสี่ยง (Degree of Risk) ตามตารางที่ 5-4 



*****************************
อ่านต่อ  ปัจจัยเสี่ยง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม