วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562

แผนภูมิประเมินความเสี่ยง

ผู้จัดทำฯ ได้นำผลที่ได้จากตารางที่ 5-5 มาพิจารณากรอกระดับความเสี่ยงในแต่ละแนวทางการเก็บกู้ ในแผนภูมิประเมินความเสี่ยง ตามตาราง ที่ 5-6 ดังนี้


ตารางที่ 5-6 แผนภูมิประเมินความเสี่ยง 
จากตารางที่ 5-6 พบว่าในแต่ละแนวทางซึ่งระดับความเสี่ยง ดังนี้ 
  • แนวทางที่ 1 รหัส A1 (5) อยู่ในช่องสีเขียวอ่อนถือว่ามีความเสี่ยงปานกลาง ส่วนรหัส A2 (25), A3(25) และ A4(25) อยู่ในช่องสีแดงถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก 
  • แนวทางที่ 2 รหัส B1(5) อยู่ในช่องสีเขียวอ่อนถือว่ามีความเสี่ยงปานกลาง ส่วนรหัส B2(10),B3(10) และ B4(10) อยู่ในช่องสีส้มถือว่ามีความเสี่ยงสูง 
  • แนวทางที่ 3 รหัส C1(20),C2(20),C3(20),C4(20),C5(20) และ C7(20) อยู่ในช่องสีแดงถือมีความเสี่ยงสูงมาก ส่วนรหัส C6(12) อยู่ในช่องสีส้มถือว่ามีความเสี่ยงสูง 
  • แนวทางที่ 4 รหัส D1(20),D2(20),D3(20),D4(20) และ D5(20) อยู่ในช่องสีแดงถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก ส่วน รหัส D6(10) อยู่ในช่องสีส้มถือว่ามีความเสี่ยงสูง รหัส D7(6) อยู่ในช่องสีเขียวถือว่ามีระดับความเสี่ยงปานกลาง และ D8(2) ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ 
จากแผนภูมิประเมินความเสี่ยง สามารถนำมาแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับคะแนนความเสี่ยงตามแนวทางต่างๆ ได้ ตารางที่ 5-7


หมายเหตุ การแปลความหมายคะแนนความเสี่ยง 

  • 1-2 ถือว่าระดับความเสี่ยงต่ำ เป็นระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยไม่ต้องมีการควบคุมความเสี่ยง 
  • 3-9 ถือว่าระดับความเสี่ยงปานกลาง เป็นระดับความเสี่ยงที่พอจะยอมรับได้ แต่ต้องมีการควบคุมเพื่อไม่ให้ความเสี่ยงเคลื่อนย้ายไปยังระดับที่ยอมรับไม่ได้ 
  • 10-16 ถือว่าระดับความเสี่ยงสูง เป็นระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ โดยต้องมีการจัดการความเสี่ยงเพื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ต่อไป 
  • 17-25 ถือว่าเป็นระดับความเสี่ยงที่สูงมาก เป็นระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ จำเป็นต้องเร่งจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทันที 
จากตารางที่ 5-7 ปัจจัยเสี่ยงในแต่ละแนวทางการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดทั้ง 4 แนวทาง มีปัจจัยที่ไม่เท่ากัน สามารถอธิบายได้ดังนี้ 
  • แนวทางที่ 1 มีปัจจัยเสี่ยงจำนวน 4 ข้อ ซึ่งมี 3 ข้อที่มีคะแนนเสี่ยงสูงมาก (25) ได้แก่ข้อ 3,4 และข้อ 5 ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ ข้อ 1 การบาดเจ็บและเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน มีคะแนนความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง (5)
  • แนวทางที่ 2 มีปัจจัยเสี่ยงจำนวน 4 ข้อ ซึ่งมี 3 ข้อที่มีคะแนนเสี่ยงสูง (10) ได้แก่ ข้อ 3,4 และ 5 ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ ข้อ 1 การบาดเจ็บและเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน มีคะแนนความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง (5) 
  • แนวทางที่ 3 มีปัจจัยเสี่ยงจำนวน 7 ข้อ ซึ่งมี 6 ข้อ ที่มีคะแนนความเสี่ยงสูงมาก (20) ได้แก่ ข้อ 1,2,3,4,5 และ 7 ส่วนข้อ 6 คือการเกิดระเบิดในขณะเคลื่อนย้ายลูกระเบิด มีคะแนนความเสี่ยงสูง (12) หากมองปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ ข้อ 1 การบาดเจ็บและเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน มีคะแนนความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงมาก (20) 
  • แนวทางที่ 4 มีปัจจัยเสี่ยงจำนวน 8 ข้อ ซึ่งมี 5 ข้อ ที่มีคะแนนความเสี่ยงสูงมาก (20) ได้แก่ข้อ 1-5 ส่วนข้อ 6 คือการเกิดระเบิดในขณะเคลื่อนย้ายลูกระเบิด มีคะแนนความเสี่ยงสูง (10) ข้อ 8 มีคะแนนความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง (6) ข้อ 9 มีคะแนนความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ (2) หากมองปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ ข้อ 1 การบาดเจ็บและเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน มีคะแนนความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงมาก (20) 
สำหรับค่าคะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย
  • แนวทางที่ 1 คะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย 20 คะแนน ถือว่าเป็นระดับความเสี่ยงที่สูงมาก
  • แนวทางที่ 2 คะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย 8.75 คะแนน ถือว่าเป็นระดับความเสี่ยงปานกลาง 
  • แนวทางที่ 3 คะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย 18.85 คะแนน ถือว่าเป็นระดับความเสี่ยงที่สูงมาก 
  • แนวทางที่ 4 คะแนนความเสี่ยงเฉลี่ย 14.75 คะแนน ถือว่าเป็นระดับความเสี่ยงที่สูง 
อย่างไรก็ตาม ค่าคะแนนความเสี่ยงเฉลี่ยนี้ ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากจำนวนปัจจัยเสี่ยงในแต่ละแนวทางไม่เท่ากัน และแต่ละปัจจัยเสี่ยงก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันด้วย

****************************
อ่านต่อ แนวทางการลดความเสี่ยง
กลับหน้า บทความทางวิชาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม