วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ข้อมูลของลูกระเบิดที่พบ

จากผลการสำรวจใต้น้ำของกองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ และผลการวิเคราะห์ของกองทำลายวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ระหว่างวันที่ 27 พ.ย.-4 ธ.ค.2561 พบว่าลูกระเบิดอากาศสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังไม่ระเบิดจำนวน 7 ลูก เป็นลูกระเบิดแบบวัตถุประสงค์ทั่วไป (General Purpose Bombs) ผลิตโดยประเทศอังกฤษ ขนาดน้ำหนัก 1,000 ปอนด์ (454 กิโลกรัม) โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้ (U.S. Naval Bomb Disposal personnel stationed in United Kingdom. 1994: 26)

ชนวน

  • ลูกระเบิดรุ่น Mk I & II ชนวนส่วนหัว ได้แก่ No.27, 42 และ 44 ส่วนชนวนท้าย ได้แก่ No.28, 30 หรือ 37
  • ลูกระเบิดรุ่น Mk III & IV ชนวนส่วนท้ายได้แก่ No.28, 30 หรือ 37
ส่วนท้าย ชนวน No.13 สำหรับรุ่น Mk I หรือ ชนวน No.29 สำหรับรุ่น Mk II
ความยาวตัวระเบิด 133.35 ซม. (52.5 นิ้ว)
เส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุด 41.02 ซม. (16.15 นิ้ว)
ความหนาของผนัง 1.96 ซม. (0.77 นิ้ว)
ความยาวส่วนท้าย 

  • ถ้าใช้ชนวน No.13 รุ่น Mk I จะยาว 90.17 ซม. (35.5 นิ้ว)
  • ถ้าใช้ชนวน No.29 รุ่น Mk I จะยาว 50.80 ซม. (20 นิ้ว)
ความกว้างส่วนท้าย 40.64 ซม. (16 นิ้ว)
ความยาวรวม

  • ถ้าใช้ชนวน No.13 รุ่น Mk I จะยาว 219.71 ซม.(86.5 นิ้ว)
  • ถ้าใช้ชนวน No.29 รุ่น Mk I จะยาว 180.34 ซม.(71.0 นิ้ว)
น้ำหนักรวม 486.25 กิโลกรัม (1,072 ปอนด์) (ท้ายสั้น กับ Amaton Filled)

British 1,000 lbs G.P.Bombs
ที่มา (U.S. Naval Bomb Disposal personnel stationed in United Kingdom. 1994: 26)


คุณลักษณะของระเบิดอังกฤษ วัตถุประสงค์ทั่วไป (British Bomb /1,000 Lb G.P.) รุ่น Mks I - IV ขนาด 1,000 ปอนด์
การประกอบตัวระเบิด (Body Construction)
รุ่น Mk I - หล่อเหล็กกล้าเป็นท่อ เปิดปากท่อทั้งสองด้านปลายหัวระเบิด(nose) เป็นเกลียวด้านใน เป็นที่เก็บ Nose Bush (ซึ่งถูกยึดด้วยสกรูและเชื่อมประสานให้อยู่กับที่ ถูกเจาะและทำเป็นเกลียวสำหรับความยาวส่วนหนึ่งที่รองรับส่วนบรรจุระเบิด (Exploder Container) ถูกยึดด้วยสกรูและเชื่อมประสานให้อยู่กับที่) 

ส่วนบรรจุระเบิด (Exploder Container) ถูกทำให้เป็นเกลียวด้านในปลายด้านที่เปิด เพื่อรองรับส่วนบรรจุเชื้อปะทุระเบิด (detonator holder) ถูกเชื่อมประสานให้อยู่กับที่และล็อคด้วยสกรู ส่วนบรรจุเชื้อปะทุระเบิดถูกทำให้เป็นเกลียวด้านในปลายด้านที่เปิดเพื่อรองรับตัว Pistol หรือ Transit plug (หัวเทียนส่งผ่าน) 


ด้านท้ายของตัวระเบิดถูกขึ้นรูปภายนอกให้รองรับส่วนท้ายและมีสลักเลื่อน(locating pin) เพื่อจัดตำแหน่งส่วนท้ายให้ถูกตำแหน่งของลูกระเบิด Filling Plug (น๊อตตัวผู้) สกรูเข้าไปในส่วนท้ายของตัวระเบิด และเชื่อมประสานให้อยู่กับที่ ตัวของ Filling Plug จะถูกเจาะและทำเป็นเกลียวด้านใน เพื่อรับกับส่วนบรรจุระเบิดซึ่งมีตัวบรรจุเชื้อปะทุระเบิด ถูกแทรกและล็อคในลักษณะเดียวกันกับส่วนหัวของลูกระเบิด

รุ่น Mk II เหมือนรุ่น Mk I ยกเว้นที่เดือยปิด (spigot) ด้านท้ายของตัวระเบิด เพื่อวางตำแหน่งของฐานส่งผ่าน(transit base) และส่วนฐานตั้ง (Seating)ของตัวกระสุนที่มีไว้สำหรับ suspension lug (น๊อตเกลียวตัวผู้ หัวน๊อตเป็นห่วงวงแหวนสำหรับลากจูง) ถูกถอดทิ้งไป 

รุ่น Mk III เหมือนรุ่น Mk I ยกเว้น ส่วนบรรจุระเบิดและส่วนบรรจุเชื้อปะทุไม่ถูกติดตั้งไว้ ส่วนปลายหัวระเปิดถูกปิดจุกด้วยตัวปรับพิเศษและหัวเทียนส่งผ่าน (Special adapter and transit plug) ถูกเชื่อมประประสานให้อยู่กับที่

รุ่น Mk IV เหมือนตัวระเบิดรุ่น Mk II ยกเว้นที่ปลายส่วนหัวถูกปิดจุกอย่างถาวร ในลักษณะเดียวกับ Mk III

การประกอบส่วนหาง (Tail Construction)
ชนวน No. 13 รุ่น Mk I ประกอบด้วยกรวยท้ายและตัวค้ำยันทรงกระบอก (Tail Cone and Cylindrical Strut) ที่ยึดกับกรวยด้วยแผงครีบย่นcorrugated fins 4 แผง และส่วนจักรกลจับยึด (arming mechanism) เพื่อจับยึดส่วนหาง (Tail Pistol) วงแหวนส่วนท้ายใกล้ส่วนฐานของกรวยท้าย ถูกเจาะ เพื่อบรรจุน๊อตสกรูหัวปีก 4 ตัว (wing bolts) ใช้ยึดส่วนท้ายกับตัวระเบิด ส่วนจักรกลจับยึด ประกอบด้วยแกนหมุนในปลายด้านหนึ่งที่ถูกยึดกับง่ามซึ่งแนบกับ ง่ามจับยึดของ tail pistol 

ชนวน No. 29 รุ่น Mk I เหมือนกับ ชนวน No. 13 รุ่น Mk I ต่างกันตรงที่ขนาด มีส่วนค้ำยันด้านท้ายและครีบที่สั้นกว่า ครีบไม่มีลักษณะย่นตัว Arming vanes ยื่นออกมาจากตัวค้ำยันทรงกระบอก

การแขวนบรรทุก (Suspension)
น๊อตหัวห่วงเดี่ยวสำหรับแขวน suspension lug 30 นิ้ว จากส่วนปลายของจุกส่วนหัว (nose Plug tip) ประกอบด้วย แผ่นหยุดรูปสี่เหลี่ยม (rectangular stop plate) เชื่อมติดกับน๊อตหัวห่วง แผ่นนั้นจะยึดแน่นกับตัวระเบิดด้วยตัวสกรูสองตัว 

ส่วนประกอบระเบิด เชื้อปะทุ
วัตถุระเบิด T.N.T. และ C.E. กับ วงแหวนเติมขี้ผึ้งระหว่าง C.E. กับส่วนบรรจุเชื้อปะทุระเบิด
ส่วนผสมเติม 357 ปอนด์ (Amatol 60/40) หรือ 378 ปอนด์ (R.D.X/T.N.T 60/40)

หมายเหตุ
  1. รุ่น Mk I และรุ่น Mk II อาจซึมที่ส่วนหัวหรือส่วนท้ายหรือทั้งสองส่วน Mk III และ Mk IV จะซึมในส่วนท้ายเท่านั้น สารต้าน No.845 anti-disturbance fuse เคยถูกใช้ร่วมกับส่วนหัว เมื่อ Tail Pistol No.37 ถูกใช้นั้น ตอนนี้ถือว่าล้าสมัย
  2. ครีบส่วนท้ายจะกลายเป็นสีแดงถ้า Time Pistol ถูกใช้แล้ว

ชนวนส่วนหัว (Nose Pistol Fuse) สำหรับลูกระเบิดรุ่น Mk I & II U.S. Naval Bomb Disposal personnel stationed in United Kingdom (1994 : 28-29) ระบุว่า จะเป็นชนวน No.27, 42 และ 44 ดังแสดงในภาพด้านล่าง

ชนวนส่วนหัวของลูกระเบิดทั้ง 3 แบบ
ที่มา (U.S. Naval Bomb Disposal personnel stationed in United Kingdom. 1994: 230,274,244)

ชนวนส่วนท้าย (Tail Pistol Fuse) สำหรับลูกระเบิดรุ่น Mk I, II, III, IV U.S. Naval Bomb Disposal personnel stationed in United Kingdom (1994 : 28-29) ระบุว่า จะเป็นชนวน No.28, 30 และ 37 ดังแสดงในภาพด้านล่าง

ชนวนส่วนท้ายของลูกระเบิดทั้ง 3 แบบ
ที่มา (U.S. Naval Bomb Disposal personnel stationed in United Kingdom. 1994: 240,232)

เนื่องจากลูกระเบิดชนิดนี้ มีการใช้ชนวนได้หลายแบบ จึงได้ทำการสำรวจทางกายภาพของลูกระเบิดโดยละเอียด นำภาพถ่ายภาพลูกระเบิดที่จมอยู่ขึ้นมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยในขั้นต้นสันนิษฐานว่าอาจใช้ชนวน 2 แบบ คือ ชนวน No.37 หรือ ชนวน No.53 ดังภาพที่ได้แสดงไว้ ในภาพด้านล่าง

ชนวนส่วนท้ายของลูกระเบิด

*********************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม